การออกแบบระบบฐานข้อมูลในส่วนของสามล้อความรู้สู่สุขภาวะ


ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทำงานขับเคลื่อนกลไกในการพัฒนาองค์ความรู้ที่เชื่อมโยงกับธรรมนูญสุขภาพ +  สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ + การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ซึ่งทางคณะทำงานได้ตกผลึกแนวคิด "สามล้อความรู้สู่สุขภาวะ" http://gotoknow.org/blog/bonlight/134681 ออกมา

ในส่วนของล้อที่หนึ่ง ที่จะต้องจัดทำระบบฐานข้อมูล ที่เป็นเครื่องมือนำไปใช้ในการสังเคราะห์ความรู้ และนำไปสู่ การเผยแพร่ ประสานงานกับหน่วยงาน และเครือข่ายที่มีอยู่

คณะทำงานอยากได้ฐานข้อมูลในลักษณะ
- เป็นระบบเปิด
- มีความยืดหยุ่น
- มีชีวิต

เพื่อที่จะให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เข้าถึงได้ง่าย ใช้ประโยชน์ได้
อ่านบันทึกการประชุมคระทำงานมาแล้วหลายครั้ง มีประเด็นหนึ่งที่ถูกบันทึกไว้ในทำนองที่ว่า

"อยากให้มีผลงานที่เป็นรูปธรรมมานำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป ไม่ใช่ประชุมแล้ว ได้มติ ความคิดเห็นที่เป็นนามธรรมที่หลากหลายเท่านั้น"

นายบอนหยิบดินสอมาร่างแนวทางการทำงานคร่าวๆ ที่จะให้ได้ผลงานที่เป็นรูปธรรมออกมาจริงๆเสียที

นายบอนแบ่งฐานข้อมูล มีทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์
1 แบบออนไลน์ เริ่มต้นจาก
1.1   ให้คณะทำงานจัดหาพื้นที่เก็บข้อมูลใน internet ... web server โดยการอนุมัติงบประมาณเพื่อให้ทีมงานไปเช่าพื้นที่ของบริษัทเอกชนที่ให้บริการ หรือ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงาน หรือ ผู้ดูแลระบบเครือข่ายเวบไซต์ของ nationalhealth.or.th เพิ่ม web server สำหรับโครงการฐานข้อมูลนี้ เป็น server ที่สนับสนุน PHP + MySQL หรือ Database ตัวอื่นๆ
 
1.2 ทำการติดตั้งโปรแกรมฐานข้อมูล mediawiki ทันทีที่ข้อ 1 เรียบร้อย (ภายใน 24 ชั่วโมง) จัดทำเป็นเวบไซต์คลังข้อมูล

1.3 ทำการจัดกลุ่ม รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น
- คน / เครือข่าย
 - สมัชชา
- ข้อมูลในกรอบของ ธรรมนูญสุขภาพ

ในส่วนของคน เครือข่าย โดยการรวบรวมรายชื่อเครือข่ายทั้งหมด นำมาจัดหมวดหมู่ วิเคราะห์ประเภทข้อมูล การเข้าถึง การเชื่อมโยงข้อมูล

1.4 ทำการเพิ่มข้อมูลเบื้องต้น คือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับองค์กร เครือข่าย เริ่มต้น 20 องค์กร เครือข่าย
- ข้อมูล รายละเอียดขององค์กร
- เขียนบทความที่เกี่ยวกับองค์กร เชื่อมโยงเข้ากับวัตถุประสงค์หลักของโครงการ

1.5 จัดทำคู่มือการแก้ไขข้อมูลในเวบไซต์คลังข้อมูล

1.6 ติดต่อ แจ้งไปยัง องค์กร เครือข่าย 20 องค์กรแรก ที่มีบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับองค์กร พร้อมส่งคู่มือการใช้ + แก้ไขข้อมูลไปด้วย
แจ้งให้องค์กร เข้ามาตรวจสอบ ข้อมูลที่ถูกเผยแพร่ หากไม่ถูกต้อง ให้ดำเนินการแก้ไขได้ทันที ตามความต้องการขององค์กรนั้นๆ

1.7 ดำเนินการเพิ่มข้อมูลไปเรื่อยๆ ตามที่รวบรวมไว้ในข้อ 3 และดำเนินการในข้อ 6 ไปเรื่อยๆ

1.8 ทุกครั้งที่เพิ่มข้อมูลในฐานข้อมูล ดำเนินการ Ping  search engine (แจ้งการเพิ่ม + แก้ไขข้อมูล) เพื่อบรรจุเข้าสู่ฐานข้อมูลนานาชาติในเวบไซต์ของ google, yahoo, msn, ฯลฯ เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนให้กว้างขึ้น (เพิ่มทุกวันก็ ping ทุกวัน)

1.9 การประเมิน กลั่นกรองข้อมูล โดยผู้เชี่ยวชาญ ทีมงาน โดยคัดเลือก ตรวจสอบข้อมูล บทความที่มีคุณค่า ประโยชน์ จัดหมวดหมู่ และนำเสนอในหน้าหลัก หรือนำไปเผยแพร่ในสื่อต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็นประเภท
- บทความทั่วไป (ยังไม่ได้รับการตรวจสอบข้อมูล ทุกคนเพิ่มเติมแก้ไขข้อมูลได้ ไม่ถูกนำเสนอในหน้าหลัก)
- บทความคุณภาพ (  ได้รับการตรวจสอบจากทีมงานในระดับหนึ่ง)
- บทความคัดสรร ( ได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง จากผู้เชี่ยวชาญ จะถูกนำเสนอในหน้าหลักๆ  โดดเด่น อยู่ในตำแหน่งที่ค้นพบง่าย)


2 แบบออฟไลน์
นำข้อมูลในฐานข้อมูล มาจัดทำในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์, CD , โปสเตอร์ แผ่นพับ เพื่อนำไปเผยแพร่ในประเด็นเฉพาะเรื่องในเวทีการประชุม และกิจกรรมต่างๆ

แนวทางในข้อ 1.3 - 1.9 จะเป็นในรูปแบบที่หมุนวนไปเรื่อยๆ เก็บรวบรวมข้อมูลไปเรื่อยๆ เจาะเข้าถึงความต้องการของแต่ละส่วนมากขึ้น เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ตรงกับความต้องการมากขึ้น  ลึกในรายละเอียดมากยิ่งขึ้น ตามระยะเวลาที่ผ่านไป





 

หมายเลขบันทึก: 136566เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2007 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท