กลุ่มศรีพัฒนา(กลุ่มที่3) ศูนย์เรียนรู้ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์
มหาวิทยาลัยชีวิต กลุ่มศรีพัฒนา(กลุ่มที่3) ศูนย์เรียนรู้ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ การจัดการความรู้การพัฒนาท้องถิ่น โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต

การเรียนวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร


โครงการสืบสานและเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

   

สูจิบัตร

โครงการสืบสานและเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น   

   ตุลาคม   ๒๕๕๐

ห้องประชุมโรงเรียนบ้านระแงง 

 อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์   

คณะนักศึกษาศูนย์เรียนรู้ศีขรภูมิ    โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต 

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๐  

กำหนดการ 

ครงการสืบสานและเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 

โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต 

สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 

วันที่ ๗  ตุลาคม   ๒๕๕๐

ห้องประชุมโรงเรียนบ้านระแงง  อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์ 

bbbbbbbb

๑๒.๐๐-๑๒.๓๐ น.- ลงทะเบียน เข้าห้องประชุม

๑๓.๐๐ น.          - พิธีเปิดโดย คุณแม่ประนอม  ขาวงาม

                 - พิธีกรเรียนเชิญประธานในพิธีจุดธูป   เทียนบูชาพระรัตนตรัย

                         -พิธีกรเรียนเชิญประธานสู่แท่นรับรายงาน

                        -พิธีกรเรียนเชิญประธานดำเนินงานกล่าว     

                         รายงานต่อท่านประธาน(นายบรรณ์ ชัยพรม) 

                       - ประธานในพิธีกล่าวให้โอวาทและกล่าว เปิด งาน                       

                        - แนะนำคณะกรรมการจัดงาน     

                       - พิธีกรเรียนเชิญนายมงคล    พิมพ์พอก มอบ ของที่ระลึกแก่  

                         ประธานในพิธี 

                      - พิธีกรเรียนเชิญนายทองเชือน   หุ่นทอง    

                        มอบของที่ระลึกอาจารย์ผู้สอนประจำวิชา

๑๔.๐๐-๑๕.๐๐น. -ตัวแทนนักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอ 

                        งาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ทั้ง ๙  กลุ่ม

๑๕.๐๐ น.         -ประธานในพิธีและแขกผู้มีเกียรติ เยี่ยมชม

                        งานภูมิปัญญาท้องถิ่น             

๑๖.๓๐ น.           - อาจารย์ผู้สอน สรุปกิจกรรม                      

                        - พิธีปิด <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p> <p align="center">การนำเสนอภูมิปัญญาท้องถิ่น </p>

กลุ่มที่ ๑ นำเสนอเรื่อง การจักสาน

โดย นายธีรพงศ์  บุญสม 

กลุ่มที่ ๒ นำเสนอเรื่อง การทำขนมจีน ไร้สารกันบูด

โดย  นายประพงษ์ศักดิ์   วงศ์อนุ 

กลุ่มที่ ๓ นำเสนอเรื่อง แกลมอ(ด้านการรักษาผู้ป่วยด้วยพิธีกรรม)

โดย นางประนอม  เจือจันทร์โดย นายประยูร  ปัญญาโรจน์สุข 

กลุ่มที่ ๔ นำเสนอเรื่อง การทำบายศรี

โดย นายศราวุธ   วิทยอุดม 

กลุ่มที่ ๕ นำเสนอเรื่อง สืบสานตำนานพันปี ปราสาทศีขรภูมิ

โดย นายสิทธิชัย  นิสัยกล้า

 กลุ่มที่ ๖ นำเสนอเรื่อง เครื่องแกงสมุนไพรไทย

โดย นายบุญชัย  เกษอินทร์โดย นางสุพัตรา  ภูมิดิลก 

กลุ่มที่ ๗นำเสนอเรื่อง การเลี้ยงไหมการทอผ้าไหม

โดย นางนงเยาว์  ทรงวิชาโดย นางสาวยุพาวดี  ลิ้มเจริญ

โดย นางสาววรรณา  สังเกตกิจ

 กลุ่มที่ ๘ นำเสนอเรื่อง การผลิตผ้าไหม

โดย  นางนารี  พิมพ์จันทร์

กลุ่มที่ ๙ นำเสนอเรื่อง การอยู่ไฟ

โดย นายสมถวิล  วิบูลย์อรรถ  

dddddddddddd

 

โครงการสืบสานและเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 

เรื่องด้านการรักษาผู้ป่วยด้วยพิธีกรรมแกลมอ

นำเสนอโดย

สมาชิกกลุ่มที่ 3 

ศูนย์เรียนรู้ศีขรภูมิมหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์     

1.นายบัญญัติ  พิชญาสาธิต      

  2. นายชูชัย  ทองศรี               

           3. นายประยูร  ปัญญาโรจน์สุข              

             4. นายสมโภชน์  รุจิระเวโรจน์                 

          5. นางกนกวรรณ กิจสัมพันธวงศ์           

         6. นางประนอม  เจือจันทร์                 

      7. นางสาวพัชรินทร์  บูรณ์เจริญ          

8. นายปฎิภาณ  พรมชาติ

ตุลาคม  2550 

 

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

 ด้านการรักษาผู้ป่วยด้วยพิธีกรรม(แกลมอ) บ้านแตล  ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ  จังหวัดสุรินทร์อยู่ห่างจากอำเภอศีขรภูมิ ประมาณ 12 กิโลเมตร ตามถนนสายศีขรภูมิ จอมพระ ชาวกูย (ส่วย) บ้านแตล เป็นกลุ่มรักจารีตประเพณี ของชาวเผ่าโดยเฉพาะความเชื่อ เรื่องภูตผีวิญญาณ เช่นเชื่อว่า ตะกวดเป็น (ยูจุ๊โซะ) ไม่มีผู้ใดกล้าทำร้ายตะกวด ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในหมู่บ้านแตลและระแวกใกล้เคียง 

แกลมออะจึง แกลมออะจีง (การเข้าทรงผีช้าง) เป็นพิธีเข้าผีทรงเจ้าของชาวกูย (ส่วย) บ้านแตลและหมู่บ้านใกล้เคียงแกลมออะจึง  เป็นพิธีกรรมหนึ่งที่มีการปฏิบัติสืบต่อเนื่องกันมาของชาวกูย (ส่วย)ที่บ้านแตล อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ แกลมอมีบททาบสำคัญต่อการดำรงชีวิตของชุมชนบ้านแตลมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับความอยู่ ดีมีสุขของสมาชิกในสังคม ทั้งนี้เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั้นอาจจะมีสิ่งผิดปกติ หรือไม่เป็นไปตามควรที่จะเป็น เช่นสิ่งของสำคัญสูญหาย เกิดการเจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงต้องหาวิธีในการผ่อนคลาย ความกังวนใจ ความวิตกลดน้อยลง       สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันที่ผิดปกติ  โดยไม่ทราบสาเหตุเชื่อกันว่าเป็นการกระทำของสิ่งที่ไม่มีตัวตน ที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ การที่ให้หมอดูทำนายทายทักแล้วว่าเป็นการกระทำของสิ่งที่ไม่มีตัวตน และเชื่อว่า สิ่งนั้นมีอิทธิพลเหนือชีวิตของตน แกลมออะจึง เป็นพิธีกรรมที่ใช้รักษาอาการป่วย ที่ไม่ทราบสาเหตุ แต่จะผ่านกรรมวิธีให้หมอดูเสียงทายแล้วว่าเป็นการกระทำ ของสิ่งที่มองไม่เห็น และเชื่อว่ามีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของคนในครอบครอง หรือสายตระกูล 

องค์ประกอบของแกลมออะจึง 

1.    ปะรำพิธี

2.    เครื่องเซ่น

3.    เครื่องดนตรี

4.    การแต่งกาย

5.    ผู้เล่น    

จุดประสงค์ของแกลมออะจึง 

1.    การเข้าทรงระลึกถึงผีบรรพบุรุษ

2.    เพื่อเรียกขวัญคณะที่คล้องช้างป่าตอนกลับถึงหมู่บ้าน

3.    เพื่อเรียกขวัญช้างที่หนีเข้าป่า และคณะที่ติดตามช้าง

4.    เพื่อเรียกขวัญคณะที่เดินทางไกลกลับสู่หมู่บ้าน 

</span>

หมายเลขบันทึก: 138197เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2007 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท