KM เครื่องมือง่ายๆ ในการสร้าง Knowledge Worker


แนวคิดของ Nonaka เป็นการนำการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการรวบรวมความรู้ขององค์กรให้คงอยู่คู่กับองค์กรตลอดไป  เริ่มจากการสร้างความตระหนัก (awareness)     ตามมาด้วยขั้นตอนการดำเนินการการสร้างความรู้ (knowledge creation)  การบำรุงรักษาความรู้ ( knowledge maintenance) และการนำความรู้นั้นไปใช้ (knowledge exploitation)   สู่ขั้นตอนที่ทุกหน่วยงานย่อยสามารถดำเนินการจัดการความรู้ด้วยตนเองได้อย่างอัตโนมัติ ผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Sharing ideas) จนทำให้เกิดวิถีใหม่เชิงนวัตกรรมในการดำรงอยู่ภายใต้สภาวะของการแข่งขัน (Competition) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ (Learning) การสร้างนวัตกรรม (Innovating) และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานเพื่อเพิ่มคุณภาพและปรับปรุงการทำงานของบุคลากรในองค์กร    เกิดการพัฒนาคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous improvement)   

            นั่นคือ  บุคลากรในองค์กรพัฒนาสู่การเป็น ทุนมนุษย์ที่มีคุณค่ายิ่งขององค์กรที่เรียกว่า  Knowledge worker   ที่ช่วยสร้างสรรค์คุณค่าขององค์กร โดยคุณค่าถูกสกัดออกมา  เป็นคลังทางปัญญา  และสินทรัพย์ความรู้ (knowledge asset)  กลายเป็นคลังที่มีคุณค่าอย่างมหาศาลทางธุรกิจขององค์กรที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและส่งผลสู่ความสำเร็จและรายได้ขององค์กร   

..................

คนึงนิจ  อนุโรจน์   

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 138093เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2007 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2013 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอความรู้หน่อยนะคะ  ว่าการสร้างการตระหนัก สามารถสร้างได้อย่างไร มีวิธีอย่างไร และวัดผลได้อย่างไรบ้างคะ

ขอบคุณคุณอัญชลีค่ะ  ดิฉันขอ share ประเด็นที่คุณสนใจดังนี้นะคะ

        ..........ตำราด้านการจัดการมักเอ่ยถึงวิธีการจัดการแบบ "บนลงล่าง" (top-down) กับแบบ "ล่างขึ้นบน" (bottom-up)   แต่โนนากะ ( Nonaka)   แนะนำว่ารูปแบบของการจัดการองค์กรที่เหมาะสมต่อการจัดการความรู้คือแบบ "กลาง-ขึ้น-ลง" (middle-up-down) ซึ่งเน้นการใช้พนักงานหรือผู้บริหารระดับกลางเป็นพลังหลักในการขับเคลื่อน   โดยที่พนักงานระดับกลางจะเป็นผู้เชื่อมโยงวิสัยทัศน์หรือความฝันของผู้บริหารระดับสูง เข้ากับความเป็นจริงหรือการปฏิบัติของพนักงานระดับล่าง ซึ่งขัดแย้งกับตำราบริหารของโลกตะวันตก มักกล่าวว่าผู้บริหารระดับกลางเป็นพนักงานกลุ่มที่เรียกว่า "เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์"   แต่ Nonaka  เชื่อในทางตรงกันข้าม   คือในยุคของการจัดการความรู้ ผู้บริหารระดับกลางจะเป็นกำลังหลักในการเชื่อมโยงให้เกิดการจัดการความรู้ที่ทรงพลัง และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร.....

Hidden agenda ของข้อความข้างต้นคือ 

 ........การมีส่วนร่วมค่ะ  การสร้างตระหนักในการพัฒนาไมว่าการพัฒนาในเรื่องใดก็ตาม  การนำผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมมากเท่าใด  โอกาสความสำเร็จก็จะสูงตามขึ้นไปด้วย  แต่เป็นไปไม่ได้ที่องค์กรขนาดใหญ่จะนำบุคลากรทั้งหมดเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาองค์กร  แต่การนำผู้บริหารระดับกลางเข้ามามีส่วนร่วมไม่ใช่เรื่องยาก  (คนกลุ่มนี้จะเป็นตัวแทนของเราไปสร้างการมีส่วนร่วมในระดับปฏิบัติการต่อไป) การสร้างความตระหนักรู้ต้องเริ่มจาก  การให้ข้อมูลที่เป็นจริงขององค์กร (นำเขาเข้ามาร่วมSWOT องค์กร) ทุกคนต้องร่วมรับรู้ปัญหาขององค์กร  ทุกคนร่วมกันวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน (ร่วมสร้างแผนยุทธศาสตร์:Strategic partner) ร่วมกันหาว่าตัวชี้วัดสู่ความสำเร็จร่วมกัน  (Key performance indicatr:KPI)  เราจะทำอย่างไร และติดตามประเมินอย่างไร   การมีส่วนร่วมเป็นการนำเขาเข้ามาส่วนหนึ่งขององค์กร  สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร  และร่วมกันที่จะนำพาองค์กรสู่เป้าหมายร่วมกัน นั่นคือต้องรวมใจคนขององค์กรให้เป็นหนึ่งเดียวให้ได้  (engagement) ณ จุดนี้เรื่องของการสื่อสารจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเช่นกัน  การสื่อสารที่ดีต้องการสื่อสารแบบสองทาง (2 way communication) เป็นอีก  1 ใน hidden agenda ค่ะ ที่สำคัญที่สุดเลยนะคะ (ที่สุดจริงๆ)  ผู้บริหารต้องเล่นด้วยค่ะ  ทุกอย่างที่เราจะทำถ้าผู้บริหารระดับสูงไม่เห็นด้วยโอกาสสำเร็จมีน้อยค่ะ  

        ที่ดิฉันนำเสนอแนวคิดนี้เป็นหนึ่งในการสร้างความตระหนักรู้ร่วมกันในองค์

         ในการวัดความตระหนักรู้นั้น  สามารถวัได้ทั้งในส่วนของ output และ outcome

          output  ดูได้จากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาขององค์กร   หรือโครงการต่าง ๆ ที่เกิดจากแนวคิดของสมาชิกในองค์กร  ถ้าเป็นเรื่องของ KM ก็อาจเป็นจำนวน CoP ที่มีการจัดตั้งขึ้นในองค์กร   จำนวนความรู้ในองค์กรที่เพิ่มขึ้น  เป็นต้น

         ส่วน outcome  ดูได้จากผลสัมฤทธิ์ขององค์กร  เช่น  การพัฒนา product/process/service จากการทำกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ที่มีการจัดทำขึ้น  ที่ส่งผลต่อ KPI ขององค์กร   เช่น  ง่ายๆ คือไม่มีความผิดพลาดในชิ้นงานที่ทำ ส่งผลให้ต้นทุนองค์กรลดลง กำไรเพิ่มขึ้น ลูกค้าพึงพอใจ ค่ะ

         นับเป็นความท้าทายของนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องแสดงบทบาทของตนให้ชัดเจนค่ะ

         ดิฉันมีFile แนะนำเพิ่มเติมค่ะ

 http://gotoknow.org/file/anuroj48/view/119239

ขอข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท