บันทึกแรก


บันทึกแรกของกลุ่ม
วันนี้ประชุมกรุงเทพรถติดฝนตกหนักมาดีใจที่เข้ามาจะมาอับบ่อยๆคะ
คำสำคัญ (Tags): #บันทึกแรก
หมายเลขบันทึก: 137801เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2007 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ได้เข้ามาเยี่ยม..และดีใจที่ได้เห็นข้อมุลที่กลุ่มตะวันฉายและพี่เข็มจะUP..เพื่อป้นประสพการณ์ที่หาอ่านไมค่อยได้เอามาเป็นความรู้.......กว่าจะup..ของตัวเองบ่อยๆเหมือนกันคับพี่

ช่วงนี้กลุ่มตะวันฉายกำลังปรับปรุงระบบการทำงานเคลียร์ปีงบประมาณซึ่งการทำงานจะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างแกนนำและพี่เลี้ยง  ขบขันกันสนุกทั้งน้ำตา..เราทำงานด้วยใจ  กว่าจะได้ก็ต้องเคียวกันหน่อย...แต่ชื่นชมแกนนำกลุ่มที่เขาพยายามที่จะทำงานให้ออกมาดีที่สุด

  ยังไงก็ฝากเรื่องการพัฒนาศักยภาพกับทีมสนับสนุนทางเครือข่ายที่จะขับเคลื่อนไปด้วยกันด้วยนะคะ..ถ้าพี่เลี้ยงกลุ่มไหนอยากจะเสนอแนะและให้คำแนะนำให้กลุ่มตะวันฉายไปสู่เป้าสูงสุดอย่างรวดเร็วก็เสนอแนะได้นะคะ..

..จะรอรับคำชี้แนะจากทุกๆท่านค่ะ..

พี่ครับสนใจเรื่องที่พี่ไปเรียนมามากมายเลยพี่

พี่มีอะไรแนะนำที่เกี่ยวกับ มุมปัญหาด้านจิตใจที่เพื่อนได้รับ จากรียนหรือมันเกิดกับผู้มีเชื้อฯบ่อยแล้เม่ควรมองข้าม...

                                                                  นับถือพี่คับ

                                                                   หนอนน้อย (ที่กำลังปกป้องใบชา ไม่รู้ว่าจะรักษาใบชาได้นานเท่าไหร่ แต่ไม่เป็นไร มีพี่เป็นคนช่วยแล้ว)

ชื่อเรื่อง            รอยยิ้ม ที่ได้กลับมา ความหมายลึกกว่า ตอบแทน           เมื่อพูดถึงคำว่า ตอบแทน หลายคนอาจนึกถึงคำที่ตามมาไม่ห่าง หรือเป็นผลให้เกิดคำแรก  นั่นคือ น้ำใจ บ้างก็อดไม่ได้ที่จะต่อท้ายว่า บุญคุณ          แต่สำหรับนินและโน สองสาวที่มีชมรม ศูนย์นี้มีรอยยิ้ม เป็นที่ทำงานร่วมกัน ความหมายของคำนี้กลับต่างออกไป          ด้วยหมวกใบที่สวมคำว่าพี่เลี้ยงไว้  นินจึงให้นิยามของเธอว่า  เพียงแค่เรามีตัวตนในสายตาของกลุ่มก็ดีใจแล้ว ที่ผ่านมาผู้บริหารคนก่อนๆ ไม่เห็นความสำคัญของงานที่เราทำกับกลุ่มนี้สักเท่าไหร่ แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับการเห็นคนเคยป่วยขนาดที่ต้องนอนบนเตียงมาหาเรา แล้วพอได้รับยา เขาก็ลุกขึ้นเดินได้อย่างคนปกติในเวลาไม่นาน          สำหรับโน ในฐานะประธานศูนย์คนปัจจุบันที่ควบตำแหน่งนี้มาถึงสองปี เธอบอกว่า          “’เพื่อนๆ จะรู้ว่าสามารถโทรหาเราได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง มีเพื่อนเคยถามว่าแล้วไม่คิดจะนอนบ้างหรือ เลยบอกว่าก็เราจำความรู้สึกตอนที่ป่วยได้ว่าเวลาที่อยากจะโทรหาใครสักคนดึกๆ เพื่อขอคำปรึกษา มันเป็นอย่างไร เราไม่อยากให้เพื่อนรู้สึกเหว่ว้าแบบนั้น            ...................................................           ประวัติศาสตร์การสร้างให้เกิดกลุ่ม ศูนย์นี้มีรอยยิ้ม เพื่อเป็นที่สำหรับพักพิงใจ ให้ข้อมูลแก่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มารับยาต้านไวรัส คล้ายจะมีที่มาไม่ต่างจากกลุ่มผู้รับยาต้านในโรงพยาบาลอื่นๆ ทั่วประเทศ เพราะมักเกิดจาก น้ำมือ พี่เลี้ยง ซึ่งส่วนใหญ่มีตำแหน่งเป็นพยาบาลวิชาชีพ          แต่ด้วยบทบาทในการสร้างกลุ่มนี่เอง กลับกลายเป็นบทเรียนแรกให้พี่เลี้ยงกลุ่มแห่งโรงพยาบาลสมเด็จฯ           คำว่า พี่เลี้ยงมีหลายแบบ แต่สำหรับพี่เลี้ยงที่มาดูแลศูนย์นี้มีรอยยิ้มในปีแรกๆ คือคนที่ต้องทำแทบทุกอย่างเพื่อให้กลุ่มนี้เกิดขึ้น           นิน หรือ อรัญญา ชำนาญอักษร พยาบาลวิชาชีพ ๗ ให้ภาพของการเกิดกลุ่มเมื่อปี ๒๕๔๖ ซึ่งว่าไปแล้ว ก็ดูไม่ต่างเท่าไหร่นักกับกระบวนการเพื่อให้กลุ่มเกิดขึ้นในโรงพยาบาลอื่น แต่นินเรียนรู้ว่ารูปแบบการทำงานที่ให้พี่เลี้ยงเป็นคนนำนั้น มีข้อเสีย เพราะเป็นการเขียนปัญหาจากมุมของผู้ให้บริการ ซึ่งเธอคิดว่าไม่ควรเป็นเช่นนั้นในความเป็นจริง เนื่องจาก บทบาทของพี่เลี้ยงกลุ่ม คือ ควรเป็นฝ่ายเอ่ยปากถามก่อนว่ากลุ่มอยากทำอะไร ไม่ใช่บอกว่ากลุ่มควรจะทำอะไร             โน หรือ เสาวนีย์ วรกิจเจริญชัย ประธานกลุ่มเห็นด้วยว่าการทำงานของพี่เลี้ยงกลุ่มที่ผ่านมาซึ่งเป็นแบบ จับมือให้เขียนตาม นั้นไม่ได้ทำให้กลุ่มของเธอเรียนรู้อะไรมากนัก           พี่เลี้ยงทำงานทุกอย่างให้กลุ่ม เขียนโครงการให้ ไปนำเสนอโครงการให้ เขียนรายงานให้  ประธานกลุ่มมีหน้าที่อย่างเดียว คือ เซ็นชื่อ           เมื่อทบทวนเส้นทางการเติบโตของกลุ่มให้ไกลออกไป โนเห็นว่าส่วนหนึ่งอาจเป็นด้วยตัวแกนนำกลุ่มรุ่นที่ผ่านมาเองก็ไม่ได้ตั้งเป้าว่าต้องการจะพัฒนาศักยภาพของกลุ่มไปในทางใด จึงทำให้พี่เลี้ยงต้องทำงานแทน          นอกจากกระบวนการกลุ่มที่ไม่มีความต่างจากกลุ่มอื่นแล้ว ช่วงเวลาตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ ๒๕๔๘ ศูนย์นี้มีรอยยิ้มเปลี่ยนประธานกลุ่ม ๓ คน และประสบปัญหาเรื่องความโปร่งใสของแกนนำกลุ่ม           ก็ดูคล้ายปัญหาเช่นที่อีกหลายกลุ่มได้พบ          แต่ในความคล้าย ศูนย์นี้มีรอยยิ้มได้นำบทเรียนเกี่ยวกับการทำงานมาปรับใช้ ทำให้กลุ่มเริ่มเรียนรู้ที่จะทำงานด้วยความต่างจากกลุ่มอื่นๆ           ในปี ๒๕๔๙ หลังจากพี่เลี้ยงกลุ่มเสียชีวิต นินจึงเข้ามารับผิดชอบเป็นพี่เลี้ยงตัวจริง แทนการดูอยู่ห่างๆ เหมือนก่อนหน้านั้น และเป็นเวลาเดียวกับที่โนได้รับเลือกให้เป็นประธานกลุ่ม โดยการชักชวนของนิน เนื่องจากทั้งคู่สนิทสนมกันมานาน ต่างคนจึงดูกันและกันออกว่าสามารถทำงานร่วมกันได้           ความเปลี่ยนแปลงในการทำงานของศูนย์นี้มีรอยยิ้ม จึงเริ่มก่อตัวขึ้น           จากรูปแบบเดิม ซึ่งนินเห็นว่าเป็นการทำงานกันแบบ ไม่รู้หมายถึงกลุ่มทำงานตามที่ภาครัฐสั่งให้ทำ เช่น สั่งให้ไปเยี่ยมบ้าน สั่งให้ไปพัฒนาศักยภาพตัวเองในเรื่องนี้ เรื่องนั้น งานมันไม่ได้เริ่มมาจากที่เขารู้สึกได้เองว่าปัญหาของกลุ่มคืออะไร แล้วจะแก้ไขอย่างไร พอเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงเต็มตัว เราถึงเห็นว่า จริงๆ กลุ่มมีศักยภาพ แต่เราต้องปล่อยให้กลุ่มเป็นฝ่ายเรียกร้องออกมาก่อนว่าต้องการทำอะไร แล้วจะให้เราช่วยตรงไหน อย่าลืมว่าตอนนี้ แกนนำกลุ่มมีคน มีองค์กรภายนอกมากมายที่จะมาช่วยทำให้เขาเติบโต เราซึ่งเป็นพี่เลี้ยงก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น หน้าที่ของเราคือเติมเต็มให้กลุ่ม           นินจึงเลือกวิธีทำงานกับกลุ่มใหม่ เธอปล่อยให้กลุ่มได้นั่งคุยและถามกันในกลุ่มว่าอยากทำอะไร โดยมองว่าคนที่อยู่ในพื้นที่ย่อมรู้ปัญหาของตนดีกว่า จากนั้น ค่อยนำเรื่องมาปรึกษาเธอเพื่อแลกเปลี่ยนกัน และเธอจะให้คำแนะนำว่าควรไปหาใครในเรื่องนั้นเพื่อให้งานสำเร็จ          การทำงานแบบนี้ ทำให้กลุ่มรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของกลุ่ม เพราะเขาได้แก้ปัญหาตรงจุดจริงๆ เมื่อไหร่ที่มีเรื่องเกินศักยภาพเขา เราก็ค่อยเข้ามาดูแลให้ ถ้าเทียบกับเมื่อตอนตั้งกลุ่มใหม่ๆ แบบนี้ดีกว่าเยอะ เพราะการที่พี่เลี้ยงเข้ามาดูแลทุกอย่างนั้น มันอาจจะแก้ปัญหาไม่ถูกจุด และต้องลงแรงเหนื่อยโดยใช่เหตุ          นินขยายความถึงหนึ่งในภาระงานที่ทำให้เธอเหนื่อยมากเมื่อเข้ามาเป็นพี่เลี้ยงกลุ่ม นอกจากงานอื่นๆ ซึ่งล้นมือแล้ว คือ งานเอกสาร ดังนั้น เธอจึงฝึกให้โนสามารถเขียนโครงการ เขียนรายงานด้วยตนเอง โดยยื่นตัวอย่างเพื่อให้โนไปศึกษา เนื่องจากโนมีประสบการณ์เคยช่วยเหลืองานเครือข่ายผู้ติดเชื้อจังหวัดมาก่อน เธอจึงเชื่อมั่นว่างานเอกสารไม่ใช่เรื่องยากเกินกำลังของประธานกลุ่ม  และเป็นวิธีหนึ่งในการดึงศักยภาพของผู้ที่จะเป็นผู้นำออกมา          แต่นอกจากทำให้กลุ่มบอกความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มแล้ว การสร้างกลุ่มให้เข้มแข็งต้องอาศัยปัจจัยอื่นอีก ไม่ใช่เพียงปล่อยให้กลุ่มรู้จักปัญหาในพื้นที่ตัวเองเท่านั้น ซึ่งนินเห็นด้วยว่าการจะทำให้กลุ่มบอกความต้องการของกลุ่มอย่างตรงไปตรงมาได้นั้น พี่เลี้ยงต้องยอมรับก่อนว่า คนทุกคนมีศักยภาพ           ถ้าได้ช่องทางและโอกาส เขาก็เติบโตได้ ที่สำคัญ เราต้องมองว่าเขาก็เป็นคนๆ หนึ่งที่เหมือนเรา ดังนั้น พี่เลี้ยงต้องระวังเรื่องบุคลิกภาพ โดยเฉพาะการยึดความเห็นของตัวเองเป็นใหญ่ เพราะทำให้กลุ่มไม่ได้ทำงานอย่างที่ อยากทำ แต่ ต้องทำแล้วแกนนำกลุ่มก็จะคับข้องใจเมื่อไม่สามารถสื่อสารสิ่งที่อยู่ในใจออกมาได้          นอกจากเปิดโอกาสให้กลุ่มได้เรียนรู้ความต้องการ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดมาจากกลุ่มเอง พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้มีการสื่อสารได้อย่างสะดวกใจแล้ว นินยังเห็นว่าการทำงานเป็นทีมของพี่เลี้ยงก็มีส่วนสำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องอื่น            เราต้องทำให้แกนนำรู้สึกว่ามีคนที่ให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำพวกเขาได้มากกว่าเราเพียงคนเดียว ดังนั้น เราจึงเปลี่ยนให้น้องคนอื่นในทีมผลัดกันไปเข้าร่วมพบกลุ่มด้วย เพื่อให้พวกเขาได้ใช้เวลาในการทำความรู้จักกันและกัน จะได้เรียนรู้หาวิธีทำงานด้วยกันได้          นอกจากทำให้กลุ่มรู้จักวิธีทำงานเป็นทีมผ่านกลุ่มพี่เลี้ยงแล้ว นินยังมีความหวังเพิ่มเข้ามาอีกอย่างว่า อยากให้กลุ่มได้รู้จักธรรมชาติของบุคลากรที่ทำงานในส่วนภาครัฐให้มาก เพื่อจะได้ขยายการทำงานออกไปยังกลุ่มผู้ติดเชื้อกลุ่มอื่นได้สะดวก          จุดอ่อนที่เรามองเห็นในตอนนี้คือ คณะกรรมการที่ทำงานในกลุ่มยังมีบทเรียนน้อยไป เนื่องจากเพิ่งเริ่มทำงานด้วยตนเองอย่างจริงจังแค่ปีเดียว จึงขาดทักษะหลายด้านที่จำเป็นสำหรับการเป็นผู้นำ เลยอยากให้เขามีโอกาสพัฒนามากกว่านี้ แล้วเราก็อยากให้กลุ่มเติบโตไปในแนวราบมากกว่าแนวดิ่ง คืออยากให้แกนนำสร้างสมาชิกกลุ่มให้มีศักยภาพแบบเดียวกันเพิ่มมากขึ้น เพื่อจะได้ไปช่วยกันสร้างแกนนำให้กับกลุ่มอื่นๆ ด้วย เช่น สร้างตัวแทนให้กับกลุ่มเด็กที่ติดเชื้อ กลุ่มหญิงหลังคลอด ซึ่งเป็นงานที่เราวางแผนกันว่าจะขยายออกไป            แม้จะเพิ่งเริ่มเดินด้วยขาของตนเองเพียงไม่นาน แต่กลุ่มก็มีจุดเด่นที่นินสัมผัสได้ว่าส่งผลต่อการทำงานคือ กลุ่มนี้เขาเรียนรู้ความต้องการของกลุ่มได้อย่างรวดเร็ว และการที่พวกเขาได้รับการยอมรับจากหน่วยงานท้องถิ่นซึ่งมีงบประมาณ ก็ทำให้พวกเขาทำงานได้สะดวกขึ้น           การยอมรับจากหน่วยงานท้องถิ่น ซึ่งเป็นเรื่องที่โนเห็นด้วยว่าทำให้กลุ่มมีความได้เปรียบมากกว่ากลุ่มอื่น ก็คือ การที่กลุ่มมีตัวแทนเข้าไปนั่งเป็นหนึ่งในคณะทำงานระดับจังหวัด เพราะเท่ากับมีคนเป็นปากเป็นเสียงให้กับกลุ่มดังขึ้น             นายก อบต. ทุกตำบลของอำเภอสองพี่น้องรู้จักหมดว่าเราเป็นใคร มาทำงานในนามของใคร  สำหรับหนูรู้สึกว่าการทำงานกับหน่วยราชการไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเวลาไปพูดกับเขาเพื่อขอความร่วมมือ เราพูดจากความรู้สึกของตัวเอง เราไปอยู่ในนั้นเพื่อให้เขาเห็นว่าเรามีตัวตนและอยู่ยังไง ต้องบอกด้วยว่ากลุ่มเราโชคดีที่มีทั้งผู้อำนวยการโรงพยาบาล พี่เลี้ยง และสาธารณสุขอำเภอช่วยให้เราทำงานกันได้สะดวก มีงบมาสนับสนุน แต่งานก็หนักขึ้น          ด้วยภาระงานที่มากตามงบประมาณสนับสนุนกลุ่มจากหลายหน่วย โนซึ่งเป็นประธานกลุ่มและเป็นคนที่พร้อมที่สุดทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ จึงมีตารางเวลางานของเธอเกินกว่าคำว่า ทำแบบจิตอาสา ไปแล้ว            ตอนนี้เรามีคนทำงานน้อยไป เพราะเพิ่งจะลงมือทำงานกันด้วยตัวเองอย่างจริงจัง ก่อนหน้านั้น เราไม่ได้มีโอกาสทำงานกันเป็นกลุ่มเลย แล้วหนูก็บอกเพื่อนในกลุ่มเสมอว่า ถ้าใครเห็นแก่เงิน คงไม่สามารถทำงานร่วมกัน หนูจึงพอใจนะที่พวกเราโตมาได้ขนาดนี้ ก็ยอมรับว่าต้องใช้เวลาในการสร้างคน ค่อยๆ ดูคนที่สามารถจะมาทำงานร่วมกันได้          ถึงแม้ภาพสำหรับคนภายนอก จะมองว่าโนรับบทหนักในทุกเรื่องของศูนย์นี้มีรอยยิ้ม แต่เธอยืนยันว่า           การทำงานเป็นทีมของเรานี่แหละที่เป็นความภาคภูมิใจของหนู แม้จะมีกำลังน้อย แต่คนที่มีอยู่ก็สามัคคีกันดี ไม่เคยทะเลาะกันเลย ในวงประชุม เราคุยกันเต็มที่อยู่แล้ว เพียงแต่คนที่พร้อมจะไปประชุมตามเวทีต่างๆ ได้มีอยู่แค่ ๓ คน คือ ประธาน รองประธาน และเหรัญญิกซึ่งโนเป็นคนเลือกรองประธานและเหรัญญิกด้วยตัวเอง           หนูเลือกคนทำงานด้วยกันโดยดูจากใจ และความสะดวกในการทำงาน ถึงจะไม่มีความสามารถ ก็ไม่เป็นปัญหา เพราะของแบบนี้ฝึกกันได้ แต่เราต้องมั่นใจก่อนว่าเราเป็นงานแล้ว ค่อยไปสอนเพื่อน          ตัวอย่างหนึ่งในการทำงานเป็นทีมของศูนย์นี้มีรอยยิ้มที่ฝึกกันได้ คือ หลังจากร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาด้วยตัวเองแล้ว พวกเขาพบวิธีแก้ปัญหาจากการที่สมาชิกกลุ่มไม่เห็นความสำคัญของการพบกลุ่ม โดยร่วมมือกับเภสัชกรให้จ่ายยาตามรายชื่อที่กลุ่มส่งให้ เพื่อเป็นการบีบให้สมาชิกคนอื่นต้องเวียนกันเข้ากลุ่มก่อนจะรับยา          ตอนนี้ ปัญหาสุขภาพของสมาชิกที่เป็นปัญหาใหญ่เมื่อมีการพบกลุ่ม คือ เรื่องการดื้อยา และซีดีโฟร์ลดลง เราเลยมาช่วยกันวิเคราะห์หาสาเหตุ ก็พบว่าเพราะหลายคน แค่มารับยาจากเภสัชแล้วก็กลับ ไม่รอเข้ากลุ่ม เราจึงต้องทำให้เพื่อนเห็นว่าการพบกลุ่มทำให้เพื่อนได้ข้อมูลมากกว่าที่ได้จากเภสัชอย่างไร นอกจากนั้น เราพยายามทำให้เพื่อนเห็นถึงความสำคัญของการใส่ใจอาการที่เกิดกับตัวเองอย่างใกล้ชิด โดยบอกให้ทุกคนจดไว้ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนหรือถามกันเวลาพบกลุ่ม          ผลที่ได้กลับมาจากการร่วมกันคิดหาวิธีเพื่อแก้ปัญหาของทีมงาน ทำให้โนมีกำลังใจในการทำงานอย่างมากแม้ว่าเธอจะรู้สึกท้อในบางวันที่เหนื่อยล้า แต่ยังต้องออกจากบ้านเพื่อไปทำงานก็ตาม          บางที ก็อดร้องไห้ไม่ได้ ตั้งคำถามตัวเองเหมือนกันว่าทำไมเราต้องเหนื่อยขนาดนี้ด้วย เคยอยากเลิกเหมือนกัน แต่พอย้อนนึกถึงตอนที่ไม่สบาย แล้วเราก็ไม่รู้ข้อมูลอะไรเลย ฉะนั้น ถ้าเราไม่ทำ ข้อมูลจำเป็นที่เพื่อนๆ ต้องรู้ ใครจะเป็นคนบอก เวลาท้อก็ได้คำพูดของเพื่อนไว้เป็นกำลังใจ เมื่อเขาบอกเราว่า ถ้ารู้ว่าเข้ากลุ่มแล้ว ได้ข้อมูลมากแบบนี้ เขาคงมาเข้ากลุ่มด้วยนานแล้ว แต่เพราะเขาไม่รู้มาก่อนว่าคนในห้องทำอะไรกัน เลยไม่กล้าเข้า          การที่เพื่อนเริ่มเห็นความสำคัญของการพบกลุ่มและเข้าใจแล้วว่ามีความต่างจากการรับยาและได้ข้อมูลจากผู้จ่ายยาอย่างไร ทำให้โนและเพื่อนมีความหวังว่าจะได้สมาชิกมาร่วมเป็นแกนนำในการทำงานในไม่ช้านี้ เรากำลังฝึกให้เพื่อนออกเยี่ยมบ้าน โดยเน้นให้มีทักษะว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้เพื่อนรู้สึกอบอุ่นใจเวลามีคนไปเยี่ยม          โนบอกว่า ถ้าเพื่อนคนไหนกำลังมีปัญหา อยากให้ค่อยๆ คิดแก้ปัญหาทีละเปลาะ เหมือนที่เธอกับเพื่อนในทีมช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ไข โดยใช้เวลาพูดคุยกันหลังจากวันพบกลุ่ม เพื่อสรุปปัญหา และข้อสำคัญ อย่าใจร้อน           เพราะการทำงานแบบนี้ต้องใช้ใจนำในการทำงาน           โดยโนย้ำว่าต้องทำให้คนเห็นความสำคัญของการรวมกลุ่ม  เราต้องทำให้เพื่อนเห็นก่อนว่าเขาได้รับความรู้สึกดีๆ เวลาที่ท้อแท้ ด้วยวิธีการอย่างไร หนูเชื่อว่าเมื่อไหร่ที่เพื่อนแข็งแรง เขาก็จะเกิดความรู้สึกอยากไปช่วยคนอื่นต่อเอง……………………………                    แม้คำว่า ตอบแทน ในความหมายตามพจนานุกรม แปลว่า การทำทดแทนแก่ผู้ที่ทำก่อน หากยังมีอีกความหมายหนึ่งที่ไม่ได้ถูกระบุไว้ แต่เราก็มักนึกถึงและใช้กันบ่อยโดยเฉพาะในการทำงานกลุ่ม คือ การคิดแทน พูดแทนคนอื่น           ทว่า ความหมายอย่างหลังนี้  กลับไม่มีอยู่ในใจของพี่เลี้ยงและแกนนำกลุ่มที่ทำงานร่วมกันในชื่อ ศูนย์นี้มีรอยยิ้ม ซึ่งตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลสมเด็จ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี แม้แต่น้อย                 
 
               คำโค้ดใต้ภาพ อรัญญา ชำนาญอักษรพี่เลี้ยงกลุ่ม           การตั้งกลุ่ม คือจุดเริ่มต้นของการสร้างโอกาสในกลุ่มผู้ติดเชื้อ เพราะเมื่อก่อนเวลาเราจะบอกใครสักคนว่ามีญาติเป็นผู้ติดเชื้อ ถือเป็นเรื่องน่าอาย ทำให้คนพูดไม่ได้ แต่มาตอนนี้ บรรยากาศการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มกับหน่วยงานท้องถิ่น จะเป็นการทำงานโดยไม่มองว่าใครคือผู้ติดเชื้อ  แต่มองว่านี่คือคนในพื้นที่ที่เรารู้จัก เป็นคนที่มีศักยภาพ   เสาวนีย์ วรกิจเจริญชัยประธานกลุ่ม            อยากให้เพื่อนๆ ย้อนนึกถึงตอนที่ตัวเองป่วยว่าเป็นอย่างไร จิตใจแย่แค่ไหนเวลาที่ไม่มีคนมาดูแล เมื่อใครแข็งแรงแล้ว ก็อยากให้ช่วยกันทำให้เพื่อนคนอื่นเห็นความสำคัญของการพบกลุ่มทุกครั้งที่มารับยา   ยันต์  การสมทบรองประธาน            คนที่จะเป็นผู้นำกลุ่มได้ต้องกล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ แต่ผมรู้สึกว่าตัวเองยังถ่ายทอดข้อมูลให้เพื่อนไม่ดี เพราะไม่ค่อยมีความมั่นใจ ต้องฝึกตัวเองให้กล้ากว่านี้  พิเชษฐ์ กาพย์แก้วเหรัญญิกกลุ่ม             เวลาที่โนไปประชุม หรือรู้ข้อมูลอะไรมา เขาจะกลับมาบอกให้พวกเรารู้เท่าๆ เขาเสมอ ผมถึงเลือกเขาเป็นประธาน

วันนี้เยี่ยมสมาชิกรายที่ยังไม่ได้กินยาต้านฯเธอช่วยเหลือตัวเองได้น้อย..ทีมงานรายงานว่าไม่ยอมช่วยตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวัน..แต่เมื่อแกนนำไปเยี่ยมและช่วยเหลือเธอดูเธอมีความสุข..ให้ทางทีมเตรียมเธอไว้ก่อนที่พี่เลี้ยงจะไปเยี่ยม..พอไปถึงห้องแยกเธอดูหมดกำลังใจ  ท้อแท้และสิ้นหวัง..ชวนพูดคุยก็ถามคำตอบคำ..เธอคงเบื่อหน้าพี่เลี้ยงคนนี้แล้ว..จริงๆไม่ใช่เมื่อเรายื่นมือต้องการที่จะช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้และอยากจะให้ช่วยจะช่วยทุกอย่าง..เธอยิ้มอย่างมีความสุขและแววตามีความหวัง...เราให้empowerแก่เขาเต็มที่..เธอลุกขึ้นนั่งด้วยตัวเองและยอมหยิบยาก่อนนอนด้วยตัวเอง...เราก็แอบหักมุมยิ้มเล็กๆที่เขาพยายามทำให้เราเห็นว่าเขาทำได้...ก็สร้างแรงจูงใจและให้กำลังใจเต็มที่เหมือนกัน...วางแผนว่าพรุ่งนี้ให้แพทย์ผู้ดูแลเริ่มยาต้านฯ..ไม่รู้จะไหวรึเปล่า..คงต้องมีทีมงานและแกนนำคอยดูแลอย่างใกล้ชิด...ได้แต่หวังว่าเธอจะกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามอัตภาพในอนาคต..

เรื่องของวันนี้ทำให้เราได้เรียนรู้ว่าเมื่อมีเวลาให้กับคนๆหนึ่งอย่างจริงใจจะทำให้เราได้ใจเขากลับมา..ซึ่งอาจจะได้ไม่ทั้งหมด..ฝากเพื่อนๆพี่ๆที่ทำงาน  ถึงแม้เวลาที่เรามีอยู่ทุกวันนี้จะไม่เพียงพอกับงานที่ต้องทำ..แต่ถ้าแบ่งให้กับคนหนึ่งคนสักเสี้ยวนาทีจะเป็นเวลาที่มีค่าสำหรับคนที่รอเราอยู่ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท