หน่วยที่ ๓ แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นอำเภอสว่างแดนดิน จ.สกลนคร


แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นอำเภอสว่างแดนดิน จ.สกลนคร
แหล่งเรียนรู้ชุมชนกลุ่มผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา (หมู่บ้าน OTOP Product Champion ปี พ.ศ. ๒๕๔๙)ช่วง  10  ปีมานี้ผู้บริโภคตระหนักเรื่องความปลอดภัยของสุขภาพ    จึงหันมานิยมอุปโภค  บริโภค   ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ  ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เช่นข้าวกล้อง  ผักปลอดสาพิษ  ผักพื้นบ้าน    ยารักษาโรค  เช่น  สมุนไพร  รวมไปถึงเครื่องนุ่งห่ม  ผ้าย้อมสีธรรมชาติ  ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจึงทำให้ชาวชนบท  ที่มีทุนด้านนี้  คือมีพืชและสัตว์ในท้องถิ่นที่ให้สี    และที่สำคัญมีภูมิปัญญาในการย้อมสีธรรมชาติ  และการทอให้เกิดลวดลาย   อีกทั้งยังมีความขยัน  อดทน  ในการสร้างชิ้นงาน  ชุมชนบ้านพันนา  เป็นอีกชุมชนหนึ่งที่รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ4.3.1    บริบทชุมชนบ้านพันนาพันนาเป็น  1 ใน  16 ตำบลของอำเภอสว่างแดนดิน  จังหวัดสกลนคร  ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า ปู่ ย่า ตา ทวด  อพยพมาจากเมืองชัยฟองกองบาก ของประเทศลาว  มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเมืองสกลนครขณะนี้  แต่เกิดภาวะแห้งแล้งจึงอพยพต่อมาอีก ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองหนองบากน้อย  (บริเวณบ้านม้าในปัจจุบัน) จากนั้นลูกชายของเจ้าเมืองหนองบากน้อย  ได้แยกตัวมาสร้างเมืองใหม่ให้ชื่อว่าเมืองจำปา  แต่คนทั่วไปนิยมเรียกเมืองพานนา ตามชื่อผู้นำ ในที่สุดจึงเพี้ยนเป็นพันนา  ตำบลพันนา มี  12 หมู่ เฉพาะหมู่บ้านพันนามี  3 หมู่คือ  หมู่  1 , 10 และ 12 ที่ตั้งของบ้านพันนา อยู่ห่างอำเภอสว่างแดนดินในทางทิศตะวันตก ตามเส้นทางหลวงหมายเลข  22 สกลนคร - อุดรธานี ระยะทาง  15 กิโลเมตร  และห่างจากสกลนคร  ไปทางทิศตะวันออกระยะทาง  71 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับหมู่บ้านต่าง ๆ  ของอำเภอสว่างแดนดินดังนี้            ทิศเหนือ            จด        บ้านคันชา        ตำบทธาตุทอง
            ทิศใต้                จด        บ้านคำตานา    
ตำบลพันนา
            ทิศตะวันออก     จด        บ้านโมน           
ตำบลพันนา
            ทิศตะวันตก       จด        บ้านม้า             ตำบลทรายมูล
            สภาพภูมิประเทศของบ้านพันนา  มีสภาพเป็นที่ลุ่มมีทุ่งนาล้อมรอบ  ซึ่งเป็นแหล่งอาหารทั้งข้าวและปลา  ไกลออกไปจากทุ่งนาจะมีสภาพป่าเบญจพรรณที่ไม่หนาแน่นนัก  เพราะถูกถากถางเพื่อทำการเกษตร  มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญได้แก่ ลำห้วยยาม ลำห้วยอ้อมแก้ว  ห้วยขุมปูน  ห้วยคำอ้อ  และบึงคำอ้อที่มีน้ำซับตลอดปีในเนื้อที่  130 ไร่ เป็นแหล่งอาหารอีกแหล่งหนึ่งของชุมชน  นอกจากนี้ยังมีแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นคือฝาย  2 แหล่ง บ่อน้ำตื้น  11 แห่ง บ่อโยก  8 แห่ง  ประปาหมู่บ้าน  1 แห่ง จะเห็นว่าบ้านพันนามีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์  แต่ชาวบ้านก็ทำการเกษตรเพียงเพื่อการยังชีพเท่านั้น พืชที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นผักสวนครัว เช่น แตง  ฟักทอง และข้าวโพด  ส่วนสัตว์เลี้ยงที่มีเช่น วัว ควาย   จะเลี้ยงไว้ขายมากกว่าเลี้ยงไว้ใช้งาน เนื่องจากรถไถนา  ผ่อนแรง และได้งานมากกว่า แต่ถ้าเป็นสัตว์เล็กเช่น หมู เป็ด ไก่ จะเลี้ยงไว้เป็นอาหาร  ด้วยสภาพที่ตั้งล้อมรอบด้วยที่ลุ่ม  และมีฝายกั้นน้ำ  บางปีที่ฝนตกติดต่อกันหลายวันทำให้บ้านพันนาและชุมชนใกล้เคียงพบปัญหาน้ำท่วม  นาข้าวได้รับความเสียหายจำนวนมาก            สภาพทางสังคมของบ้านพันนา มีความเกี่ยวพันฉันท์พี่น้อง  เพราะเป็นลูก-หลานบรรพบุรุษเดียวกัน  แม้กับชุมชนใกล้เคียงเช่น ตำบลทรายมูล  ตำบลตาลโกน ก็ยังมีการพบปะพูดคุย  เยี่ยมเยือนกัน รวมถึงการร่วมกิจกรรมงานบุญประเพณีต่าง ๆ เช่น งานบุญข้าวจี่ยักษ์  อนุรักษ์ประสาทขอม  ในจังหวัดสกลนครมีวัตถุโบราณสมัยขอมเรืองอำนาจกระจายอยู่ทั้งในอำเภอเมือง อำเภอพรรณานิคม และบ้านพันนา  อำเภอสว่างแดนดิน นอกจานี้ยังค้นพบหม้อเขียนลาย  ห่วงคอ  และกำไลสัมฤทธิ์  ศิลปะร่วมสมัยกับยุคบ้านเชียงด้วย  บ้านพันนาจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งรวมใจของพี่น้องใกล้เคียง  ผู้นำที่ชาวบ้านพันนาให้ความเคารพได้แก่ นายก้อน อุปชา นายอวน คำศรี และนายโมรา  คำศรี  เป็นผู้นำทั้งการปกครองและวัฒนธรรมประเพณีบริบทกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านพันนา

บ้านพันนา  หมู่ที่  .พันนา  .สว่างแดนดิน  .สกลนคร  ตั้งกลุ่มเมื่อวันที่   16  มีนาคม  2535   มีสมาชิก   16  คน  ปัจจุบันสมาชิก   358  คน  จาก  12 หมู่บ้าน  ของตำบลพันนา
                    .. 2531  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสว่างแดนดิน เข้ามาส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แก่ชุมชน โดยแนะนำให้สตรีในหมู่บ้านรวมกลุ่มกันดำเนินกิจกรรม ด้านการทอผ้า ที่ชาวบ้าน มีความรู้และทอผ้าไว้ใช้เองในครัวเรือนอยู่แล้ว เพียงแต่ต่างคนต่างทำ และไม่มุ่งหวังทางด้านการตลาด ซึ่งขณะนั้น    ชาวบ้านพันนาได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นแต่ยังไม่มีกิจกรรมกลุ่มอย่างชัดเจน มีสมาชิกครั้งแรก  34 คน
                  .. 2535  สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสว่างแดนดิน  ได้เข้าไปกระตุ้น ทบทวนกลุ่มที่ได้จัดตั้งไว้ และให้ส่งเสริมด้านการทอผ้าไหม ตามโครงการพัฒนาอาชีพโดยองค์กรสตรี งบประมาณ  25,000 บาท  สมาชิกกลุ่มได้ดำเนินการทอผ้าแต่ยังมีปัญหาด้านการตลาดและการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์
                      .. 2536  ได้รับงบประมาณจากกรมการพัฒนาชุมชน  ฝึกอบรมด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมผ้าฝ้าย  โดยใช้วิทยากรที่เป็นผู้นำในท้องถิ่น  ผลการฝึกอบรม กลุ่มแปรรูปได้ แต่ยังไม่มีตลาดรองรับ

.. 2538  สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสกลนคร ได้เข้ามาฝึกอบรมการแปรรูป         ผลิตภัณฑ์ เช่น ทำหมอน,กล่องทิชชู, กระเป๋า,ผ้าปูโต๊ะ ฯลฯ จึงเริ่มมีตลาดรองรับแต่อยู่ในวงแคบและ นางคำพูล  สุราชวงศ์  ซึ่งเป็นประธานกลุ่มขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอสว่างแดนดิน (กพสอ.) และเป็นคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดสกลนคร ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการฝ่ายส่งเสริมอาชีพ ของคณะคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดสกลนคร โดยมี  ดร.เพ็ญศักดิ์  จักษุจินดา  เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดสกลนคร  ดร.เพ็ญศักดิ์   จักษุจินดา  ได้คิดริเริ่มหาแนวทางและวิธีการที่จะส่งเสริมสนับสนุนอาชีพสตรีในจังหวัดสกลนคร  เพื่อสร้างอาชีพเสริมและเสริมรายได้แก่ครอบครัวและชุมชนนอกภาค           การเกษตร จึงมอบหมายให้ นางละมุล   เร่งสมบูรณ์  ร่วมกับ   นางคำพูล  สุราชวงศ์ ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการฝ่ายส่งเสริมอาชีพ  ในระยะเริ่มต้นยังไม่มีกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม  แต่คณะกรรมการ  ฝ่ายส่งเสริมอาชีพยังดำเนินกิจกรรมต่อไปอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
                    .. 2540 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสกลนคร  ได้ฝึกอบรมเรื่องการบริหารจัดการ  กลุ่ม ด้านบัญชีและการบริหารทั่วไป และสำนักงานพัฒนาชุมชน ได้นำไปทัศนศึกษา      ดูงานด้านการย้อมสีธรรมชาติที่อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร และจังหวัดขอนแก่น
                      ..  2542  กลุ่มเริ่มก้าวเข้าสู่ระบบธุรกิจโดยร่วมกับบริษัทซัลเวิลด์ เทรดดิ้ง จำกัดซึ่งมี นางละมุล  เร่งสมบูรณ์ เป็นเจ้าของกิจการ ได้มอบหมายให้กลุ่มผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์บ้านพันนาเป็นฝ่ายผลิตสินค้าส่งให้บริษัทกลุ่มจึงเริ่มมีการหาสมาชิกในลักษณะเครือข่ายกลุ่มอาชีพ โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายไปที่คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) ในเขตจังหวัดสกลนครร่วมกันผลิตสินค้าประเภทผ้าทอมือที่ย้อมด้วยสีธรรมชาติ  ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีโอกาสจำหน่ายในระดับประเทศและส่งออกต่างประเทศเป็นครั้งแรก
.. 2543 ได้รับงบประมาณจากศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน  ฝึกอบรมเรื่องการย้อมสี   ธรรมชาติและการทอผ้า  และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 จังหวัดอุดรธานี ได้รับกลุ่มเข้าโครงการสนับสนุนอุตสาหกรรมชนบท (สอช.)
การตลาด      เมื่อก่อน  นำไปเร่ขายตามงานนิทรรศการ     ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดปัจจุบัน    รับคำสั่งซื้อจากบริษัท  ห้างร้าน  ทั้งใน  กรุงเทพมหานคร และขอนแก่น  จำหน่ายที่ศูนย์บ้านพันนา ศูนย์อำเภอสว่างแดนดิน  ศูนย์จังหวัดสกลนคร  และที่ศูนย์นาข่า จังหวัดอุดรธานี  OTOP  Center ที่จังหวัดหนองคาย  ห้างบิกซี  ลาดพร้าว  กรุงเทพมหานคร                              5)  ลายผ้าที่ได้รับความนิยมและมาตรฐานที่กลุ่มกำหนด                                    1) ลาย ได้แก่   ลวดลายโบราณ    ลวดลายหมี่ข้อ  ลวดลายมัดหมี่ ลวดลายหมี่ขัด  ลวดลายหมี่นาค       ลวดลายยกดอก                                    2) ขนาดผ้าที่เป็นมาตรฐานคือ
                                                กว้าง   1.20  เมตร   ยาว   30-50  เมตร
                                                -  กว้าง  1.00 เมตร  ยาว   30- 50  เมตร
                                                -  กว้าง  0.80  เมตร  ยาว  30-50  เมตร
                                                กว้าง  0.50  เมตร ยาว   30-50  เมตร
              3) การทอให้ได้ผ้าเนื้อดี เป็นที่นิยม ให้ประณีตในเรื่อง
                            - เส้นฝ้ายต้องสม่ำเสมอ   ไม่หย่อนหรือตรึงเกินไป
                            - การกระตุกฟืมต้องแรงสม่ำเสมอ
                            - ต้องคัดสรรหลอดด้ายที่มีสีสม่ำเสมอ
ผลที่ได้จากความร่วมมือของกลุ่ม
                            ปี 2535  รางวัลชมเชยกลุ่มอาชีพสตรีจังหวัดสกลนคร
                                     ปี 2536  รางวัลองค์กรสตรีดีเด่น 
                                     ปี 2538  รับรางวัลผู้นำอาชีพก้าวหน้าของจังหวัดสกลนคร
                                     ปี 2538   รางวัลคณะกรรมการพัฒนาสตรีตำบลดีเด่น
                                     ปี 2544   รางวัลบทบาทดีเด่นการพัฒนาองค์กรสตรี 
                                     ปี 2545   รางวัลชนะเลิศการประกวดลายผ้าประจำจังหวัด 
                                     มีนาคม   2545   รับใบประกาศเกียรติคุณ  กลุ่มอาชีพสตรีดีเด่นในโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์   จากนายกทักษิณ  ชินวัตร
                                     พฤษภาคม   2545  รับใบประกาศรับรองคุณภาพ  ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ จากกรมส่งเสริมการเกษตร
                                     ธันวาคม  2546  ได้รับเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน  ในผ้าทอมือลายขัดพื้นฐาน  มาตรฐาน เลขที่ มผช. 18 (1) / 2546  

ผ้าลายสะเก็ดธรรม  ลายผ้าประจำจังหวัดสกลนคร

ปี  2545  กลุ่มบ้านพันนาส่งผ้าลายสะเก็ดธรรมเข้าประกวดลายผ้าประจำจังหวัด  ได้รับรางวัลชนะเลิศ  ข้าราชการในหน่วยงานต่างๆของ จังหวัดสกลนคร  จึงเป็นลูกค้าสำคัญของกลุ่มผ้าลายสะเก็ดธรรม    ทอด้วยเทคนิคการสร้างลายที่เขาหูกตั้งแต่การสืบต่อด้ายเส้นยืนเข้าร่องฟันฟืม  ซึ่งเป็นเทคนิคการสร้างลายเกล็ดเต่า เกล็ดแลนนั่นเอง  แต่มีการประยุกต์ที่นำฝ้ายเส้นพุ่งมัดหมี่ทอร่วมด้วย  ลักษณะผ้าจึงมีลายในตัวแบบลายเกล็ดแลน  แล้วยังมีลายหมี่ด้วย  ถือเป็นลายใหม่ที่ประยุกต์  มาจากเทคนิคการทอเดิม  เป็นภูมิปัญญาในทางสร้างสรรค์ของช่างทอ  สีพื้นของผ้าลายสะเก็ดธรรมเลือกได้หลากสีตามความต้องการ   โดยในลายเกล็ดแลน  จะสร้างลายด้วยด้ายพุ่งสีขาวแซมด้วย  และยังมีลายหมี่เล็ก ๆ สีขาวกระจายอยู่อย่างลงตัว   ทำให้สีของผ้าอ่อน เย็นลง สีไม่ฉูดฉาด  จึงได้รับความนิยมและได้รับรางวัลดั้งกล่าว

            ในช่วงปี  2542  -  ปัจจุบัน  สกลนครได้รับการยอมรับว่า  เป็นแหล่งรวมภูมิปัญญาด้านการย้อมครามและสามารถผลิตผ้าย้อมคราม  คุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย  ภูมิปัญญาท้องถิ่นสกลนครร่วมกับนักพัฒนา และนักวิจัย  ฟื้นฟูการย้อมคราม  ซึ่งเป็นสีธรรมชาติที่ติดเส้นฝ้ายได้ทนนานและเข้ม  แต่วิธีการย้อมควบคุมยาก  ต้องอาศัยทักษะสูง  แต่ก็ไม่เกินความสามารถของคนสกลนคร  กลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านพันนา  สร้างลายสะเก็ดธรรมได้แปลกใหม่   ดูเหมาะสม   จึงเพิ่มคุณค่าผ้าด้วยการย้อมสีคราม  เข้มบ้าง  จางบ้าง  ตามความต้องการของลูกค้า  ราคาผ้าจะขึ้นอยู่กับความเข้มของสีครามด้วย   เพราะการย้อมให้เข้มนั้นใช้เวลาย้อมซ้ำประมาณ 10 – 20  ครั้ง  แต่ละครั้งห่างกันประมาณ ชั่วโมง   ต้นทุนของวัตถุดิบสูงขึ้น  ค่าแรงมากขึ้น  ค่าเวลาที่ทุ่มเทก็มาก  แต่ปัจจัยเหล่านี้ไม่สำคัญเท่าคนย้อม  ถ้าไม่มีทักษะในการเตรียมสีและย้อม  ก็ยากที่จะได้ผ้าย้อมคราม  เข้ม  ใส  และวาว  ดังนั้นกลุ่มทอผ้าบ้านพันนา  จึงต้องให้เวลากับการฝึกทักษะการย้อมคราม  ควบคู่ไปกับการผลิตผ้าตามสั่ง  ในลายและสีอื่น ๆ   กลุ่มทอผ้าฝ้ายบ้านพันนา   ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน  มีอาคารศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในทำเลที่เหมาะสม   และมีผลิตภัณฑ์หลากหลายให้ลูกค้าเลือกชม

หมายเลขบันทึก: 135002เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2007 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท