ผู้สูงวัย ; ขุนคลังแห่งปัญญา กับการฝากมรดกทางปัญญาให้คนรุ่นหลัง


ผู้สูงวัยนั้น ย่อมมีประสบการณ์ที่อุดมไปด้วยปัญญา, มีความคิดที่ลุ่มลึก ความรอบคอบ
หลายคนมองเห็นคุณค่าของคลังปัญญาเหล่านี้
อยากให้มีการถ่ายทอดมรดกทางปัญญาแก่คนรุ่นหลัง..
อยากให้มีบันทึกความคิด ประสบการณ์ มุมมองต่างๆเก็บไว้


สำหรับคนที่เป็นครู คนที่อยู่ในแวดวงการเรียนรู้ อยู่กับข้อมูลข่าวสาร
ย่อมมองเห็นคุณค่าของการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านี้
เช่นเดียวกับที่เห็นนักวิชาการ อาจารย์ ผู้รู้ ปราชญ์หลายท่าน เข้ามาเขียน blog


แต่ต้องยอมรับความจริงว่า ยังมีผู้สูงวัยหลายท่าน ที่ไม่ค่อยได้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้
โดยเฉพาะ IT คอมพิวเตอร์ อินเทอรเนต

ลูกหลาย คนรุ่นหลัง คนรุ่นใหม่หลายคน ช่วยบันทึกมรดกทางปัญญาเหล่านั้นไว้ให้ผู้สูงวัย
ช่วยเขียนบันทึก จดบันทึกไว้ให้

แต่องค์ความรู้ที่จะได้รับการบันทึกโดยคนรุ่นใหม่นั้น

คนรุ่นใหม่จะต้องเห็นคุณค่า เข้าใจในองค์ความรู้ของผู้สูงวัยเหล่านั้น

หากเห็นเป็นเพียง คำบ่นของคนสูงวัย ความรู้เหล่านั้น ย่อมไม่มีค่าในสายตาของเขา

หลายคนเข้ามาจัดการความรู้ให้เกิดการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้สูงวัยสู่คนรุ่นหลัง
อีกหนึ่งแนวทางเช่น

1..รวบรวมผู้สูงวัยที่เปี่ยมด้วยประสบการณ์ หาสมถานที่และเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้คนรุ่นใหม่ กลุ่มเป้าหมายมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยการฟังและซักถาม

2.เสนอประเด็น หัวข้อให้ผู้ทรงคุณวุฒิได้เล่าเรื่องอย่างเจาะจง จากการปฏิบัติจริงทั้งในด้านความสำเร็จและล้มเหลว เพื่อการเรียนรู้อย่างครบถ้วนสมดุล


ู้,, ,
หมายเลขบันทึก: 135013เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2007 23:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท