สารสนเทศในสถานศึกษา


สารสนเทศกับการศึกษา

การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

 ระบบข้อมูลสารสนเทศและฐานข้อมูลทางการศึกษา

   ระบบข้อมูลสารสนเทศและฐานข้อมูลทางการศึกษามีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการในทุกระดับขององค์การ ทั้งในการปฏิบัติงาน และการบริหาร ใช้ช่วยในการตัดสินใจ  การวางแผน  และการประเมินผลเปรียบเทียบ ช่วยเพิ่มระดับความรู้ (Knowledge)  ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริง 

      ระบบข้อมูลสารสนเทศ  คือ การนำนวัตกรรมใหม่ (Innovation)  มาใช้ในการบริหารพัฒนาระบบจัดเก็บและประมวลข้อมูล ให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง และทันเวลา ซึ่งผู้ใช้ข้อมูลและสารสนเทศแต่ละคน จะมีการรับรู้ต่อข้อมูลและสารสนเทศเดียวกัน แต่จะมีการใช้งานและหน้าที่ความรับผิดชอบสารสนเทศแตกต่างกัน ข้อมูลที่นำมาใช้ประมวลเพื่อสารสนเทศ เกิดจากแหล่ง ข้อมูล 2 แหล่ง คือ แหล่งข้อมูลภายในองค์การ และแหล่งข้อมูลจากภายนอกองค์การ

      สารสนเทศสามารถจัดแบ่งกลุ่มประเภทได้หลายแบบ  โดยยึดถือตามหลักอ้างอิงแบบต่าง ๆ เพื่อสะดวกต่อการใช้บริหารงานภายในองค์การ  ซึ่งการจัดแบ่งแต่ละแบบอาจไม่ครอบคลุมสถานการณ์ทั้งหมดที่มีอยู่จริงได้  ดังนั้นสารสนเทศเดียวกันก็อาจถูกจัดให้อยู่ในประเภทต่าง ๆ ได้ หลายประเภท  ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน 

      ระบบสารสนเทศทางการศึกษา คือ ชุดของคน  ข้อมูล  และวิธีการทางการศึกษา ซึ่งทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้  หรือ สารสนเทศ คือข้อมูลที่ผ่านการประมวล ผล  บวก ลบ คูณ หาร  เปรียบเทียบหรือตรวจสอบแล้วมีความชัดเจนขึ้น สามารถนำมาใช้ในการพิจารณาตัดสินใจ หรือดำเนินการใด ๆ ต่อไปได้ สารสนเทศจะถูกนำเสนอในรูปอัตราส่วน ร้อยละ การเปรียบเทียบ  ซึ่งประเภทของระบบสารสนเทศมี 4 ระบบ คือ ระบบประมวลผลธุรกรรม  ระบบสารสนเทศการจัดการ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ และระบบการสนับสนุนระดับนโยบาย โดยที่จะมีบุคลากรในระบบสารสนเทศ คือ  ผู้ใช้  นักวิเคราะห์ระบบ  นักออกแบบระบบ  และนักเขียนโปรแกรม 

      ทิศทางการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  ใช้ยุทธศาสตร์ คือ การใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ (Information Utilization) เพื่อประกอบการตัดสินใจให้มากขึ้น การบริหารทางไกล (High-Tech Administration) การหาความรู้ทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) 

การมองการณ์ไกล (Introspection)  การใช้หน่วยงาน/องค์กรอื่นทำงาน (Decentralization) การจัดรูปองค์กรที่ทำงานได้ฉับไว (Organization Development) และการพัฒนาบุคลากร (Personnel Development)

      ระบบฐานข้อมูลทางการศึกษา การจัดโครงสร้างข้อมูลให้เป็นแบบฐานข้อมูลกำลังเป็นที่นิยม เนื่องจากปริมาณข้อมูลมีมากถ้าจัดข้อมูลเป็นแบบแฟ้มข้อมูลจะทำให้มีแฟ้มข้อมูลเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้เกิดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกันได้ ข้อมูลที่ซ้ำซ้อนนี้จะก่อให้เกิดปัญหามากมาย ระบบฐานข้อมูลสามารถรักษาความถูกต้องของข้อมูล  ป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลทำได้อย่างสะดวก  สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้  มีความเป็นอิสระของข้อมูล  สามารถขยายงานได้ง่าย ทำให้ข้อมูลบูรณะกลับสู่สภาพปกติได้เร็วและมีมาตรฐาน

      การบริหารฐานข้อมูลโดยการกำหนดโครงสร้างหรือรูปแบบของฐานข้อมูล  กำหนดโครงสร้างของอุปกรณ์เก็บข้อมูลและวิธีการเข้าถึงข้อมูล  มอบหมายขอบเขตอำนาจหน้าที่ของการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้

      ระบบการจัดการฐานข้อมูล (data base management system, DBMS) จะดูแลการใช้งานให้กับผู้ใช้  ควบคุมระบบความปลอดภัยของข้อมูลควบคุมการใช้ข้อมูลในสภาพที่มีผู้ใช้พร้อมๆกันหลายคน ฐานข้อมูลทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องที่สำคัญมี 5 ฐานข้อมูล คือ ระบบฐานข้อมูลทางการศึกษาระบบตรวจสอบข้อมูลฝ่ายบุคคล  ระบบสารสนเทศด้านการศึกษา ระบบฐานข้อมูลเฉพาะกิจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้านการศึกษา (GIS)

สารสนเทศปัจจุบัน

1.  สารสนเทศ ( Information )  คือ  ข่าวสาร  การแสดงหรือชี้แจงข่าวสารข้อมูลต่างๆ

2. ลักษณะสารสนเทศปัจจุบัน  มีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  เชื่อมโยงสู่เครือข่ายดิจิตอลกับคลังข้อมูล 

     เป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

3.  คุณค่าของสารสนเทศ

3.1  เสริมสร้างความสามารถในการตักตวงประโยชน์จากความรู้ต่างๆ

                3.2  สร้างความมีเหตุผล ระเบียบ แบบแผน เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา

                3.3  มีฐานความรู้ที่กว้างขวาง  มีวิธีการใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหา

                3.4  ทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมา

ประเภทของสารสนเทศปัจจุบัน สามารถแบ่งรูปแบบสารสนเทศทางการศึกษา

  รูปแบบของการศึกษา

-  การศึกษาในระบบโรงเรียน

-  การศึกษานอกระบบโรงเรียน

-  การศึกษาตามอัธยาศัย 

บทบาทของการสื่อสารต่อการศึกษา

-  มีบทบาทเป็นกระบวนการสื่อสารการสอน 

-  มีบทบาทเป็นสื่อสารสอน

                        -  มีบทบาทเป็นสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์สถานศึกษา

                        -  มีบทบาทในฐานะครู

                        -  มีบทบาทต่อการสังคมประกิจ ( Socialization )

                        -  มีบทบาทต่อการพัฒนาการศึกษา  แบ่งได้เป็น

                        -  การสื่อสารในการสอนให้รู้หนังสือ

                       -  การสื่อสารในการศึกษาทั่วไป

แนวโน้มสำหรับการเตรียมตัวเพื่อรองรับเทคโนโลยีสารสนเทศ

-          การจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี ได้แก่ การจัดเตรียม บุคลากร สถานที่ รวมถึงความจำเป็นเบื้องต้นในการใช้ เทคโนโยลี รวมทั้งความคุ้มทุน ความคุ้มค่าในการลงทุน

-          การจัดเตรียมข้อมูลและเน้อหาที่จะให้บริการ ซึ่งการบริการบนเว็บจำเป็นต้องมีเนื้อหาที่มีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการเตรียมบุคลากรในด้านนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

-          การปรับความคิด (paradigm thinking) ทั้งนี้เนื่องจากวิธีการทำงาน และการให้บริการต้องเปลี่ยนจากสถานการณ์เชิงรับเป็นเชิงรุก เพราะความต้องการของผู้ใช้จะมีพลังกดดันมากขึ้นวิธีการขอใช้บริการจะผ่านทางเครือข่าย การปรับเปลี่ยนความคิดและเตรียมการในเรื่องต่างๆ จึงต้องปรับให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงเพื่อขอใช้บริการ

-          การสร้างหน่วยเครือข่าย แนวคิดการดำเนินการจะมีลักษณะการสร้าง เป็นหน่วยเครือข่ายย่อย กระจายการให้บริการตามพื้นที่ต่างๆ

-          การพัฒนากำลังคน เพื่อเตรียมข้อมูลทั้งหมดต่อการพัฒนาระบบสารสนเทศ บุคลากรที่มีความสามารถ และมีคุณธรรม จริยธรรม สามารถควบคุม ดูแล การใช้บริการทางเว็บ ได้เป็นอย่างดี และตรงตามเจตนาของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สังคม มีความเจริญทั้งทางด้านวัตถุ และจิตใจ

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จะมีความก้าวหน้า ล้ำหน้าขนาดไหนก็ตาม ถ้าหาก คนเกิดความรู้สึกว่า เราจะต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเอาอย่างนี้ เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ของพวกพ้อง หรือพูดได้ว่ามีแต่ความเห็นแก่ตัว เมื่อนั้นเทคโนโลยี ก็คือดาบที่มีไว้สำหรับ ทำลายมนุษย์ด้วยกันเอง เนื่องจากเมื่อใดมนุษย์หลงอยู่กับเทคโนโลยี จนลืมไปว่า

                ศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ

                ระบบสารสนเทศ และนวัตกรรมใหม่จึงต้องระลึกอยู่เสมอว่า ศีลธรรมจะต้องอยู่คูกับมนุษย์

พิมนศิลป์  ทัพนันตกุล

ป.โท บริหารการศึกษา

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 138075เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2007 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท