ข้อ 3


3. รูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา
3.  รูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา  เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะคน  ในสถานศึกษาให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  มีองค์ประกอบดังนี้

                                3.1      ถือความพอใจสูงสุดของผู้ปกครอง   ชุมชน  สังคม  นักเรียนเป็นหลักโดยคำนึงถึงผลผลิตจะต้องสร้างความพอใจสูงสุดควบคู่ไปกับประสิทธิภาพสูงสุด

3.2  มีการกำหนดทิศทางในการทำงาน  และนโยบายที่ชัดเจน

-          มีการกำหนดขอบข่ายภาวะหน้าที่ทั้งแผนระยะสั้น  และระยะยาว

-     มีการแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์    และด้วยการใช้เหตุผล

-    เน้นการมีส่วนร่วมในปัญหา  และกำหนดเป้าหมายต่าง ๆ

                                3.3    มีการกำหนดช่วงเวลาและขั้นตอนการทำงานที่จำเป็น  เพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติตามนโยบายจะเป็นไปอย่างถูกต้อง  แม่นยำและตรงเวลา  ซึ่งตารางการดำเนินงานวิชาการหรือปฏิทินงานที่ได้กำหนดโดยโรงเรียน

                                -    มีการกำหนดขอบข่าย  และการมอบอำนาจหน้าที่อย่างชัดเจน

                                -    รักษาตารางกำหนดการอย่างเคร่งครัดในการควบคุมโครงการ

                                -    ตรวจสอบ   และทบทวนอย่างสม่ำเสมอ  ในทุกระดับ

                                -    มีการชี้นำแนวทางจากหัวหน้าฝ่าย  / หัวหน้าหมวดต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเดือนละครั้ง                                3.4 มีการปรับปรุงระดับมาตรฐาน  การกำหนดขั้นตอนการทำงาน รวมทั้งคู่มือการปฏิบัติงานให้ทันสมัย  ในทุกภาคเรียนจะปรับปรุงให้ทันสมัยเสมอ

                                -   ลำดับขั้นตอนการทำงาน  โดยทั่วไปรวมทั้งคู่มือปฏิบัติงานจะต้องครอบคลุมงานทั้งหมด

                                -   จัดให้มีการปรับปรุงงานในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ

                                3.5 มีความร่วมมือดี   และการประสานงานที่เข็มแข็งทั่วองค์กร

                                -   ทุกคนยินดีที่จะร่วมมือในการทำงาน

                                -   โครงการต่าง ๆ  ดำเนินไปด้วยดี  80%

                                -   การประชุมต่าง ๆ  ประสบความสำเร็จ

                                3.6   มีการจัดหาและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างดี มีประสิทธิภาพ

                                -   จัดตั้งระบบข้อมูลสารสนเทศ  และการรายงาน ทั้งรายงานด้วยวาจา และเอกสาร

                                -   รับฟังความคิดเห็นของผู้ปกครอง     ชุมชน  สังคม  และนำมาวิเคราะห์  อยู่เสมอ

มีการจัดประชุมผู้ปกครองทุกภาคเรียน                                -   ระบบต่าง    ที่จัดตั้งขึ้นมาก็เพื่อ  ความมีคุณภาพของโรงเรียน

                                3.7    มีการยอมรับและแสวงหาวิธีการจัดการเพื่อความมีประสิทธิภาพสูงสุด

                                -   ค้นคว้าแสวงหาการดำเนินงานเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด 

                                -   ตั้งระบบควบคุมงบประมาณ  และมีคณะกรรมการควบคุมภายใน 

                                3.8.  ผู้ร่วมงานมีความภาคภูมิใจในองค์กร  และพร้อมทำงาน

                                -   มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่ง ขององค์กร

                                -   มีสวัสดิการที่ดีสำหรับผู้ปฏิบัติงาน  มีการจัดสวัสดิการ  และการพิจารณาความดี

ความชอบที่เป็นธรรม

                                -   ประเมินผลงานอย่างยุติธรรม  และสมเหตุสมผล

                                -   บรรยากาศการทำงานดี

                                -    ผู้ร่วมงานมีคุณภาพซึ่งส่วนใหญ่ได้สอนตรงตมวุฒิ

                                3.9    ระดับฝ่าย  / หมวด  มีความแข็งแกร่ง  เป็นศูนย์กลางและเร่งผลักดันขององค์กร

                                -   กำหนดขอบข่าย   บทบาทของฝ่าย / หมวด  อย่างชัดเจน

                                -   จัดให้มีการอบรมอย่างสม่ำเสมอ

                                3.10    มีการฝึกอบรมให้กับบุคลากรทุก ๆ คนอย่างเป็นระบบ

                                -   ฝึกอบรมบุคลากรอย่างเป็นระบบ

                                -   ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบุคลากร

                และทั้งหมดนี้  จะต้องใช้กระบวนการ  PDCA  ทั้งสิ้น  ซึ่ง  กระบวนการประกอบด้วยP   -  Plan หมายถึง  การวางแผน    ว่าอะไร   =    การกำหนดปัญหา   =    วิเคราะห์ปัญหา

D  -  do  หมายถึง  การปฏิบัติตามแผน

C  -  Check  หมายถึง  การตรวจสอบผลการปฏิบัติ

A  -  Act  หมายถึง  การแก้ไขปัญหา

จุดม่งหมายของ  PDCA ซึ่งเป็นกิจกรรมขั้นพื้นฐานในกรบริหารคุณภาพ  นั้นไม่ใช่เพียงแค่การปรับแก้ผลลัพท์ที่เบี่ยงเบนออกไปจากเกณฑ์มาตรฐานให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการเท่านั้น  แต่เพื่อก่อให้เกิดการปรับปรุง  ในแต่ละรอบของ  PDCA  อย่างต่อเนื่องอย่างเป็นระบบและมีการวางแผน  PDCA  ที่ม้วนไต่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ

 ตัวอย่างกระบวนการทำงานของผู้สอน  มีขั้นตอนดังนี้

1.       ศึกษานโยบายการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน  หลักสูตรและนักเรียน

1.1    ศึกษานโยบายการจัดการเรียนการสอนของหมวดวิชา/กลุ่มประสบการณ์

1.2    ศึกษาคำอธิบายรายวิชา

1.3    ศึกษาความรู้พื้นฐาน  ความถนัด ความสนใจ  เจตคติของนักเรียน

2.       จัดทำแผนการสอนที่มีคุณภาพ

2.1    วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา

2.2    วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและเนื้อหา 

2.3    จัดทำกำหนดการสอน

2.4    เลือกรูปแบบการสอน  สื่อ  เครื่องมือ  ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ 

       และผลการเรียนรู้

2.5    จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้

2.6    จัดทำสื่อและเครื่องมือวัดผล

3.       ดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.1    จัดกิจกรรมตามแผนการเรียนรู้  เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง

3.2    จัดบรรยากาศด้านกายภาพและด้านจิตใจที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

3.3    จัดกิจกรมโดยเน้นยุทธศาสตร์การสอนอย่างหลากหลาย  เพื่อให้นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

3.4    จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนแสดงออกอย่างอิสระ  เพื่อให้นักเรียนสร้างสรรค์เต็มที่

3.5    ใช้เทคโนโลยีอย่างกว้างขวางเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ของนักเรียน

3.6    ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม

3.7    มีการเสริมแรงทางบวก

3.8    ให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริง

3.9    สร้างบทเรียนที่ท้าทายทางปัญญา

4.       ประเมินผลการเรียนรู้ได้ถูกต้องตามหลักการและระเบียบการประเมินผล

4.1    ให้ผู้เรียนมีส่วนในการประเมินผลการเรียนรู้ของตน

4.2    ใช้เครื่องมือตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้  และมีการปรับปรุงพัฒนา

4.3    วิเคราะห์หาจุดอ่อนของผู้เรียนเพื่อช่วยผลักดันให้ผู้เรียนก้าวหน้า

4.4    วิเคราะห์ผลการประเมินและนำผลไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน

4.5    จัดทำหลักฐานการประเมินผล

5.       สอนซ่อมเสริมเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้  และผลการเรียนรู้

5.1    จัดกลุ่มผู้เรียนตามผลการเรียนรู้ที่ไม่ผ่าน

5.2    ใช้เทคนิคการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน

5.3    ประเมินผลและรายงานผลการสอนซ่อมเสริม

6.       วิจัยในชั้นเรียน  เพื่อปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอน

6.1    สำรวจเพื่อวินิจฉัยข้อบกพร่อง

6.2    วิเคราะห์แนวทางในการแก้ไขข้อบกพร่อง

6.3    ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับแนวทางแก้ไขข้อบกพร่อง

6.4    กำหนดรูปแบบนวัตกรรม

6.5    สร้างสื่อนวัตกรรม

6.6    ทดลองใช้  หาคุณภาพ

6.7    สรุปผลการใช้   
อ้างอิง  

กรมวิชาการ. วารสารวิชาการ  เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา  ฉบับที่ 6 วันที่ 6 มิถุนายน 2541

โรงเรียนท้องเนียนคณาภิบาล. รายงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา  เรื่อง ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนท้องเนียนคณาภิบาล  ประจำปี 2549

 กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา การจัดการความรู้ในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : อัดสำเนา 97 หน้า, 2548

 โรงเรียนท้องเนียนคณาภิบาล. รายงานพัฒนาคุณภาพการศึกษา

 เรื่อง ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนท้อง เนียนคณาภิบาล  ประจำปี 2549

 
หมายเลขบันทึก: 137774เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2007 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท