แม่น้ำปิงหรือน้ำแม่ระมิงค์


แม่ปิงและแม่ระมิงค์คือแม่น้ำสายเดียวกัน

ตามที่มีท่านผู้ชมได้ร้องขอให้เล่าเรื่องแม่น้ำปิง  จะขอเล่าเกล็ดต่างๆเกี่ยวกับแม่น้ำปิงที่อาจยังไม่มีใครกล่าวถึง

             หากย้อนรอยตำนานแม่น้ำของชาวลัวะ  ทำให้พบว่าสมัยก่อนชนพื้นเมืองที่อยู่แถบล้านนาใกล้กับดอยหลวงเชียงดาวจะให้ความนับถือเจ้าหลวงคำแดงซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งขุนเขายอดดอยที่เรียกว่า  "  อ่างสลุง(อ่านว่าสะหลุง)หมายถึงยอดดอยที่มีลักษณะเป็นขันน้ำหรือสลุงของคนล้านนาซึ่งคอยเก็บกักน้ำฝนให้ไหลผ่านซึมแทรกขุนเขารากไม้ลงมายังถ้ำเชียงดาวกลายเป็นต้นสายน้ำหนึ่งที่ไหลออกจากปากถ้าเชียงดาวด้วยลักษณะที่ไหลออกปากถ้ำนี้เองผู้คนชาวลัวะจึงเรียกขานกันว่า"น้ำแม่ระมิงค์"

             ชาวลัวะบางเผ่าเรียกถ้ำว่า  ระมิงค์   จึงให้ชื่อน้ำที่ไหลออกจากปากถ้ำเชียงดาวว่าน้ำแม่ระมิงค์  ดังกล่าวแล้ว  และชนชาวลัวะยังได้นำคำว่า  ระมิงค์  มาเป็นชื่อของราชวงค์ลัวะ  ซึ่งเป็นราชวงค์สุดท้ายของชาวลัวะที่ล่มสลายโดยการปราบปรามของพระนางเจ้าจามเทวีแห่งเมืองหริภุญชัย(ลำพูน)

             กษัตริย์ชาวลัวะองค์สุดท้ายพระนามว่า  " ขุนหลวงมะลังก๊ะ"หรือภาษาไทยกลางเรียกกันว่า  ขุนหลวงวิลังคะ  นั่นเอง  พระองค์ทรงหลงรักพระนางเจ้าจามเทวีเป็นอย่างยิ่งถึงกับต้องรบต้องสู้เพื่อชิงเอานาง แต่ที่สุดก็พ่ายแพ้พระนางจามเทวี และตรอมใจจนทรงชราภาพเสด็จสวรรคตราวปี พ.ศ. 1227  ศิริอายุได้ประมาณ  90 ชันษา

         วกกล่าวมาถึงน้ำแม่ระมิงค์ ชื่อนี้ยังมีผู้คนส่วนมากที่ออกเสียงยากและยืดยาว จึงนิยมเรียกตามชื่อเมืองของลัวะอีกเผ่าหนึ่งว่าเมืองพิงค์  (อ่านว่าเมืองปิงเพราะเสียงภาษาคนล้านนาออกเสียตัว  พ  เป็นเสียงตัว  ป  เช่น   ภาษาไทยกลางว่า  พื้น   ภาษาล้านนาว่า  ปื๊น  เป็นต้น

         ต่อมาคำเรียกขานคำว่า  แม่น้ำปิงเป็นที่นิยมกันมากขึ้นจึงเรียกขานกันต่อมาจนปัจจุบันเพื่อให้มีควาหมายว่า เป็นสายน้ำที่ผู้คนได้เปิ้งปิง(พึ่งพิง)ใช้เลี้ยงชีวิตผู้คนให้เป็นสุขตราบนิรันดร์

           ทุกปีผู้คนแถบลุ่มน้ำปิงตอนบนใกล้ๆกับดอยหลวงเชียงดาวจะร่วมกันไหว้สาผีขุนน้ำหรือไหว้สาผีเจ้าหลวงคำแดงซึ่งถือว่าเป็นเทพผู้รักษาเมืองหรือเป็นเสื้อบ้านเสื้อเมืองชาวล้านนาคล้ายกับท้าวจตุคามนั่นเอง

             น่าเสียดาย   ปัจจุบันแม่น้ำปิงถูกรังแก  ขุดลอกเสียระบบนิเวศน์ไปหมด   วิถีการหากินลุ่มน้ำปิงก็หายไปหลายๆอย่าง ไม่เหมือนกับก่อนๆที่พ่อลุงยังเล็ก  ได้ร่วมกับญาติพี่น้อง  ผู้ใหญ่ หากินโดยการจับปลา งมหอยในน้ำปิง

            ที่จำได้มีวิธีการจับปลาในน้ำปิงเริ่มตั้งแต่   การตึ้ดแคว   การลงป้ก     การผ้กบ่ม    การลากหญาย     การขับจ๋ำ    การใส่ฮุ้ม    การลอยเบ็ดบ่ะโล่ง    การใส่เบ็ดโขก    การใส่ไซกะต๊ำ   การแทงป๋าฝา(ตะพาบน้ำ)   และอื่นๆอีกหลายวิธีที่แสดงให้เห็นถึงผะหญาภูมิปัญญาคนล้านนาที่ได้สรรค์สร้างวิธีการ  เครื่องมือในการหากินลุ่มน้ำอย่างไม่ทำลายธรรมชาติ   และเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เป็นสุขตามอัตภาพหรืออยู่อย่างพอเพียงจริงๆ

            สายน้ำปิงไปบรรจบกับแม่น้ำวังของเมืองลำปางที่จังหวัดตาก  และไหลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา   โดยเหตุที่มีสายน้ำเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยานี้เองสมัยก่อนจึงมีการตัดไม้สักผูกแพล่องแม่ปิงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสินค้าออก  ตามที่พวกเราสมัยก่อนท่องกันว่า  " สินค้าออกของไทย  มีข้าว  ไม้สัก  ดีบุกและยางพารา  "

          ที่แน่ๆปัจจุบันไม้สักเหลือแต่เศษเป็นไม้จิ้มฟัน แม่แต่รากสักก็ยังถูกขุดมาใช้     สินค้าไม้สักที่เคยส่งออกก็ต้องจบสิ้นเป็นเพียงตำนานดังที่กล่าวขานในเรื่องแม่น้ำปิง  -น้ำแม่ระมิงค์ที่เล่ามานี้



ความเห็น (9)
ผมอยากได้ ความหมายของ น้ำแม่ปิงอ่ะคับ
ผมอยากได้ ความหมายของ น้ำแม่ปิงอ่ะคับ ช้วยที่น่ะคับ คือว่าผมเอาไปส่งงาน ครูอ่ะคับ วันพรุ่งนี้ ก้อเอาไปส่งแล้วอ่ะคับ ช่วยทีน่ะคับ

หลานนักเรียน ....ลุงมากลับมาพบคำถามก็ช้าไปบ้าง

ความหมายน้ำแม่ปิง   "  ปิง " หมายถึงพิง      สายน้ำที่เป็นที่พึ่งพิงของผู้คนนั่นเองครับ

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน     พรหมมา

 

หนูข้อทราบผลการตรวจคุณภาพน้ำในแม่น้ำปิงได้ไหมคร้า

คุณลุงสามารถหาได้ไหม

ขอด่วนทีสุดนะคร้า

ขอบคุณล่วงหน้าคร้า

อยากทราบเกี่ยวกับอารยธรรมลุ่มแม่น้ำปิงค่ะ

ไหว้สาคุณไม่แสดงตน..ครับ

ผมกลับมาทวนบันทึกก็เป็นวันที่  18 กันยาเข้าไปแล้วแต่คิดว่าไม่สายเกิดนไปครับ

เหตุที่ช้าเพราะผมปั่นต้นฉบับพระลอคำคร่าวให้ทันตอนเกษียณ 30 กันยานี้  พอทำต้นฉบับเสร็จก็กลับมาดูบันทึกจึงเล่าเพียงว่า

อารยะธรรมลุ่มน้ำปิงมีหลากหลายแง่มุม  ทั้งการหากินในลุ่มน้ำ  การสร้างความเชื่อประเพณี    ล้วนแล้วแต่เป็นการสืบสานรักษาแม่น้ำทั้งสิ้น

แนะนำหนังสือ"เผื่อฮู้คิงน้ำปิงปอแห้ง"  มีวิถีชีวิตทั้ง  12 เดือนของการเลี้ยงชีพในน้ำปิงครบตลอดปีเป็นวัฏจักร สาระทั้งดั้งเดิมที่เคยมีแต่เดี๋ยวนี้หดหายเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำปิงตลอดเล่มครับ

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน.......พรหมมา

สวัสดีคุณน้องออยครับ....

แหล่งที่หาคุณภาพแม่น้ำทุกแห่งให้ไปขอความร่วมมือที่หน่วยสิ่งแวดล้อมที่อาคารศาลากลางเชียงใหม่ราวๆชั้น  2 ก็จะพบครับ

หรือไม่ก็ไปที่คณะวิศวะสิ่งแวดล้อม  ม.เชียงใหม่ครับ

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน...พรหมมา

อยากให้แม่น้ำปิงอยู่กับเราไปนาน ๆ นะครับ

ขอบคุณที่แว่มาแอ่ว...

ต้องช่วยกันรักษาแม่ร้ำครับ.....

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน.......พรหมมา

อยากทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของลุ่มน้ำปิงที่ส่งผลทั้งทางด้านเกษตร สังคม เเละเศรษฐกิจ  ว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่างจากอดีตถึงปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้างคะ  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท