การจัดการความรู้ ตอน 2


บุคคลเหล่านั้นมักจะใช้ชีวิตการทำงานเพื่อปัจจุบันเท่านั้น ลืมคิดไปถึงอนาคตในหน้าที่การงานที่ส่งผลในระยะยาว

การจัดการความรู้  ตอน 2

หลักหรือเทคนิคง่าย ๆ เพื่อการจัดการความรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้

1.การแสวงหาความรู้  หากไมแสวงหาความรู้ ความรู้ย่อมไม่เกิดขึ้น พบว่าหลายคนมักจะยุ่งกับการทำงานประจำวันจนละเลยที่จะหาความรู้เพิ่มเติม  เหตุเพราะไม่มีเวลาแค่งานประจำวันให้เสร็จตามกำหนดเวลาก็จะแย่อยู่แล้ว และเวลาไหนไปแสวงหาความรู้  หากกำลังมีความคิดเหล่านี้ ขอให้ปรับเปลี่ยนความคิดใหม่ การแสวงหาความรู้ย่อมจะเกิดขึ้นได้ หากมีหัวใจที่ใผ่รู้ ความอยากหรือความต้องการนี้จะเป็นพลังผลักดันให้เริ่มที่จะบริหารเวลาส่วนหนึ่งเพื่อการแสวงหาความรู้ และความรู้มิใช่เกิดขึ้นจากการอ่านเพียงอย่างเดียว  ความรู้อาจเกิดได้จากแหล่งต่าง ๆ

2. การฟังให้มาก  ฟังข่าวสารต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน หรือแม้กระทั่งการรับฟังความคิดเห็นหรือประเด็นปัญหาต่าง ๆ จากหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง และลูกค้า

3.  การถามให้รู้  การซักถามผู้รู้เมื่อสงสัยหรือไม่เข้าใจนั้นเป็นอีกวิธีการหนึ่งในการสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้น  ทั้งนี้การตั้งคำถามต้องมิใช่เพื่อเป็นการลองภูมิ หรือการดูหมิ่นในความรู้ของผู้อื่น  ควรให้เกียรติบุคคลที่เราต้องการสอบถามข้อมูลด้วยเสมอ

4.  การอ่านให้สนุก  ควรปลูกฝังนิสัยให้เป็นคนรักการอ่าน  โดยพยายามจัดสรรเวลาในแต่ละวันเพื่อการอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับสายอาชีถ และต้องถามตัวเองทุกครั้งว่า  "อะไรที่ได้รับบ้างจากการอ่านหนังสือ"

5.  การประยุกต์ใช้ความรู้  ความรู้ที่ได้รับย่อมไม่เกิดประโยขน์ขึ้นมาหากรู้แล้วไม่นำมาใช้ปฏิบัติ  ผู้ที่มีความรู้มากย่อมจะมีข้อมูลเพื่อการวางแผน กำหนดกลยุทธ์ และสามารถตัดสินใจในการเลือกแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง  ความรู้จะทำให้มีความพร้อมและกล้าพอที่จะเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี  ความรู้จะทำให้มีไอเดียหรือความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ความรู้ทำให้มีหลักการหรือเหตุผลที่น่าเชื่อถือได้ในการตอบข้อซักถามหรือประเด็นข้อสงสัยจากหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หรือแม้กระทั่งลูกค้า

พบว่าผู้ที่ไม่มีการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง  คิดแต่จะทำงานประจำวันของตนเองให้เสร็จ ไม่จัดสรรเวลาเพื่อหาความรู้เพิ่มเติมเพราะไม่เห็นความสำคัญ  บุคคลเหล่านั้นมักจะใช้ชีวิตการทำงานเพื่อปัจจุบันเท่านั้น  ลืมคิดไปถึงอนาคตในหน้าที่การงานที่ส่งผลในระยะยาวอาจเป็นพวกที่อยากได้ค่าตอบแทนในรูปเงินเดือนและโบนัสที่สูงชึ้น  ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยพัฒนาตนเองไม่ว่าจะเป็นด้วยวิธีการใดก็ตาม ซึ่งก็รวมไปถึงวิธีการหาความรู้จากการจัดสรรเวลาเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม  และรู้จักประยุกต์ใช้ความรู้ที่สร้างสรรค์ผลงาน  ปรับปรุงระบบงานหรือวิธีการทำงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ  เพียงเพราะคิดไปเองว่าตนเองอุทิศตนให้องค์การแล้ว  หรือทำงานมานานแล้ว  หรืออายุงานมากขึ้น ซึ่งไม่เคยคิดีที่จะลาออก หรือไปทำงานให้กับที่อื่นเลย  ยุคสมัยนี้ผลตอบแทนมักจะขึ้นอยู่กับมูลค่า(Value) ซึ่งเป็นความรู้ความสามารถที่คุณมีและองค์กรต้องการ

การพัฒนาประเมินติดตามผลความรู้ไม่ควรหยุดนิ่ง  ความรู้ย่อมต้องมีการพัฒนาการและความต่อเนื่อง  เนื่องจากโลกปัจจุบันมีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  หากหยุดที่จะเรียนรู้จะทำให้ไม่รับรู้กระแสของการเปลี่ยนแปลง  ดังนั้น  ควรสำรวจเพื่อประเมินตัวเองว่าองค์ความรู้ทีมีได้พัฒนาไปมากน้อยแค่ไหน  และเรื่องไหนบ้างที่ยังไม่รู้  แต่ควรที่จะรู้รวมทั้งมีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้ได้ความร้เพิ่มขึ้น  โดยการจัดทำตารางการประเมินเพื่อพัฒนาความรู้  ดังนี้

ต่อตอนที่ 3  ครับ

หมายเลขบันทึก: 138465เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2007 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท