กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ (CQI)


กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ (CQI)

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ  (CQI)

เรื่อง        โครงการพัฒนาระบบการติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ขอบเขต  ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการขาดนัดเกิน  7  วัน

เป้าหมาย       ผู้ป่วยเบาหวานขาดนัดลดลงเหลือ  10  %

เครื่องชี้วัด     อัตราขาดนัดในผู้ป่วยเบาหวาน

วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

1.       เพื่อผู้ป่วยเบาหวานตระหนักถึงความสำคัญในการรับบริการตามนัด

2.       เพื่อผู้ป่วยเบาหวานได้รับยาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดยา

3.       ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการดูแลภาวะแทรกซ้อนอย่างครอบคลุม

ปัญหาเดิมก่อนการปรับเปลี่ยน

1.       ผู้ป่วยเบาหวานขาดยา , ไม่มารับยาตามนัด  จาการเก็บข้อมูล  เดือน .. 2547 – เม.. 2548 เป็นระยะเวลา  6  เดือน  มีอัตราผู้ป่วยขาดนัดเป็น  18.10  %

2.       ไม่มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบติดตามผู้ป่วยเบาหวานให้มารับยาภายในระยะเวลาที่กำหนด

3.       ไม่มีระบบงานติดตามผู้ป่วยที่ขาดนัดอย่างชัดเจน

ระยะเวลา                           1  ..  2548  -  31  ..  2548

วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา

                จากเจ้าหน้าที่

                                ไม่มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบดำเนินงานชัดเจน , เขียนใบนัดไม่ชัดเจน , ไม่มีการตรวจสอบวันนัด

ในใบนัด , สมุดนัดและ  OPD card  ว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่

จากผู้ป่วย

1.       ขาดความรู้  ความเข้าใจ  และไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการมารับยาตามนัด

2.       ผู้ป่วยสูงอายุ ไม่มีญาติ  อาจจะต้องรอญาติ  เพื่อพามาโรงพยาบาลหรือรอมาโรงพยาบาลกับเพื่อนบ้านข้างเคียง

3.       ดูวันนัดไม่ชัดเจน ,ลืมวันนัด

การปรับเปลี่ยนที่  1

1.       ประชุมชี้แจงในหน่วยงาน  และมีการมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบงานคลีนิกเบาหวาน

       ชัดเจน

2.       มีการประชาสัมพันธ์  แจ้งให้ผู้ป่วยทราบเรื่องการมาตรวจตามนัดทุกครั้ง  ก่อนแพทย์ออกตรวจตอนเช้าในวันที่มีคลีนิกเบาหวาน ( วันพุธ , ศุกร์ )

3.       ตั้งกฎกติการ่วมกับผู้ป่วยในเรื่องการตรวจตามนัดทุกครั้ง  เพื่อให้ตระหนักและเน้นความสำคัญคือ

3.1    ค้น  OPD  card  ล่วงหน้าก่อน  1  วัน  (ค้นตามบัตรนัด )  เพื่อลดระยะการรอรับบริการ  และมีการแจกบัตรคิวที่คลีนิกเบาหวาน

3.2    ผู้ป่วยที่มาตรวจตามนัด  ได้รับการตรวจตามลำดับคิวก่อน - หลัง

3.3    ผู้ป่วยที่ไม่มาตรงตามวันนัด  จะได้รับการตรวจหลังจากลำดับสุดท้ายของผู้ป่วยมาตาม 

      นัดสิ้นสุด  โดยเรียงลำดับหมายเลขเช่นกัน

ยกเว้น

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะวิกฤตจะได้รับการตรวจก่อนโดยไม่คำนึงถึงลำดับหมายเลขหรือการมาไม่ตรงตามนัด

4.       เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่จุด  Exit care  เขียนวัน  เดือน  ปี  ในใบนัดและสมุดสีชมพูให้อ่านออกได้ชัดเจน  และเน้นย้ำให้มาตรวจตามนัดทุกราย

-  กรณีผู้ป่วยสูงอายุไม่มีญาติ  ทบทวนซ้ำโดยอ่านให้ฟังและสอบถามความเข้าใจให้ถูกต้องก่อนไปรับยากลับบ้านทุกราย

-  ในกลุ่มผู้ป่วยที่อยู่บ้านใกล้เคียงกันและรอมาโรงพยาบาลพร้อมกัน  จะนัดให้มาตรวจในวันเดียวกัน  เพื่อความสะดวกและมาตรวจตามนัด

                                5.   กรณีผู้ไม่มาตรวจตามนัดเกินระยะเวลา  7  วัน

(  โดยการตรวจ  OPD  card   แล้วว่าผู้ป่วยไม่ได้มารับการบริการเลย )มีการติดต่อประสานงานกับแผนกอื่นดังนี้

ในเขต ต.หนองแสง  ส่งรายชื่อผู้ป่วยเบาหวานให้งานส่งเสริมสุขภาพติดตามผู้ป่วย

ตำบลอื่น   ส่งรายชื่อผู้ป่วยเบาหวานให้  PCU   ดำเนินการติดตามผู้ป่วย

ระยะเวลาดำเนินการ         1  พฤษภาคม  2548  - 31  พฤษภาคม  2548

สรุปผลการปรับเปลี่ยน

                                ผู้ป่วยเบาหวานขาดนัดก่อนดำเนินการ  18.68  %

                                ผู้ป่วยเบาหวานขาดนัดหลังดำเนินการ  11.49  %

                หลังการปรับเปลี่ยนครั้งที่  1  อัตราผู้ป่วยขาดนัดลดลงเหลือ  11.49  %   ยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้จึงดำเนินการปรับเปลี่ยนครั้งที่  2  โดย

                การปรับเปลี่ยนที่  2

1.       มีการติดตามผู้ป่วยเบาหวานขาดนัดเกินระยะเวลา  7 วัน  โดยส่งไปรษณียบัตรถึงผู้ป่วยโดยตรง

ระยะเวลาดำเนินการ

                                1  มิถุนายน  2548  -  30  มิถุนายน  2548

สรุปผลการปรับเปลี่ยนที่  2

                                ผู้ป่วยเบาหวานขาดนัดก่อนดำเนินการ  11.49  %

ผู้ป่วยเบาหวานขาดนัดหลังดำเนินการ   9.05  %

               

     

ระเบียบปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานเข้าห้องตรวจ

1.       ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการตามวันนัด  ได้รับการตรวจตามลำดับหมายเลข

2.       ผู้ป่วยเบาหวานที่มาไม่ตรงตามวันนัด  จะได้รับการตรวจหลังจากลำดับสุดท้ายของผู้ป่วยมาตามนัดสิ้นสุด  โดยเรียงลำดับหมายเลขเช่นกัน

ยกเว้น    ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะวิกฤตจะได้รับการตรวจก่อนโดยไม่คำนึงถึงลำดับหมายเลขหรือการมาไม่ตรงตามนัด

ข้อบ่งชี้ 

FBS < 60  mg  %  มีภาวะ  Hypoqlycemia

             (  ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหวานหรือนมหวานทันที )

FBS >  350  mg%

BP >  180/100   mmHg

BP  <  90/60   mmHg   มีภาวะเหงื่อออกตัวเย็น  ชีพจรเบา , เร็ว

T  > 38.5  C ไข้สูง , หนาวสั่น

·       FBS  = Hi   ส่งผู้ป่วยเข้าห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน,ทันที

                                                                 คลีนิคเบาหวาน

         

 ชื่อหน่วยงาน  OPD(คลินิคหอบหืด)กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ  (CQI)

เรื่อง        โครงการส่งเสริมความรู้โรคหอบหืดในเด็ก 

ขอบเขต  

ผู้ป่วยโรคหอบหืด  อายุแรกเกิด – 6 ปี  ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลวาปีปทุมให้บริการเวลา               13.00 . – 16.00 .  . คลินิคพิเศษโรงพยาบาลวาปีปทุม

เป้าหมาย 

ญาติ  ผู้ป่วยโรคหอบหืดเด็ก  ที่มารับบริการมีความรู้  ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคหอบหืด  และสามารถพ่นยา ได้ถูกต้อง 80%

เครื่องชี้วัด           

1. อัตราญาติผู้ป่วยที่มีความรู้  ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคหอบหืดในเด็ก

2. อัตราการพ่นยาที่ปฏิบัติได้ถูกต้อง

วัตถุประสงค์      

เพื่อให้ญาติมีความรู้  สามารถนำไปปฏิบัติดูแลตนเองที่บ้านได้ถูกต้อง

ข้อมูลก่อนการปรับเปลี่ยน              

-  ญาติขาดความรู้  ความเข้าใจ ในการดูแลผู้ป่วยหอบหืด

                                                -  ไม่มีคลินิคหอบหืดที่ชัดเจน

                                                -  ขาดบุคลากรที่มีความรู้  ความชำนาญเรื่องหอบหืด และรับผิดชอบที่ชัดเจน

ระยะเวลา            

1  มกราคม  2549 – 2  มีนาคม  2459

 

วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา

ด้านผู้ป่วย           

-  ญาติขาดความรู้  ความเข้าใจ และไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืดอย่างต่อเนื่อง  การตรวจ, การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

  

การปรับเปลี่ยน

                1.  มีการจัดตั้งคลินิคหอบหืดในเด็กที่ชัดเจน (ทุกวันพฤหัสบดีที่  1  ของทุกเดือน)                                 เวลา 13.00 . – 16.00 .

                2.  มีแพทย์รับผิดชอบหอบหืดเด็กโดยตรงคือ  แพทย์หญิงรัชนีกร  หนูวรรณะ  กุมารแพทย์ประจำโรงพยาบาลวาปีปทุม

                3.  มีพยาบาลที่ผ่านการอบรมรับผิดชอบคลินิคหอบหืดเด็กที่ชัดเจน

                4.  จัดสถานที่คลินิคหอบหืดเป็นสัดส่วน  (บริเวณคลินิคพิเศษเดิม)

                5. เตรียมแผ่นพับ  เอกสาร  จัดบอร์ด  บริเวณคลินิคหอบหืดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้รับบริการ

                6.  สอนสุขศึกษารายกลุ่ม และรายย่อยแก่ผู้มารับบริการก่อนแพทย์ออกตรวจ

                7.  จัดกลุ่มสนทนาผู้ป่วยหอบหืด  เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน  และสอนสาธิตวิธีพ่นยาในเด็ก

                8.  สอนวิธีพ่นยาทุกรายที่ได้รับยาพ่นที่จุด  Exit  care  ทุกครั้ง  และทบทวนก่อนกลับบ้าน

ก่อนการปรับเปลี่ยน   

                ข้อมูลเดือน  มกราคมกุมภาพันธ์  2549  มีผู้มารับบริการ  56  ราย  มีความรู้หลังให้คำแนะนำรายบุคคล  30  รายคิดเป็น  53.57 %

 

หลังการปรับเปลี่ยน

                มีผู้มารับบริการ  33  ราย  มีความรู้หลังให้คำแนะนำรายบุคคล  30  ราย  คิดเป็น  90.90%

สรุป

                ผู้ป่วยหอบหืดหลังได้รับคำแนะนำและส่งเสริมความรู้โรคหอบหืด  และพ่นยาถูกต้อง  มีความรู้                   คิดเป็น  90.90 %  จากเป้าหมาย  80%  ซึ่งได้จัดให้มีการส่งเสริมความรู้โรคหอบหืดในเด็ก แก่ญาติ  เพื่อการดูแลที่ถูกต้องต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #โรงพยาบาลบรบือ
หมายเลขบันทึก: 134637เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2007 20:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พยาบาลโรงบาลวาปีปทุมที่ชื่อว่าหย๋อมแผนกเด็กชอบแย่งผัวชาวบ้านต้องระวังตัวให้ดีนะหน้าด้านมากกกกกกกกกกกกกกกกก

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท