แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษ


แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษ

แนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษ
1. มุ่งพัฒนาตัวบุคคล คือ การดำเนินงานป้องกันปัญหายาเสพติดต้องให้ความสำคัญกับการสร้างศักยภาพ และคุณภาพชีวิตของคน เพื่อให้ความสามารถในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพภายใต้แวดล้อมทางสังคม ควรเริ่มต้นจากการเตรียมความพร้อมของพ่อแม่ก่อน คือการเลี้ยงดู การให้การศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิต นับเป็นกระบวนการที่สร้างคนให้มีคุณภาพชีวิต
2. กำหนดพื้นที่และกลุ่มประชากรเป้าหมายในการดำเนินงาน คือ การแก้ไขปัญหายาเสพติดมีทัพยากรที่จะดำเนินการค่อนข้างจำกัด ทั้งงบประมาณ และบุคลากร ดงนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการกำหนดพื้นที่เป้าหมาย และประชากรเป้าหมายที่จะเข้าดำเนินการให้ชัดเจน
3. ผสมผสานมาตรการในการดำเนินงาน คือ การผสมผสานมาตรการในการดำเนินการป้องกัน และแก้ไขปัญหาเป็นผลจากการวิเคราะห์ปัญหาในพื้นที่ และกลุ่มประชากรเป้าหมาย ค้นหาสาเหตุและผลกระทบต่าง เพื่อการกำหนดมาตราการในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในพื้นที่
4. กำหนดหน่วยงานรับผิดชอบการดำเนินงาน คือ ระดมหน่วยงานที่เกีายวข้องกับการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ทั้งภาครัฐและเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ต้องกำหนดให้แต่ละหน่วยงานมีบทบาทที่ชัดเจนตามความถนัดและให้สอดคล้องกับภาระกิจนั้นๆ  ตำรวจในพื้นที่ควรมีภาระกิจหลักในการปราบปราม และภาระกิจรองในด้านการป้องกัน สถานศึกษา นั้นๆ
5. ดำเนินงานในลักษณะองค์รวมแบบบูรณาการ คือ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดจะมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง ยั่งยืน ได้ก็ต่อเมื่อมีการดำเนินงานในลักษณะของการบูรณาการ ดังนั้นทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหรือองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน สามารถบูรณาการเนื้องานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ไปพร้อมๆกัน
6. มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน หรือกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง คือ ประชาชนทุกคนในสังคมจะได้รับผลกระทบไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ดังนั้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน หรือกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกันอัน ได้แก่ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรประชาชน นักเรียนนักศึกษา และผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกกระบวนการ วางแผนดำเนินงาน และตัดสินใจพิจารณาทางเลือกตลอดจนร่วมดำเนินงาน ปรับปรุงวิธีดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และร่วมติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
7. การสร้างเอกภาพในการดำเนินงาน คือ ในปัจจุบันมีมาตรการหลายรูปแบบ มาตราการหลัก ได้แก่ การให้การศึกษา การให้บริการสนเทศ การจัดกิจกรรมทางเลือก การใช้มาตรการแทรกแซง การใช้กลุ่มเพื่อน และยังมีอื่นๆ อีก เช่น การพัฒนาบุคลากร การวิจัยและพัฒนา การจัดระบบสารสรเทศ การติดตามและการประเมินผลการดำเนินงาน
8. การระดมทรัพยากรของหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และต้องระดมกำลังคนและงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน จึงควรสร้างความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของงานและโครงการต่างๆ
9. ให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ประสบการณ์ในด้านการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด บ่งชี้ให้เห็นว่ามีรูปแบบและวิธีการในการดำเนินงานที่หลากหลายในการจะเอาชนะยาเสพติด การออกแบบให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา สภาพทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมทางภูมศาสตร์ ของแต่ละพื้นที่ดังนั้นภูมิปัญญาชาวบ้านและของผู้ปฏิบัติงานในแต่ละชุมชน หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งได้รับการคิดค้น ทดลองใช้ ปรับปรุง พัฒนา
ซ้ำแล้วซ้ำอีกจากรากเหง้าของปัญหานั้นๆ ให้เหมาะกับการป้องกัน ดังนั้นภูมิปัญญาจึงเป็นเรื่องที่ควรมีการศึกษา เผยแพร่ และประยุกต์ใช้ต่อๆ ไป

หมายเลขบันทึก: 136849เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2007 00:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท