ธนวลัย 46310892


สัตว์ขาข้อที่ปล่อยพิษจากส่วนท้าย (Posterior stationed venom)
ผึ้ง (Bee)
          เป็นแมลงสังคมที่มีการแบ่งเป็นวรรณะต่าง ได้แก่ ราชินี ผึ้งตัวผู้ และผึ้งงาน ผึ้งงาน ก็คือ ผึ้งตัวเมียที่มีหน้าที่ดูแลรังและหาอาหาร ผึ้งงานจะมีอวัยวะที่เรียกว่าเหล็กไน (sting) ซึ่งดัดแปลงมาจากอวัยวะที่ใช้ในการวางไข่ (ovipositor) โดยจะต่อกับถุงพิษ (venom sac) ซึ่งอยู่ภายในช่องท้องในระหว่างที่ผึ้งต่อย กล้ามเนื้อในช่องท้องจะบีบให้พิษออกมาจากถุงพิษเข้าสู่เหล็กไน  เมื่อผึ้งต่อยมันจะปล่อยเหล็กไนรวมทั้งถุงพิษออกมา แล้วตัวมันก็ตาย พิษของผึ้งจะประกอบไปด้วยโปรตีนที่เรียกว่า melitin เป็นองค์ประกอบสำคัญ (ประมาณ 50% ของพิษ) melitin นี้มีผลทำให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และ lysosome แตก ผลตามมาก็คือมีการหลั่งของเอ็นไซม์ต่างๆ  และรวมทั้ง histamine จากเซลล์ที่มีการแตกนี้ นอกจากนี้ยังมีโปรตีนชนิดอื่นๆ เป็นองค์ประกอบอยู่ เช่น apamine ซึ่งมีพิษต่อระบบประสาท hyluronidase ซึ่งมีผลทำให้พิษแพร่กระจายได้เร็วขึ้น และ phospholipase ซึ่งเชื่อว่าเป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้  ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากผึ้งต่อยนั้น  ส่วนใหญ่ไม่ได้เสียชีวิตเพราะพิษของผึ้ง แต่เสียชีวิตจาก anaphylaxis
          การดูแลผู้ป่วยที่ถูกผึ้งต่อยนั้นเบื้องต้นจะต้องเอาเหล็กไนที่ฝังอยู่ออกก่อน โดยใช้ใบมีดขูดออก หรือใช้ scot tape ติดแล้วดึงออกต้องระวังอย่าไปกดบริเวณถุงพิษ  ซึ่งจะทำให้พิษเข้าสู่ผู้ป่วยอีก การใช้น้ำแข็งประคบ จะช่วยลดการกระจายของพิษลงได้
          ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการแทรกซ้อนจะมีอาการปวดบวมแดงบริเวณที่ถูกต่อยและจะหายไป ภายใน 2-3 ชั่วโมง ในรายที่ถูกผึ้งจำนวนมากต่อย (300-500 ตัว) อาจมีอาการอาเจียร ท้องเสีย หายใจลำบาก ความดันต่ำและระบบสูบฉีดเลือดล้มเหลว  นอกจากนี้ อาจพบภาวะ  rhabdomyolysis และ intravascular hemolysis  ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะไตวายได้
          ผู้ป่วยที่เกิดปฏิกริยาทั่วร่างกาย (systemic reaction) ต่อพิษผึ้งนั้น อาจมีอาการตั้งแต่ คัน ลมพิษ หายใจลำบากและเกิด anaphylaxisได้ อาการจะเกิดภายใน 10 นาที หลังจากถูกต่อย ผู้ป่วยที่มีประวัติของการแพ้พิษแมลงอื่นๆ มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการแพ้พิษจากผึ้งได้มาก การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ในรายที่อาการไม่รุนแรงก็ให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้ antihistamine ส่วนในรายที่เกิด anaphylaxis ก็ให้การรักษาเหมือนกับผู้ป่วยที่เกิด anaphylaxis ทั่วไป เช่นการให้ aqueous epinephrine  1:1000 ขนาด 0.01ml/kg (ไม่เกิน 0.3ml ในเด็ก) ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนัง การให้ของเหลวทางหลอดเลือด เป็นต้น หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อควรให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ควรแนะนำการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย เพื่อป้องกันการถูกผึ้งต่อย เช่น สวมเสื้อผ้าที่ปกคลุมส่วนแขนขา และไม่ฉีดน้ำหอม ในกรณีที่จะเดินทางไปในบริเวณที่มีโอกาสถูกแมลงต่อยได้และควรมีกระเป๋าเครื่องมือฉุกเฉิน (emergency kit)  ซึ่งผู้ป่วยสามารถใช้ได้ติดตัวไปด้วย เมื่อเดินทางไปในบริเวณซึ่งเสี่ยงต่อการถูกแมลงต่อยและอาจไม่มีสถานพยาบาลในบริเวณนั้น
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13776เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2006 01:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท