เพ็ญศรี


ปุ๋ยหมักชีวภาพ
บ้านหัวฝาย;การทำปุ๋ยหมักชีวภาพและปุ๋ยน้ำชีวภาพ17 หมู่ 4  ชุมชนบ้านหัวฝาย ต. นาครัว อ. แม่ทะ จ. ลำปาง ประวัติการรวกลุ่มทำปุ๋ยหมัก         จากการที่ทางสำนักงานเกษตรอำเภอได้มาให้ความรู้ในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพและการทำการเกษตรแบบผสมผสานทำให้ชาวบ้านได้รวมกลุ่มกันทำปุ๋ยหมักขึ้นใช้เองและหลังจากได้รวบรวมข้อมูลครัวเรือนในการทำแผนแม่บทชุมชนของบ้านหัวฝายจึงได้ทราบถึงค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยเคมีว่ามีจำนวนมากและทราบถึงผลกระทบจาการใช้ปุ๋ยเคมีเช่นทำให้ดินเสีย และเป็นอันตรายต่อร่างกายจึงทำให้ชาวบ้านได้รวมกลุ่มจัดทำปุ๋ยหมักชีวภาพและปุ๋ยน้ำชีวภาพขึ้นใช้เองเพื่อเป็นการลดรายจ่ายของแต่ละครอบครัวและไม่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและยังสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อีก           รายชื่อคณะกรรมการ

1.  นายยัง              วงศ์ฟู                          ประธาน

2.   นายอินปัน       สายสุวรรณ                รองประธาน

3.   นายผาย            กิ่งคำ                          รองประธาน

4.  นางจันทร์ทนา  วงศ์จักร                      เลขานุการ

5.  นางสุนีย์            เถาเปียง                      เหรัญิก6.  นางเรืองศรี       วงศ์เรือน                     กรรมการ7.  นางบัวพิศ          เครือดวงคำ                กรรมการ8.  นายสุพล            บุญภา                        กรรมการ 9.  นายศรีรัตน์         ใจดี                           ผู้ทรงคุณวุฒิ         วิสาหกิจชุมชน  เป็นการประกอบการโดยคนในชุมชนเพื่อการจัดการ ทุน ของชุมชนอย่างสร้างสรรค์ เพื่อตอบสนองการพึ่งตนเองและความพอเพียงของครอบครัวของชุมชนมีทั้งทุนที่เป็นเงินและทุนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ ทุนความรู้ ภูมิปัญญา ทุนทางสังคม ดังเช่นการทำปุ๋ยหมักชีวภาพและการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพของกลุ่มชุมชนบ้านหัวฝายซึ่งแต่เดิมชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ปลูกพืชผักสวนครัวแต่ละครอบครัวมุ่งเน้นให้ได้ผลผลิตมาก ๆ จึงนิยมใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีมาช่วยในในการเกษตรเพราะเข้าใจว่าจะเป็นการช่วยเพิ่มผลผลิตแต่ไม่ได้คำนึงถึงผลเสียที่ตามมาทำให้เป็นการเพิ่มภาระหนี้สินเพราะต้องไปกู้เงินจากที่ต่าง ๆ มาลงทุน เช่นกู้เงินมาซื้อรถไถนา ซื้อปุ๋ย ซื้อยาฆ่าแมลง ยาคุมหญ้า นอกจากจะเป็นการเพิ่มหนี้สินแล้วยังเป็นผลเสียต่อสุขภาพเป็นโรคร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตอีกด้วยเพราะคลุกคลีกับสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงจากการที่ได้ทำการวางแผนแม่บทชุมชน  ทำบัญชีครัวเรือนแล้วนั้นทำให้ได้รู้ถึงปัญหาและได้มีเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอมาให้ความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยหมักชีวภาพและปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ทำขึ้นเองจากวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติจึงทำให้ชาวบ้านมองเห็นประโยชน์ของปุ๋ยที่หมักเองและไม่มีอันตรายจึงได้รวมกลุ่มกันทำปุ๋ยขึ้นใช้เองและได้ให้นายยัง  วงศ์ฟู เป็นประธานกกลุ่มและได้ไปอบรมดูงานจากที่ต่าง ๆมาทดลองทำขึ้นใช้เอง นำมาใช้กับพืชผักสวนครัวผลผลิตที่ออกมาเป็นเป็นที่น่าพอใจและยังปลอดสารพิษและยังเป็นการลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีอีกเป็นจำนวนมาก       การทำปุ๋ยหมักชีวภาพและปุ๋ยน้ำชีวภาพได้รวมกลุ่มกันทำของชาวบ้านที่เป็นสมาชิกมีสมาชิกประมาณ 35 คน สถานที่ใช้ทำอยู่ที่บ้านนายยัง  วงศ์ฟู เลขที่ 17 หมู่ที่4 ต.นาครัว อ.แม่ทะ จ.ลำปางและยังใช้เป็นศูนย์เรียนรู้ของชาวบ้านด้วย       องค์วามรู้ด้านสาระคุณค่า1.  เพื่อลดการพึ่งพาตลาดภายนอกซึ่งแพงกว่าและอาจไม่ปลอดภัยเท่ากับที่ชุมชนผลิตเอง2.  เพื่อเป็นการพึ่งตนเองของชุมชนและครอบครัวโดยมุ่งประโยชน์แก่ชุมชน มุ่งการอยู่       รวมกันอย่างสงบและมีสุขภาพอนามัยที่ดี3.  สามารถนำวัตถุดิบ ทรัพยากรหรือภูมิปัญญาของชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทดแทนการซื้อจากตลาดให้มากที่สุด4.  ได้ใช้ปุ๋ยที่มีคุณภาพและไม่มีสารพิษ ,ไม่ทำลายในการทำปุ๋ยหมักสิ่งแวดล้อม        

การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากรำข้าวและมูลสัตว์

1.รำละเอียด 60 กิโลกรัม2. มูลสัตว์ 40 กิโลกรัม3. เชื้อ พด.-1 1 ซองขั้นตอนการทำ1. นำรำละเอียดและมูลไก่ไข่มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน2. เตรียมเชื้อจุลินทรีย์ โดยนำเชื้อ พด.-1 เทใส่ในน้ำ 20 ลิตร ใช้ไม้คนอย่างสม่ำเสมอ เป็นเวลา 15-20 นาที3. เทเชื้อ พด.-1 ที่เตรียมไว้ลงไปที่กองรำและมูลไก่ไข่ที่ผสมกันไว้แล้ว พร้อมทั้งพรมน้ำเพื่อให้ความชื้นกองปุ๋ย ใช้พลั่วคลุกเคล้ากองปุ๋ยจนวัสดุต่างๆผสมกันดี และมีความชื้นประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์4. ทดสอบความชื้นในกอง โดยใช้มือกำวัสดุ แล้วคลายมือออก ก้อนวัสดุก็ยังไม่แตก จากนั้นใช้กระสอบป่านคลุมกองไว้5. การดูแลกองปุ๋ย ให้กลับกองปุ๋ยทุกวัน เป็นเวลา 7 วัน โดยทุกครั้งที่กลับกองแล้ว ให้คลุมกองปุ๋ยด้วยกระสอบป่านไว้อย่างเดิม (ในระหว่าง 7 วัน จะสังเกตเห็นเชื้อราสีขาวขึ้นที่ส่วนผิวนอกกองปุ๋ยก่อน แล้วค่อยๆลุกลามเข้ามาในกองปุ๋ย) เมื่อครบ 7 วันแล้ว ให้แผ่กองปุ๋ยออก ผึ่งในร่มจนแห้ง

6.หลังจากผึ่งในร่มจนแห้งแล้ว ควรเก็บใส่ถุงกระดาษหรือกระสอบที่มีการระบายอากาศได้ เพื่อให้เก็บไว้ใช้นานๆ ควรเก็บในที่ร่ม ไม่ตากแดดตากฝนและมีการถ่ายเทอากาศดี

การใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ1. เตรียมปุ๋ยน้ำ โดยใช้ปุ๋ยแห้ง 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ใส่ลงไปในถังหรือโอ่ง แล้วปั๊มอากาศเข้าไป หรือใช้ไม้คนบ่อยๆอย่างน้อยวันละ 3-4 ครั้ง เป็นเวลา 5-7 วัน จะได้ปุ๋ยน้ำที่เข้มข้น ดังนั้น ก่อนนำไปใช้จะต้องผสมน้ำ 20-40 เท่า (ปุ๋ยแห้ง 1 กก. จะทำเป็นปุ๋ยน้ำได้ 400-800 ลิตร)2. ปุ๋ยน้ำใช้กับต้นพืชได้ 3 วิธีคือ2.1 รดที่โคนหรือปล่อยตามร่อง โดยใช้ทุกๆ 3 วัน สำหรับผักอายุสั้น เช่นผักบุ้ง ใช้ทุกๆ 7 วัน หรือสำหรับผักทั่วไป ใช้เดือนละ 1 ครั้งสำหรับไม้ผล2.2ใช้อัดลงดินโดยใช้หัวอัดต่อกับรถไถเดินตามวิธีนี้จะช่วยนำปุ๋ยน้ำไปสู่บริเวณรากพืชและแรงอัดจะช่วยทำให้ดินโปร่งขึ้น ถ้าใช้วิธีอัดลงดินจะทำทุกๆ 15-20 วัน2.3ใช้ฉีดพ่นใบ โดยอาจผสมกับยาสมุนไพรฉีดไปพร้อมกันเลยก็ได้ การถ่ายทอดเผยแพร่และการจัดเก็บความรู้         1.  ประธานกลุ่มคือนายยังวงศ์ฟูจะเป็นผู้นำในการทดลอง และสาธิต         2.  ในบางครั้งจะมีนักเรียนโรงเรียนใกล้เคียงมาดูขั้นตอนการทำปุ๋ย         3.  มีการถ่ายทอดความรู้ในการทำปุ๋ยในระบบเครือญาติก่อนและในชุมชน         4.  มีการอบรมให้ความรู้แก่ชุมชนใกล้เคียง (ผู้ที่สนใจ)ลักษณะของความรู้ 1.      เป็นความรู้ทางทฤษฏีเช่น การจัดให้มีการอบรม2.      เป็นความรู้ในทางปฏิบัติเช่นมีการทำร่วมกันและสามารถนำไปทำเองการพัฒนาสร้างสรรค์ความรู้เพิ่ม1.      หาความรู้ใหม่เพิ่มเช่นการไปศึกษาดูงานจากที่อื่น2.      จัดเก็บข้อมูลใหม่และเทคนิคมาปรับปรุงให้ดีขึ้น3.      ให้สมาชิกในกลุ่มได้แสดงความคิดเห็น4.      ขอคำแนะนำจากองค์กรต่าง ๆเช่น เกษตรอำเภอ ผลการดำเนินการ  1.      ผลผลิตที่ออกมามีคุณภาพและปลอดสารพิษ2.      ทำให้สมาชิกเกิดความสามัคคีกัน3.      สมาชิกมีความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมักสามารถนำมาทำใช้เองได้4.      เป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมีปัญหาและอุปสรรคจากการรวมกลุ่มทำปุ๋ยหมักขั้นตอนการทำและวิธีการหมักไม่ค่อยมีปัญหาเพราะวัสดุที่ใช้มีในชุมชนและหาได้ง่ายโดยการนำมารวมกันแต่วิธีการนำปุ๋ยหมักไปใช้มีปัญหาอยู่บ้างคือถ้าผสมมากเกินไปจะทำให้ต้นไม้และพืชผักตายได้เพราะถ้าใส่มากดินจะเค็มสรุป     ต้นทุนการผลิตพืชผลทางการเกษตรส่วนหนึ่งมาจากการจัดหาปุ๋ยซึ่งถ้าขาดปุ๋ยจะทำให้ผลผลิตออกมาไม่ได้ผลเต็มที่และนับวันราคาปุ๋ยในท้องตลาดยิ่งสูงขึ้นการทำปุ๋ยหมักจึงเป็นการแสวงหาความรู้และมีความสามัคคีร่วมมือกันรู้จักการนำส่วนที่เหลือจากไร่นา มูลสัตว์ ผลไม้กลับมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตในการเกษตรและยังเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติได้อีกด้วย                             

      

 
      

          

                                             
หมายเลขบันทึก: 135580เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2007 18:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากรู้ว่ามหาวิทยาลัยชีวิต จ.ลำปางมี่กี่แห่งและเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท