ผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบที่ 9 ตัวบ่งชี้ที่ 9.2 : คณะสหเวชฯ มน.


ตัวบ่งชี้ที่ 9.2 มีระบบและกลไกการให้ความรู้และทักษะด้านการประกันคุณภาพแก่นักศึกษา

เกณฑ์มาตรฐาน :  ระดับ

  1. มีระบบการให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา
  2. มีระบบส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้ด้านการประกันคุณภาพไปใช้กับกิจกรรมนักศึกษา
  3. มีกลไกให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย
  4. นักศึกษามีการใช้กระบวนการคุณภาพ ในการพัฒนาคุณภาพของกิจกรรมหรือโครงการนักศึกษา
  5. นักศึกษาสร้างเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพภายในสถาบันระหว่างสถาบัน
  6. มีระบบติดตามประเมินผลการประกันคุณภาพในกิจกรรมที่นักศึกษาดำเนินการ และในส่วนที่นักศึกษามีส่วนร่วมกับการประกันคุณภาพของสถาบัน
  7. มีการนำผลการประเมินไปพัฒนากระบวนการให้ความรู้และกลไกการดำเนินงานประกันคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง

เกณฑ์การประเมิน :

คะแนน 1 

คะแนน 2 

คะแนน 3 

มีการดำเนินการไม่ครบ 5 ข้อแรก  มีการดำเนินการ 5-6 ข้อ มีการดำเนินการครบทุกข้อ 

การประเมินตนเอง (SAR)

ผู้กำกับดูแลดัชนี:  รองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ เบอร์โทรภายใน: 6230  E-mail :  [email protected]
ผู้เก็บรวมรวบข้อมูล: มณีรัตน์
ชาติรังสรรค์
เบอร์โทรภายใน :  6235  E-mail :  

[email protected]

ค่าเป้าหมาย  :ระดับ 7 

ผลการดำเนินงาน

  1. คณะมีระบบการให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา อาทิเช่น การจัดให้มีการเรียนการสอนในหัวข้อ 5 ส. สำหรับนิสิตภาควิชาต่างๆ (หลักฐาน1:ประมวลรายวิชาการประกันคุณภาพของภาพเอกซเรย์) 
  2. คณะมีระบบการส่งเสริมให้นักศึกษา นำความรู้ด้านการประกันคุณภาพไปใช้ในกิจกรรมของนักศึกษา โดยสโมสรนิสิตสามารถเขียนโครงการที่เกี่ยวข้องกับการนำความรู้ด้านการประกันคุณภาพมาประยุกต์ใช้ และสามารถเสนอขออนุมัติกิจกรรมดังกล่าวภายใต้การกำกับดูแลของรองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตได้     (หลักฐาน 2 : โครงการพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นผู้นำ ปีการศึกษา 2549) 
  3. คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะคณะกรรมการกิจการนิสิต และสโมสรนิสิต จะเป็นกลไกที่ช่วยทำให้นิสิตสามารถมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะและมหาวิทยาลัยได้ อาทิเช่น ในปีที่ผ่านมา คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะได้จัดกิจกรรม 5 ส. และประชาสัมพันธ์ไปยังนิสิตทุกชั้นปี ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมนี้  นอกจากนี้ยังมีโครงการ โครงการห้องปฏิบัติการเข้าสู่มาตรฐานเทคนิคการแพทย์ ที่นิสิตเข้ามามีส่วนร่วมด้วยเช่นเดียวกัน(หลักฐาน 3: โครงการ 5 ส. อย่างยั่งยืน)
  4. ในปีการศึกษา 2549 นี้ นิสิตได้มีการใช้กระบวนการคุณภาพในการพัฒนากิจกรรมหรือโครงการของนิสิต อาทิเช่น โครงการสมองประกายรังสี ของภาควิชารังเทคนิค ซึ่งนิสิตใช้กระบวนการประกันคุณภาพโดยอาศัยการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการดำเนินโครงการ และโครงการพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นผู้นำ ปีการศึกษา 2549 ซึ่งเป็นการสัมมนาเพ่อพัฒนาศักยภาพผู้นำด้านกิจการนิสิตและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) การดำเนินงานของสโมสรนิสิตคณะสหเวชศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2549 แก่สโมสรนิสิตคณะสหเวชศาสตร์ ปีการศึกษา 2550 เพื่อนำ Best practice และข้อเสนอแนะที่ควรปรับปรุง มาดำเนินการของสโมสรนิสิตคณะสหเวชศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2550(หลักฐาน 9 : สรุปโครงการสมองประกายรังสี)  (หลักฐาน10 : สรุปโครงการพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นผู้นำ ปีการศึกษา 2549) 

    ผลการประเมินตนเอง (อิงเกณฑ์ สกอ.) 

 ผลการประเมินตนเองปีที่แล้ว : - ผลการประเมินตนเองครั้งนี้ :  3   เป้าหมายปีต่อไป :  3

TOWS Analysis : ภาวะคุกคาม  -
  โอกาส • มหาวิทยาลัยส่งเสริมกิจกรรมด้านการประกันคุณภาพการศึกษาและการจัดการความรู้
  จุดอ่อน -
  จุดแข็ง -

โครงการหรือกิจกรรมในปีต่อไป :

ส่งเสริมให้นิสิตทำกิจกรรมต่างๆ โดยนำความรู้และทักษะด้านการประกันคุณภาพไปประยุกต์ใช้

 


ผลการประเมินตรวจสอบ  (กรุณาบันทึกในความคิดเห็นโดย copy ข้อความข้างใต้ไปวาง)

การบรรลุเป้าหมาย 

ค่าเป้าหมาย  ระดับ 7   
การบรรลุเป้าหมาย  บรรลุ:  ไม่บรรลุ:                   

 ผลการประเมินตรวจสอบปีที่แล้ว : - ผลการประเมินตรวจสอบครั้งนี้ : ?   เป้าหมายปีต่อไป : ?

ข้อสังเกต/เสนอแนะ :  (กรุณาบันทึกในความคิดเห็น)

-

หมายเลขบันทึก: 135145เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2007 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท