ผลการดำเนินงานตามองค์ประกอบที่ 7 ตัวบ่งชี้ที่ 7.4 : คณะสหเวชฯ มน.


ตัวบ่งชี้ที่ 7.4 มีระบบและกลไกในการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อพัฒนาและธำรงรักษาไว้ให้บุคลากรมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

เกณฑ์มาตรฐาน : ระดับ

  1. มีการจัดทำแผนการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เป็นรูปธรรม ภายใต้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์
  2. มีระบบและกลไกในการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เป็นการส่งเสริมสมรรถนะในการปฏิบัติงาน เช่น การสรรหา การจัดวางคนลงตำแหน่ง การกำหนดเส้นทางเดินของตำแหน่ง การสนับสนุนเข้าร่วมประชุม ฝึกอบรมและหรือเสนอผลงานทางวิชาการ การประเมินผลการปฏิบัติงาน มาตรการสร้างขวัญกำลังใจ มาตรการลงโทษ รวมทั้งการพัฒนา และรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพ
  3. มีระบบสวัสดิการและเสริมสร้างสุขภาพที่ดี และสร้างบรรยากาศที่ดีให้บุคลากรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและอยู่อย่างมีความสุข
  4. มีระบบส่งเสริมสนับสนุนบุคลากรที่มีศักยภาพสูงให้มีโอกาสประสบความสำเร็จและก้าวหน้าในอาชีพอย่างรวดเร็วตามสายงาน
  5. มีการประเมินความพึงพอใจของบุคลากรทุกระดับอย่างเป็นระบบ
  6. มีการนำผลการประเมินความพึงพอใจเสนอผู้บริหารระดับสูง และมีแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้ดีขึ้น

 

เกณฑ์การประเมิน  :

คะแนน 1 

คะแนน 2 

คะแนน 3 

มีการดำเนินการไม่ครบ 3 ข้อแรก  มีการดำเนินการ 3-4 ข้อแรก  มีการดำเนินการอย่างน้อย 5 ข้อแรก 

การประเมินตนเอง (SAR)

ผู้กำกับดูแลดัชนี:  คณบดี เบอร์โทรภายใน: 6257  E-mail :  [email protected] 
  รองคณบดีฝ่ายบริหาร   6223   [email protected]
ผู้เก็บรวมรวบข้อมูล: นิตยา  รอดเครือวัลย์ เบอร์โทรภายใน :  6233  E-mail :  

[email protected]

 
ค่าเป้าหมาย

: ระดับ 6

ผลการดำเนินงาน

  1. คณะสหเวชศาสตร์มีนโยบาย และแผนบริหารทรัพยากรบุคคลที่เป็นลายลักษณ์อักษร  (หลักฐาน1: ประกาศคณะ เรื่อง นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล)
  2. คณะสหเวชศาสตร์มีระบบการได้มาซึ่งบุคลากรด้านต่างๆ นับตั้งแต่การกำหนดกรอบอัตรากำลังที่เหมาะสม  และดำเนินการตามกรอบ การสรรหาบุคลากร โดยการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครให้ตรงกับคุณสมบัติเฉพาะของตำแหน่ง มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลของคณะฯ ทำหน้าที่ด้านธุรการ มีการแต่งตั้งกรรมการสอบข้อเขียน และ สอบสัมภาษณ์ อย่างยุติธรรมและโปร่งใส  (หลักฐาน 2 : คำสั่งคณะสหเวชศาสตร์ที่  ๐๒๕/ ๒๕๕๐ เรื่อง  แต่งตั้งคณะกรรมการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นลูกจ้างชั่วคราว) (หลักฐาน 3 : ประกาศคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  เรื่อง  รับสมัครบุคคลเพื่อสอบคัดเลือกเข้าเป็นลูกจ้างชั่วคราว) (หลักฐาน 4 : ประกาศคณะสหเวชศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง  ผลการสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อจ้างเป็นพนักงานสายบริการ (ช.๒)  ครั้งที่ ๑/๒๕๔๙) (หลักฐาน 5 : บันทึกของ คุณอนุวัทย์ เรืองจันทร์ เรื่อง “การสรรหาบุคลากร”)
  3. คณะสหเวชศาสตร์ได้จัดระบบสวัสดิการให้กับบุคลากรทั้งในด้านการช่วยเหลือ การให้รางวัลจูงใจและการส่งเสริมสุขภาพ     (หลักฐาน 6 : ประกาศคณะสหเวชศาสตร์ เรื่อง สวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทนของคณะสหเวชศาสตร์) 
  4. คณะฯได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีความก้าวหน้าในวิชาชีพและพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง  (หลักฐาน7 : การประชุมคณะกรรมการประจำคณะสหเวชศาสตร์  ครั้งที่ 2/2550 วันที่ 29 พฤศจิกายน 2549) (หลักฐาน 8 :ประกาศคณะสหเวชศาสตร์ เรื่อง แนวปฏิบัติการขออนุมัติเรียน หรือ สมัครสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษ และการเบิกจ่ายเงินสนับสนุนค่าลงทะเบียนเรียน หรือค่าสมัครสอบระดับความรู้ภาษาอังกฤษ)
  5. คณะฯมีการประเมินบุคลากรอย่างเป็นระบบ และจัดทำเป็นประกาศ เผยแพร่แก่บุคลากรทุกคน  บุคลากรทุกประเภทจะได้รับการประเมินปีละ 2 ครั้ง  โดยประเมินทั้งด้านภาระงาน  สถิติการมาทำงานในแต่ละเดือน และพฤติกรรมการทำงาน ซึ่งประเมินโดยผู้ประเมินที่เกี่ยวข้อง 360 องศา  มีคณะกรรมการพิจารณาผล  แล้วส่งข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้รับการประเมิน  และรายงานต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้น คณบดีและมหาวิทยาลัย ตามลำดับ (หลักฐาน 9: ประกาศคณะสหเวชศาสตร์  เรื่อง  ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะสหเวชศาสตร์)
  6. คณะฯ นำผลการประเมินมาพิจารณาความดีความชอบของบุคลากรอย่างยุติธรรม ตามกฎ กพ. และตามหลักเกณฑ์การพิจารณาค่าตอบแทนพิเศษลูกจ้างชั่วคราวของมหาวิทยาลัย (หลักฐาน 10 : ผลการพิจารณาเลื่อนขั้นกลางปีของข้าราชการ สาย ก  (เรียกดูได้จากงานบุคคล))  (หลักฐาน 11 : ผลการประเมินการพิจารณาค่าตอบแทนพิเศษลูกจ้างชั่วคราว (เรียกดูได้จากงานบุคคล))

ผลการประเมินตนเอง (อิงเกณฑ์ สกอ.) 

 ผลการประเมินตนเองปีที่แล้ว : 3 ผลการประเมินตนเองครั้งนี้ :  3   เป้าหมายปีต่อไป :  3

TOWS Analysis : ภาวะคุกคาม  มหาวิทยาลันนเรศวรตั้งอยู่ที่จังหวัดพิษณุโลก  แต่การจัดประชุมอบรม สัมมนา ในประเทศมักจัดในกรุงเทพฯ และจังหวัดขนาดใหญ่ในแต่ละภูมิภาค ทำให้อาจารย์ต้องเดินทางไกลและสิ้นเปลืองงบประมาณสูงมาก
  โอกาส ปัจจุบันมีการเผยแพร่ความรู้และวิวัฒนาการทางการแพทย์ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ท จึง ไม่ต้องเดินทางไปยังสถานที่ที่จัด
  จุดอ่อน คณาจารย์ของคณะฯ แต่ละภาควิชามีจำนวนน้อย และภาระงานสอนมาก ต้องผลัดกันไป เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการทำงาน
  จุดแข็ง บุคลากรสายสนับสนุนของคณะฯ ส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี  และสนใจพัฒนาตนเอง

โครงการหรือกิจกรรมในปีต่อไป :

  1. สำรวจความต้องการในการพัฒนางานของบุคลากรสายสนับสนุนงานวิชาการ  และจัดลำดับความเร่งด่วนในการพัฒนา 
  2. จัดกิจกรรมสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรสามารถทำงานกับคณะฯ อย่างมีความสุข  และเน้นการสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ดี  เช่น  มีเบี้ยขยัน  รางวัลไม่หยุดงาน เป็นต้น

ผลการประเมินตรวจสอบ  (กรุณาบันทึกในความคิดเห็นโดย copy ข้อความข้างใต้ไปวาง)

การบรรลุเป้าหมาย 

ค่าเป้าหมาย  :ระดับ 6  
การบรรลุเป้าหมาย    บรรลุ:  ไม่บรรลุ:                      

 ผลการประเมินตรวจสอบปีที่แล้ว : 3 ผลการประเมินตรวจสอบครั้งนี้ : ?   เป้าหมายปีต่อไป : ?

ข้อสังเกต/เสนอแนะ :  (กรุณาบันทึกในความคิดเห็น)

หมายเลขบันทึก: 135127เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2007 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท