วัฒนา ศรีจักร์


วิจัยสุขศึกษา
เรื่อง  การสร้างแบบฝึกเสริมสร้างทักษะพื้นฐานสุขอนามัย ผู้วิจัย         1.  ความเป็นมาและสภาพของปัญหาการที่คนเราจะมีสุขอนามัยที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับการบริโภคสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและรู้จักรักษาความสะอาดของร่างกาย การฝึกให้เป็นคนรู้จักรักษาความสะอาดต้องฝึกฝนมาตั้งแต่เยาวัย  ฝึกให้ผู้เรียนเริ่มเรียนรู้การดูแลรักษาความสะอาดของอวัยวะต่างๆของร่างกายเป็นสิ่งเริ่มแรกของการฝึกเรื่องความสะอาด และรู้จักหน้าที่ของอวัยวะต่างๆของร่างกายเพื่อจะได้ปฏิบัติเกี่ยวกับอวัยวะเหล่านั้นได้ถูกต้องให้ใช้งานได้ยาวนาน  ถูกหลักสุขอนามัยร่างกายเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ และนำมาซึ่งอารมณ์ที่แจ่มใสจิตใจที่เบิกบาน ป้องกันโรคภัยต่างๆที่จะเกิดขึ้น และเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในอนาคต  การที่คนเรามีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ เป็นพื้นฐานของบุคลิกภาพที่ดีและนำมาซึ่งวุฒิทางอารมณ์ที่ดี เราต้องให้เยาวชนฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการทรงตัวที่ถูกต้องตั้งแต่เยาว์วัยเพื่อสร้างเสริมบุคลิกภาพให้สง่างาม  ถึงแม้ว่าพันธุกรรมจะมีอิทธิพลต่อรูปร่างและบุคลิกลักษณะของคนเรา  แต่การฝึกปฏิบัติ  การออกกำลังกายและการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษะก็จะทำให้บุคลิกภาพและสมรรถภาพแตกต่างไปจากพันธุกรรมได้ด้วย  ในสถาบันครอบครัวพ่อแม่ผู้ปกครองต้องดิ้นรนขวนขวายเพื่อความอยู่รอดและสุขสบายของสมาชิกในครอบครัวย่อมไม่มีเวลาให้กับการฝึกทักษะการทำให้ร่างกายมีสมรรถภาพที่ดีให้กับบุตรหลาน   ด้วยเหตุนี้หลักสูตรการศึกษาจำเป็นต้องบรรจุสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติให้เยาวชนไทยเป็นคนที่มีสุขภาพร่างกายที่ดี                     ในปีการศึกษา 2550  ภาคเรียนที่ 1 จากการทดสอบความรู้พื้นฐานโดยใช้ข้อสอบที่ผู้รายงานจัดทำขึ้น  ทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/1   โรงเรียนจตุรภูมิพิทยาคาร อำเภออุทุมพรพิสัย   จังหวัดศรีสะเกษ   มีนักเรียนจำนวน  27   คน  มีนักเรียนที่ได้คะแนนเฉลี่ยทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเพียงร้อยละ  49.38 ซึ่งเป็นผลที่ไม่น่าพอใจ นักเรียนค่อนข้างมีปัญหาในด้านการเรียนรู้วิชาสุขศึกษา โรงเรียนขาดบุคลากรที่ให้ความสำคัญต่อวิชาการเกี่ยวกับสุขศึกษา  ซึ่งผลทีตามมาก็คือนักเรียนไม่มีสุขนิสัยที่ดี  ขาดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านการรักษาความสะอาดผู้เรียนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อวิชาสุขศึกษา  ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพร่างกาย       ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีพยายามมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหานี้ด้วยการสร้างแบบฝึกเสริมทักษะสุขศึกษา  เพื่อปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดและปฏิบัติเกี่ยวกับอวัยวะของร่างกายให้กับผู้เรียน และพัฒนาเสริมสร้างบุคลิกภาพของนักเรียนทั้งห้อง ซึ่งมีจำนวน 27  คน  เน้นให้เห็นความสำคัญของวิชานี้  และเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนเพื่อใช้เป็นหนึ่งในยุทศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2. วัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นคว้า 1.      เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะสุขศึกษา2.      เพื่อพัฒนาความสามารถในการรักษาความสะอาด3.      เพื่อใช้เป็นสื่อเผยแพร่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สุขศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/1 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.      นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1  มีสุขภาพร่างกายดีขึ้นหลังจากการใช้แบบฝึกเสริมทักษะสุขศึกษา2.      ใช้แบบฝึกเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายในการจัดกระบวนการเรียนการสอน3.      แบบฝึกเสริมทักษะได้เผยแพร่ไปยังครูผู้สอนโรงเรียนอื่น4.      นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1  มีระดับความรู้ด้านพลศึกษาเหมาะสมกับระดับชั้น            5.  นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์กับการฝึกกิจกรรมทางสุขศึกษาและสันทนาการ 3.   หลักการและแนวคิดในการพัฒนา                         3.1. ศึกษาปัญหา  เนื่องจากผู้วิจัยมีประสบการณ์ในด้านสุขศึกษาเป็นเวลานาน  ทำให้ทราบปัญหาการเรียนรู้ด้านสุขศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/1  ว่านักเรียนไม่ได้รับการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาพร่างกายอย่างต่อเนื่อง นักเรียนไม่สามารถปฏิบัติในการเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายให้ถูกต้องได้  อันเป็นปัญหาในการเรียนรู้ในการเล่นกีฬา อีกทั้งระดับผลการเรียนในวิชาสุขศึกษาค่อนข้างต่ำ  ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้3.2.  หาวิธีการแก้ปัญหา   ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและตำราต่างๆ  ทั้งเอกสารหลักสูตร เอกสารงานวิจัย  และเอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสุขศึกษา  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาการเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย  ของนักเรียนชั้น ม.1  ภายใต้กรอบของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  โดยผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารต่อไปนี้                         1 )  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  ซึ่งทำให้เข้าใจหลักการ  จุดมุ่งหมาย  โครงสร้างอัตราเวลาเรียน  ตลอดจนคำอธิบายรายวิชา                        2 )  คู่มือหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช   2544  ทำให้รู้แนวทางการนำหลักสูตรไปใช้เพื่อให้ได้ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  และเป้าหมายของหลักสูตร                        3 )  คู่มือประเมินผลการเรียน ตามหลักสูตรประถมศึกษาพุทธศักราช  2521( ฉบับปรับปรุง  .. 2533 ) ทำให้เข้าใจแนวทางการวัดผลประเมินผล ตามระเบียบกระทรวงศึกษาอธิการ  ว่าด้วยการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตร                        4 ) หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษา  ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544 ทำให้ทราบความสำคัญ   ธรรมชาติ วิสัยทัศน์  มาตรฐานการเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ในช่วงชั้นต่างๆ                          5 )  เอกสารอบรมครูผู้สอน  แนวทางการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  2544   เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้  และวิธีดำเนินการตามแผน                         6 )  เอกสารการสอนชุดวิชา  สถิติ  วิจัย  และการประเมินผลการศึกษาหน่วยที่  9 – 15 ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรสมาธิราช  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแบบทดสอบและเก็บค่าสถิติ                          7 )  คุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบ กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษา ของกองแผนงานวิชาการ  สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  ( 2538 ) เพื่อเป็นแนวทางจัดทำแบบทดสอบและเก็บค่าสถิติ                        8 ) เอกสารเสริมความรู้พัฒนาทักษะภาษา  กลุ่มสาระพลศึกษาและสุขศึกษาของหน่วยศึกษานิเทศน์  สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ( 2539 )  4.   การดำเนินการ             4.1.  กลุ่มเป้าหมายได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1    จำนวน   27 คน            4.2.  ตัวแปรที่ศึกษา                          --  ตัวแปรต้นได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกเสริมทักษะ สื่อประกอบ                        --  ตัวแปรตามได้แก่   คามสามารถในการฝึกปฏิบัติเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1  จำนวน 27 คน            4.3.  เครื่องมือที่ใช้                          4.3.1  นวัตกรรมที่ใช้ในการฝึก                           -  แผนการจัดการเรียนรู้                           -  แบบฝึกเสริมทักษะ  จำนวน 25 ชุด                        -  สื่อประกอบการฝึก                        4.3.2  แบบทดสอบวัดความสามารถเกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย ก่อนและหลังการใช้แบบฝึก            4.4.  วิธีสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ                        4.4.1    สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน  หลังการใช้แบบฝึกเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้                        4.4.2   สร้างแบบทดสอบวัดความสามารถเกี่ยวกับการเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย  ใช้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเดียว            4.5  วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล                          4.5.1   วิเคราะห์คะแนน  ความสามารถในการเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ( X )   ค่าเบี่ยงเบน  (  S.D ) และค่าร้อยละ                        4.5.2   เปรียบเทียบคะแนนความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการฝึก
คำสำคัญ (Tags): #หมวดพลนามัย
หมายเลขบันทึก: 135877เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2007 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านคุณแล้วดีมาก อยากได้ตัวอย่างแบบฝึกเสริมทักษะค่ะ

น่าจะมีความรู้สำหรับเด็กประถมบ้างนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท