การกระจายอำนาจทางการศึกษา


การปฏิรูปการศึกษาในด้านการบริหารจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัฒน์
    

             ผู้เขียนได้รวบรวมแนวทางในการกระจายอำนาจทางการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษามา  3  ด้านคือ    ด้านการบริหารจัดการศึกษา  ด้านกระบวนการเรียนการสอน  และด้านการพัฒนาหลักสูตร  เพราะทั้งสามด้านนี้จะส่งผลให้ผลผลิตของการศึกษา   นั้นก็คือผู้เรียนจะจบออกมาเป็นคนดีมีความรู้คู่คุณธรรม  สามารถดำรงตนอยู่ได้ในกระแสโลกาภิวัตน์  คือ

             1   ด้านการบริหารจัดการ   ได้ออกกฎหมายการกระจายอำนาจให้องค์กรส่วนท้องถิ่นรับการถ่ายโอนสถานศึกษา  เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการบริหารจัดการในพื้นที่  ส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  จะทำการจัดการศึกษาสามารถตัดสินใจได้โดยคนในพื้นที่ ทำให้งานพัฒนาการศึกษา ก็จะดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว

          

            2   ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน     ได้พัฒนาแนวทางการจัดการศึกษา  โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง (Child Center) การเรียนรู้โดยให้เด็กได้เรียนรู้เอง  ครูคอยดูแลกระตุ้นให้เด็กอยากเรียนรู้ (Constructivism) เป็นเทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่ต้องการให้เด็กมีความสำคัญและได้เรียนรู้ด้วยความกระหายด้วยตัวเอง  รวมทั้งให้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน  เพื่อให้ได้พบกับประสบการณ์จริงในพื้นที่  เด็กจะเรียนรู้ได้เร็วขึ้น

 

            3   ด้านการพัฒนาหลักสูตร   ได้ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น  เพื่อหาหลักสูตรที่จัดทำสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  ทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องจากเรื่องใกล้ตัว  นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ แต่การดำเนินการที่ผ่านมา  พบว่า  ความฝันที่ผู้เขียนได้ใฝ่ฝันไว้ในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา  เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์น่าจะเป็นเรื่องที่ห่างไกลจากที่ฝันได้เพราะ

 

                   3.1   ขณะนี้รัฐยังไม่ยอมถ่ายโอนการศึกษาให้กับองค์กรส่วนท้องถิ่น  ทั้งที่มีกฎหมายออกไปแล้ว  รัฐยังคงรวมศูนย์อำนาจการบริหารจัดการอยู่ที่ส่วนกลางเป็นสำคัญ ทำให้ประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาลดลง

 

                        3.2   มีหลายหน่วยงานจัดการศึกษาในพื้นที่  เกิดความซ้ำซ้อน  ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ

 

                        3.3   ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมการศึกษา  เพียงมีรายชื่อเป็นคณะกรรมการสถานศึกษา  แต่บทบาทหน้าที่ที่ต้องทำจริง ๆ ไม่ได้รับการส่งเสริมจากข้าราชการครูในพื้นที่  กลัวสูญเสียอำนาจที่มีอยู่  กรรมการสถานศึกษาเป็นเสมือนตรายาง

 

                        3.4   การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองเด็ก  โดยเฉพาะในชนบทยังมีความเชื่อว่าครูจะต้องเป็นผู้สอน  และมีความสำคัญต้องชี้นำเด็ก  การให้เด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้  ครูก็ยังไม่เข้าใจเทคนิควิธี  ไม่ได้รับการอบรม และเด็กเองก็ยังไม่มีแหล่งค้นคว้าหาความรู้ที่อยู่ในชุมชนที่ตนเองจะได้ใช้เป็นแหล่งสืบค้นใหม่ ๆ จึงทำให้การจัดการเรียนการสอนโดยเทคนิคใหม่ล้มเหลวทุกวิธีการ  โดยเฉพาะในโรงเรียนที่อยู่ในชนบท  ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก

 

                        3.5   ภูมิปัญญาในท้องถิ่น  ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาน้อยมาก   อาจเนื่องจากมีความจำเป็นต้องใช้เวลาในการประกอบอาชีพของตนเองในภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ขณะนี้  การเสียสละเวลา  เพื่อส่วนรวมจึงลดลง  

                         3.6   การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นไม่สอดคล้องกับปัญหาของพื้นที่จริง  เพราะการมอบหมายให้ครูจัดทำเองในพื้นที่  ครูยังขาดเทคนิคความรู้ในการจัดทำหลักสูตร  เพราะเป็นเรื่องที่ยาก ที่ทำหลักสูตรไปก็ไม่ได้นำไปใช้เท่าไหร่  มุ่งเน้นทำหลักสูตรเพื่อทำผลงานของตนเองมากกว่า            ผู้เขียนขอฝากประเด็นต่างๆ  ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือและดูแล  เพื่อให้ปัญหาต่าง ๆ  ที่ทำให้การกระจายอำนาจทางการศึกษาไม่ประสบความสำเร็จ  ให้มีแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาที่ใช้การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นต่อไป
หมายเลขบันทึก: 138447เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2007 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมส่งการกระจายอำนาจให้พี่นะครับ พี่กรุณาทำpowerpoin ให้ด้วยนะครับ ผมทำไม่เป็น

อะไรคะ

ไม่รู้เรื่องเลย ส่งอะไรมา แล้วคุณเป็นใคร เคยรู้จักกันมาก่อนไหมคะ

แล้วจะให้ทำ powerpoint อะไร

งง งง และก็งง ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท