เก็บตกประเด็นจากที่ประชุมกลุ่มย่อย คณะทำงานพัฒนาระบบกลไกการจัดการความรู้เพื่อการปฏิรูประบบสุขภาพ (K-machanism)


หลังจากที่มีการประชุมคณะทำงานชุดใหญ่ ในช่วงเช้าวันที่ 10 ต.ค.แล้ว
ในช่วงบ่าย ได้มีการประชุมกลุ่มย่อยของแต่ละคณะทำงาน
ซึ่งคณะทำงานกลุ่ม 4 K-machanism ได้ประชุมที่ห้องประชุมย่อย ที่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
นายบอนได้เข้าฟังการประชุมด้วย เลยเก็บตกประเด็นที่น่าสนใจมาบันทึกไว้

ที่ประชุมได้กล่าวถึง  สามล้อความรู้สู่สุขภาวะ http://gotoknow.org/blog/bonlight/134681
ได้มีการอภิปรายลงในรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับบุคคลที่จะมาขับสามล้อ
ซึ่งคนที่จะมาปั่นสามล้อ จะต้อง
- จับประเด็นเก่ง
- สังเคราะห์เก่ง
- เขียนให้คนอ่านรู้เรื่อง

ซึ่งบุคคลคนนี้ จะต้องผลิตเอกสารให้ สช. ผลิตข้อมูล เจาะข้อมูล  และประสานเชื่อมโยงกับทาง สกว, สสส,

มีข้อเสนอว่า ในสามล้อความรู้นี้ น่าจะมีคน 3 ปรเะเภท ที่ช่วยกันผลักดัน ขับเคลื่อน ทั้งสามประเภท ดึงความสามารถของแต่ละคนมาใช้

ดร.ยรรยงค์ ได้ให้ข้อมูลว่า มีตัวอย่าง ทีมงาน 5 คน ของหน่วยงานสังกัดองค์การสหประชาชาติในประเทศไทย ที่อยู่ตรงกลาง เป็นคนที่เก่ง สามารถกำหนดประเด็น ซึ่ง 5 คนที่จะเข้ามาทำงานตรงนี้ อาจจะจ้างมืออาชีพมาบริหาร เมื่อต่างประเทศเสนอประเด็นเข้ามา ก็สามารถที่จะมา lobby ทั้ง 5 คนนี้ ซึ่งทั้ง 5 คน จะคอย screen ประเด็น

ซึ่งความจริงแล้ว ประเด็นที่เสนอเข้ามา หลุดไปก็เยอะ และมีประเด็นใหม่ๆเสนอเข้ามาเรื่อยๆ
คน 5 คนนี้ เป็นทั้งนักคิด + นักผลิต + นักแจก + วาง frame  + ประเด็น
หากนำมาใช้ในกลไกสามล้อ คงต้องลดระดับความสามารถที่ต้องการลงมา แล้วจะทำการพัฒนาต่อไปอย่างไร
ให้ปรับตัวเข้ากับวิธีการในแบบไทยๆ

น่าจะมาปรึกษาหารือ วางแนวทางคร่าวๆกันก่อน จะวางหลักการให้ภาคประชาชนไปกับกลไกนี้ได้อย่างไร ทำให้ชัดเจน


+ สามล้อความรู้  เป็นการทำความรู้ ต้องการหาคนมารับผิดชอบ ใครจะรับผิดชอบล้อไหน
คนของ สช.  (สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ) จะยืนอยู่ตรงไหน  ซึ่งคนๆนี้น่าจะคอยประสานให้ 3 ล้อนี้ วิ่งได้

คนๆนี้product ที่ได้ 
- น่าจะมีบทบาทประสานหน่วยความรู้หน่วยต่างๆ (เช่น หน่วยระบบข้อมูลความรู้ใน สช.)
-  ผลิตเอกสาร เช่น เอกสารการประชุม - เอกสารความรู้วิชาการ, policy brief, ข้อมูลวิชาการในประเด็นต่างๆ เผยแพร่ความรู้สู่สังคม
และน่าจะมีส่วนไปเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายภาคประชาชน
เข้าไปจัดการความรู้ ซึ่งเครือข่ายภถาคประชาชน ต้องการองค์ความรู้เพิ่ม - ประสานหาแหล่งข้อมูลความรู้ให้เขา
สอนเขาหาปลา สร้างองค์ความรู้

สำหรับเครือข่ายในพื้นที่ จะพัฒนาศักยภาพของแกนนำเครือข่ายนั้น จะทำอย่างไร
ให้ประชาชน ทำให้เป็น รู้แล้สเอาไปใช้ต่อ (ได้ชุดความรู้) ทำไปเรื่อยๆ เริ่มจาก 0-5 ปี ก็ไม่สาย

ดร.ยรรยงค์ เสนอว่า ตอนเลือกตั้ง นายก อบจ. ประกาศนโยบายหาเสียง 4-5 ข้อ  มีนโยบายที่เกี่ยวกับด้านสุขภาพบ้างไหม
บางแห่งมี บางแห่งไม่มี
บางที่ บางท้องถิ่น พยายามทดลองทำ
ปรับนโยบายท จากที่กระทรวงมหาดไทยสั่งการมาให้ healthy มากขึ้น ซึ่งตรงนี้ สมัชชาต้องการการจัดการข้อมูลข่าวสาร
สมัชชา จะเป็นกลไก เชื่อมโยง อปท. ใช้ความรู้เป็นเครื่องมือ

กรณีที่น่าสนใจ
ที่ภูเก็ต  มีการจัดทำแผนสุขภาพ เชื่อมโยงลงท้องถิ่น อปท. จับมือกับ อบจ. มีทีม สวรส นำ
ทำแผนสุขภาพการสร้างเสริมสุขภาพกายใจ
ปัญหา เขายังขาดความรู้จากฝ่ายความรู้ ถ้าสิ่งนี้ เข้าไปในแผนพัฒนาตำบล จะมีงบประมาณเข้ามาสนับสนุน จะยั่งยืนขึ้น
ท้องถิ่นอืนที่ทำไม่สำเร็จ เพราะ ขาดความรู้


ดังนั้น องค์ประกอบแห่งความสำเร็จ ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น จะต้องมีบุคคล 5 ประเภทเข้าไปร่วม
คือ
1. นักจัดการ
2. นักประสาน
3. นักความรู้
4. นักสื่อ
5.พวกปฏิบัติจริง

ในส่วนนี้ เราจะเข้าไปสนับสนุนพวกเขาอย่างไร ทั้งๆที่เค้ามีสมัชชาท้องถิ่นมาหลายปี
จะหานักความรู้ในพื้นที่ หรือ ยกระดับนักความรู้ + นักจัดการในพื้นที่ ??

ตัวอย่างที่นครปฐม  นักจัดการความรู้ มีภาระงานล้นมือ  เราต้องไปประสาน ดึงเข้ามาร่วม

สมัชชาสุขภาพที่จัดมาแล้ว 6 ปี ยังไม่เข้มแข็ง เพราะยังไม่ได้ใช้ความรู้นำ
ดังนั้น น่าจะหยิบยกประเด็นนี้ พูดในห้องประชุม 1-2 จะได้รู้ว่า ท้องถิ่นขาดอะไร

มองในภาพรวมแล้ว กลไกการจัดการความรู้ที่จะนำเสนอในที่ประชุมใหญ่
- น่าจะมีบุคคลอยู่ใน สช. มาร่วมขับเคลื่อนกลไกสามล้อความรู้..ด้วย (จากข้อเสนอเดิม ไม่มีคนใน สช)
- ตั้งคณะทำงาน มีบุคคลภายนอกมาร่วม เป็นตัวประสานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งสมัชชาเฉพาะประเด็น, สมัชชาพื้นที่, นักวิชาการ และกลไกต่างๆของ สช. ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทุกล้อ

ตัวประสานนี้ จะต้องกำหนดประเด็นอะไรบ้างที่จะมาพูดคุยในการประชุมสมัชชา เพื่อสร้างความรู้ จนได้ข้อเสนอในเชิงนโยบาย

เมื่อเกิดกลไกตรงนี้แล้ว จะผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวจริงๆได้ไหม
ทำการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ
หยิบประเด็นชูขึ้นมา
การพัฒนาศักยภาพบุคคลในแต่ละภาคส่วน ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่า เขาต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพในด้านไหน
แล้วจะมีวิธีการพัฒนาศักยภาพอย่างไร นอกจากการลงไปทำงานร่วมกับพวกเขา

-กระบวนการ KM - best, good practise เช่น  การทำ HIA
หากในพื้นที่ไม่มีนักจัดการความรู้ อาจจะใช้วิธีการมาสอบถามผู้เชี่ยวชาญ ผู้รู้ ซึ่งจะให้คำแนะนำว่า ให้ไปศึกษาดูงานจากพื้นที่ใด
แล้วตัวแทนจากพื้นที่ จึงเดินทางเข้าไปศึกษาดูงานจากพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการทำ HIA (การดู Model ที่ดี)

ถ้าไม่มี Model ที่ดี ตั้งนักวิชาการลงพื้นที่ ให้คำแนะนำ ปฏิบัติการในพื้นที่ ทั้งการทำ workshop, อบรม, แลกเปลี่ยนเรียนรู้, ศึกษาดูงาน - สรุปบทเรียน
สร้างวงจรความรู้ขึ้นมา


++ ในช่วงท้ายของการหารือ ได้กล่าวถึงการเตรียมงาน การประชุมกลุ่มย่อย ในวันที่ 1-2 พ.ย. โดยการเตรียมคณะทำงาน มอบหมายให้ใครรับผิดชอบหน้าที่ ประธาน รองประธาน เลขาของการประชุม ( ดร.ยรรยงค์)

- ห้องประชุมกลุ่มที่เตรียมไว้ รับคนได้ประมาณ 100 คน
- ประเด็นในการประชุมให้เรียงตามเอกสาร
- ช่วงการระดมความเห็น ร่างธรรมนูญ ให้พิมพ์ความเห็น ขึ้นจอ projector แก้ไขให้เห็นกันชัดๆตรงนั้นเลย
- การแสดงความคิดเห็นให้ผู้เข้าร่วมประชุม ยกป้าย  เลขาจะทำหน้าที่จัดบันทึก จัดให้พูดคนละ 3 นาที
- ก่อนการประชุม เลขาต้องบอกรายละเอียด รูปแบบให้เข้าใจ  อาทิ ให้เขียนความเห็นลงกระดาษ ความยาว ไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ หรือน้อยกว่า
- การนำเข้าสู่บทเรียน เช่น การตั้งประเด็น "ท่านเคยทำงานในพื้นที่ แล้วไม่รู้ว่าจะใช้ความรู้อะไรมาขับเคลื่อนในการทำงานบ้านหรือเปล่า
- การนำเข้าประเด็น ถ้าไม่เร้าใจ ไม่โดนใจ ย่อมไม่น่าสนใจ ไม่น่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- อาจมีการทำการตลาด มีเด็กไปเดินประกาศ ชักชวน "ใครมีประเด็นปัญหา.. เชิญเข้าห้องนี้ครับ...."
- กลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย จาก 1250 คน การนำเข้าสู่บทเรียนไม่ง่าย

ตัวอย่างการตั้งประเด็นให้โดนใจ
"ลูกของท่านมีปัญหาติดเกมบ้างมั้ย ถ้าอยากหาทางออก เรามีคำตอบ"

สรุปรูปแบบการเตรียมงาน
1. มีเอกสารนำเข้า สรุปสถานการณ์ โปรย..ทำไมต้อง  - มีความรู้เป็นตัวนำ  - ปรับใช้
2. ส่งให้ผู้เข้าร่วมประชุม
3. ก่อนประชุม อธิบายก่อนว่า ห้องนี้จะเป็นอย่างไร (สช. มีคู่มือการประชุมห้องย่อยแจกให้)
4. ต้องการคนทำอะไรบ้าง - จัดประเด็น  , สรุป พิมพ์ขึ้นจอ
- เลขา + คนจดประเด็น - ประสานกัน  ดูสถานการณ์การประชุม

ชื่อกลไกที่ที่ประชุมกลุ่มย่อยเห็นชอบ
= เครือข่ายการจัดการความรู้รู้สุขภาวะ

เมื่อการประชุม 1-2 พ.ย. เสร็จสิ้นแล้ว
ทำการสังเคราะห์และสรุประบบเพื่อเสนอ คสช.



 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 137742เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2007 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท