การจัดการความรู้ในสถานศึกษา


การจัดการความรู้
บทความ
เรื่อง การจัดการความรู้ในสถานศึกษา
               สถานศึกษาเป็นองค์กรที่มีความสำคัญในการจัดการความรู้ จัดการศึกษา ให้ก้าวทันโลกยุคใหม่ นักเรียน ทุกคนต้องมีความรู้พื้นฐานตามมาตรฐานการเรียนรู้ และมีความรู้สามารถประกอบอาชีพได้และแข่งขันในเวทีโลกได้ สร้างคนคุณภาพให้สังคมและประเทศชาติ การจัดการความรู้จึงเป็นแนวคิดการจัดการสมัยใหม่ การบริหารจึงต้องให้ความสำคัญกับ “ คน” (Man) มากที่สุดเพราะการเป็น “คนคุณภาพ” ในการทำงาน ได้อย่างรอบด้าน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความมุ่งมั่นเพื่อความสำเร็จ ทำงานอย่างมีเป้าหมาย ซึ่งจะต้องเป็นคนที่มีสมรรถนะสูง (High competency) เพื่อสามารถที่จะผลักดันให้สถานศึกษาอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
       การจัดการความรู้ในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษานั้น เป็นนวัตกรรมที่สถานศึกษาควรบริหารจัดการให้มีการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ เพื่อให้เป้าหมายในการจัดการความรู้ (Desired State) ที่ตั้งไว้บรรลุผล โดยคณะผู้จัดการความรู้ซึ่งจะต้องมีผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นประธาน จะต้องมาร่วมกัน กำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้ เพื่อให้วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษาบรรลุผล อาจจะเลือกกำหนดกำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้จากยุทธศาสตร์ใด ยุทธศาสตร์หนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ของสถานศึกษา มาพัฒนาและกำหนดเป็นเป้าหมาย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ การศึกษาและคุณภาพผู้เรียนในที่สุด ดังนั้นก่อนที่จะมีการจัดการความรู้ ผู้จัดการความรู้และคณะผู้บริหาร ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาทุกคนในสถานศึกษา ทำความเข้าใจเรื่องของ คุณภาพการศึกษา การพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาก่อน เพื่อให้มองเห็นภาพรวม (Concept) ในการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และเป็นแนวทางไปสู่การจัดการความรู้ในสถานศึกษาทั้งที่เป็นความรู้แจ้งชัด(Explicit Knowledge) และความรู้ที่ฝังลึกในตัว (Tacit Knowledge)โดยมีขั้นตอนหลักๆ ของกระบวนการความรู้ (Knowledge Process) คือการค้นหาความรู้ (Knowledge Identification) การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) การเรียนรู้ (Learning)
  ขั้นตอนการจัดการความรู้ทั้งหมดนี้จะช่วยให้องค์กรสามารถสร้างและจัดการความรู้ทั้งที่มีอยู่เดิม ภายในองค์กรและความรู้ใหม่ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล พัฒนาองค์การให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งด้านทัศนคติ ค่านิยม และความเชื่อพื้นฐานของสมาชิก เพื่อเป็นกรอบในการเปลี่ยนแปลงอย่างสอดคล้องกับโครงสร้าง กระบวนการ กลยุทธ์ ศักยภาพของบุคคล และวัฒนธรรมขององค์กร

 
หมายเลขบันทึก: 138723เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2007 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท