อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ทำให้คนทั่วโลกสามารถติดต่อถึงกันได้แบบปฏิสัมพันธ์
กล่าวคือ ผู้รับและผู้ส่ง
ข้อมูลสามารถสื่อสารและโต้ตอบข้อความกันได้ทันที ในรูปแบบมัลติมีเดีย
อีกทั้งยังลดข้อจำกัดเรื่อง
ระยะเวลาและสถานที่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการทำธุรกิจ
ผู้ซื้อและผู้ขายได้รับความ สะดวก ในการ
ซื้อขายและการโฆษณาสินค้าหรือบริการ
อินเทอร์เน็ตทำให้การประกอบธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือ
“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์”
มีประสิทธิภาพและได้รับความนิยมในปัจจุบันมากขึ้น
อย่างไรก็ดี การใช้อินเทอร์เน็ตอาจจะถูกนำไปใช้ในแง่ลบเพื่อหลอกลวงบุคคล เช่นเดียวกันกับการ ซื้อขายตามปกติ เนื่องด้วยผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตในการทำธุรกรรม อาจไม่ทราบตัวบุคคลของผู้ที่ติดต่อว่า เป็นบุคคลใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไม่เคยพบเห็นกันมาก่อน
รูปแบบของการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต
1. การประมูลสินค้าทางอินเทอร์เน็ตโดยหลอกลวง
(Internet Auction Fraud)
การโฆษณาขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ตด้วยวิธีการประมูลสินค้า
ผู้ซื้อที่สนใจจะเข้าร่วมการประมูลมัก
ต้องลงทะเบียนเป็นสมาชิกของเว็บไซต์นั้นๆ
ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หลังจากนั้นจะได้รับ
หมายเลขสมาชิกและรหัสผ่าน (password)
ผู้ซื้อจะต้องเสนอราคาซื้อแข่งขันกับผู้ซื้อรายอื่น เมื่อเสร็จสิ้นการ
ประมูลถือว่ามีการทำสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ประมูลและผู้เสนอขาย
โดยจะมีการส่งข้อความทางอีเมล์ (e-mail)
แจ้งให้ผู้ซื้อและผู้ขายทราบผลการประมูล
และแจ้งรายละเอียดที่จะติดต่อกันได้ เพื่อให้ทั้งฝ่ายผู้ซื้อและ
ผู้ขายติดต่อกันในเรื่องการชำระเงินและการส่งมอบสินค้า
ลักษณะการหลอกลวง:
การประมูลสินค้าทางอินเทอร์เน็ต
เป็นวิธีการซื้อขายสินค้าที่ได้รับความนิยม และเป็นช่องทางการ
ติดต่อซื้อขายสินค้าที่สะดวกรวดเร็ว
ในรายงานสำรวจที่กล่าวมาแล้วของบางประเทศพบว่า เป็นวิธีการ
หลอกลวงที่พบมากที่สุดเช่นกัน การหลอกลวงมีหลายรูปแบบ เช่น
ผู้ขายไม่ส่งมอบสินค้าที่ผู้ซื้อประมูลได้ เพราะไม่มีสินค้าอยู่จริง,
การหลอกลวงโดยการปั่นราคาซื้อขาย
ผู้ขายหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ขายจะ
เข้าเสนอราคาเพื่อประมูลสินค้าของตน เพื่อให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น
ทำให้ผู้ซื้อต้องซื้อสินค้าในราคาที่สูงเกินจริง เป็นต้น
ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้:
ผู้ซื้อได้ชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายแล้ว แต่ยังไม่ได้รับสินค้า
หรือได้รับสินค้าที่ชำรุดเสียหาย หรือเป็นสินค้า
ที่มีลักษณะไม่ตรงกับที่มีการเสนอขายแต่แรก
ด้านผู้ให้บริการประมูลทางอินเทอร์เน็ตเองก็อาจได้รับความ เสียหาย
เพราะผู้ใช้บริการ (ผู้ซื้อและผู้ขาย)
ไม่ให้ความไว้วางใจและไม่ใช้บริการ
วิธีการป้องกัน:
ผู้ซื้อควรตรวจสอบว่าเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการด้านการประมูลทางอินเทอร์เน็ต
(คนกลาง) มีวิธีการระบุตัวบุคคลที่เป็นผู้ขาย (หรือผู้ซื้อ)
ดีพอหรือไม่ กล่าวคือมีการเก็บประวัติ รายละเอียดของผู้ขาย
ที่สามารถติดต่อได้
หรือพิจารณาว่าผู้ให้บริการด้านการประมูลทางอินเทอร์เน็ต (คนกลาง)
มีนโยบายการ ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือไม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสินค้าที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง
2. การให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยหลอกลวง (Internet
Service Provider Scams)
ผู้หลอกลวงจะส่งเช็คจำนวนหนึ่ง
(เช่นราว 3.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ให้แก่ผู้ใช้บริการ
เมื่อมีการเบิกเงินตาม
เช็คแล้วก็ถือว่าผู้บริโภคตกลงที่จะใช้บริการของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
(Internet Service Provider - ISP) ที่ได้รับแจ้ง
ในการนี้อาจจะไม่มีการแจ้งค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ
และมักเป็นการทำสัญญาให้ บริการอินเทอร์เน็ตที่มีระยะเวลานาน
ผู้หลอกลวงจงใจให้ผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการเกิดความสับสน
และเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการบริการนั้น
กล่าวคือเมื่อผู้บริโภคเข้าทำสัญญา ดังกล่าวแล้วจะถือว่า
ยินยอมตามเงื่อนไขทุกประการที่ระบุไว้
การหลอกลวงดังกล่าวนี้มักพบในประเทศที่มีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
หลายราย และมีบริการที่หลากหลาย
ลักษณะการหลอกลวง:
ผู้บริโภคถูกเรียกเก็บเงินค่าบริการต่างๆ จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
นอกจากนี้ ยังอาจจะมีคำขู่ ที่กล่าวว่าถ้าหากผู้ใช้บริการ
ต้องการเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดสัญญา
จะถูกปรับเป็นจำนวนเงินที่สูง
ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้:
ผู้บริโภคถูกเรียกเก็บเงินค่าบริการต่างๆ จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
นอกจากนี้ ยังอาจจะมีคำขู่ที่กล่าวว่า
ถ้าหากผู้ใช้บริการต้องการเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดสัญญา
จะถูกปรับเป็นจำนวนเงินที่สูง
วิธีการป้องกัน:
เมื่อผู้บริโภคได้รับเช็คโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนแล้ว
ไม่ควรทำข้อตกลงใดๆ กับบุคคลอื่น แต่ควรศึกษา
รายละเอียดของเอกสารหรือข้อตกลงที่ส่งมาโดยถี่ถ้วน
ตรวจสอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะถูกเรียกเก็บให้ครบถ้วน
และควรติดต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยตรง
3. การใช้บัตรเครดิตโดยไม่ได้รับอนุญาต
(Credit Card Fraud)
การชำระค่าสินค้า
ค่าบริการทางอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมที่สุดวิธีหนึ่งคือ
การชำระเงินด้วยบัตร เครดิต
เนื่องจากมีความสะดวกแก่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
ผู้ซื้อสามารถชำระเงินโดยการให้ข้อมูลบัตรเครดิตคือ หมายเลขบัตรเครดิต
ชื่อ-สกุลของ ผู้ถือบัตร และวันหมดอายุแก่ร้านค้า
ร้านค้าสามารถตรวจสอบได้เพียงว่า
บัตรดังกล่าวเป็นบัตรที่ออกโดยผู้ออกบัตรจริง
แต่ไม่สามารถตรวจสอบตัวบุคคลผู้ใช้บัตรได้ว่าเป็นบุคคลใด
ลักษณะการหลอกลวง:
วิธีการหลอกลวงเกี่ยวกับการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตทางอินเทอร์เน็ตมีหลายวิธี
ตัวอย่างเช่น การให้บริการดูภาพลามกอนาจารโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (ตามกฎหมาย สหรัฐอเมริกา)
แต่ผู้บริโภคต้องแจ้งข้อมูลบัตรเครดิตให้ผู้ให้บริการทราบ
เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
แล้วผู้หลอกลวงจะใช้ข้อมูลนี้ไปกระทำผิดในที่อื่น
ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้:
ผู้ถือบัตรที่เป็นผู้บริโภคถูกเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือบริการจากบริษัทหรือธนาคารผู้ออกบัตร
ทั้งที่ผู้ ถือบัตรไม่ได้ใช้บัตรเครดิตชำระรายการนั้นๆ เลย
ซึ่งกฎหมายบางประเทศจะให้ความคุ้มครองผู้ถือบัตร ในกรณีนี้
หรือผู้ถือบัตรรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในข้อตกลงระหว่างผู้ออกบัตรและผู้ถือบัตร
วิธีการป้องกัน:
ผู้ถือบัตรเครดิตไม่ควรแจ้งข้อมูลบัตรเครดิตให้บุคคลอื่นทราบ
แต่หากต้องมีการชำระเงินด้วยบัตร เครดิต ทางอินเทอร์เน็ต
ก็ควรเลือกร้านค้าที่มีความน่าเชื่อถือ
หรือมีหลักแหล่งที่แน่นอนสามารถติดต่อได้
หรือผู้บริโภคอาจเลือกใช้บัตรที่มีวิธีการตรวจสอบตัวบุคคลผู้ใช้บัตรว่าเป็นผู้ถือบัตร
เช่น การใช้รหัสประจำ ตัว (PIN) หรือรหัสใดๆ ที่ไม่ปรากฎอยู่บนบัตร
แต่ถือ เป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ถือบัตรที่ไม่เปิดเผย ให้บุคคลอื่นทราบ
นอกจากนี้
ผู้ถือบัตรควรตรวจดูข้อตกลงที่ทำไว้กับผู้ออกบัตรด้วยว่ามีเงื่อนไข
ความรับผิดชอบอย่างไร
4. การเข้าควบคุมการใช้โมเดมของบุคคลอื่น
(International Modem Dialing/ Modem Hijacking)
ลักษณะการหลอกลวง:
การโฆษณาการให้บริการสื่อลามกอนาจารโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
ผู้ใช้บริการจะต้องติดตั้งโปรแกรม
คอมพิวเตอร์เพื่อดูภาพดังกล่าวหรือเรียกว่า ‘viewer’ หรือ ‘dialer’
ของผู้ให้บริการ เมื่อผู้ใช้บริการเปิดดูภาพ ด้วยโปรแกรมข้างต้นแล้ว
การทำงานของโปรแกรมดังกล่าวจะเริ่มเมื่อมีการใช้เครื่องโมเดม (modem)
ในขณะเดียวกันโปรแกรมฯ จะควบคุมการทำงานของโมเดม
และสั่งให้หยุดการทำงานโดยที่ผู้ใช้บริการไม่รู้ ตัว
แล้วจะสั่งให้มีการต่อเชื่อมผ่านโมเดมอีกครั้งหนึ่ง
โดยเป็นการใช้โทรศัพท์ ทางไกลจากที่ใดที่หนึ่ง
แล้วมีการใช้อินเทอร์เน็ตอีกครั้งจากที่นั้น
เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถดูเว็บไซต์
ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้:
ผู้ใช้บริการจะถูกเรียกเก็บเงินค่าโทรศัพท์ทางไกลจำนวนมาก
ทั้งที่ผู้ใช้บริการอาจไม่รับรู้ ซึ่งเป็นเพราะ
มีบุคคลอื่นลักลอบใช้โทรศัพท์โดยอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าว
วิธีการป้องกัน:
ผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงไม่ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์
สำหรับการให้บริการใดๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูเว็บไซต์ที่มีข้อมูลภาพลามกอนาจาร
และควรตรวจสอบเงื่อนไข และค่าใช้จ่ายต่างๆ ถ้าพบสิ่งผิดปกติ
ต้องแจ้งระงับการใช้งานกับผู้ให้บริการทันที นอกจากนั้น
ผู้ใช้บริการควรตรวจสอบใบแจ้งหนี้ค่าบริการโทรศัพท์อย่างสม่ำเสมอ
5. การหลอกลวงให้ใช้บริการเกี่ยวกับเว็บไซต์
(Web Cramming)
ลักษณะการหลอกลวง:
การหลอกลวงว่ามีการให้บริการเปิดเว็บเพจ (web page)
โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เช่นการเปิดเว็บเพจ เป็นเวลา 30 วัน
และไม่มีข้อผูกพันใดๆ ถ้าไม่ใช้บริการต่อไป
ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้:
เมื่อมีการตกลงใช้บริการดังกล่าวแล้ว
ผู้ใช้บริการจะถูกเรียกเก็บเงินค่าใช้บริการโทรศัพท์ หรือค่าใช้
บริการในการมี เว็บเพจ (ค่าธรรมเนียมการใช้พื้นที่) เป็นจำนวนมาก
ทั้งๆ ที่ตนไม่เคยใช้บริการ หรือไม่ได้สมัคร แต่อย่างใด
ผู้ใช้บริการยังไม่
สามารถแจ้งให้ผู้ให้บริการยกเลิกได้ทันทีอีกด้วย
วิธีการป้องกัน:
ผู้บริโภคควรตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้บริการ
และเลือกใช้บริการที่มีความน่าเชื่อถือเท่านั้น (กรณีนี้มักพบใน
ประเทศที่มีผู้ให้บริการโทรศัพท์จำนวนมากเช่นในประเทศสหรัฐอเมริกา
เป็นต้น)
———————————————-โปรดติดตามตอนต่อไป——————————————