กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ


กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ
  เรื่อง  การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน
ขอบเขต
                ผู้ป่วยที่มารับบริการที่หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินในเวลาราชการ
เป้าหมาย
1.       ผู้รับบริการได้รับการคัดกรองถูกต้อง  ร้อยละ  80
2.       ผู้ป่วยวิกฤติได้รับการดูแลรักษาภายในเวลาที่กำหนดร้อยละ  100
               
วัตถุประสงค์
                1.  เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการคัดกรองถูกต้อง
                2.  เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาและวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสม
                3.  เพื่อให้มีระบบบริการที่ดี
เครื่องชี้วัด
                1.  อัตราการคัดกรองที่ถูกต้อง
                2.  อัตราผู้ป่วยวิกฤติได้รับการดูแลรักษาในเวลาที่กำหนด
ปัญหาเดิมก่อนปรับเปลี่ยน
                1.  ด้านโครงสร้าง  เนื่องจากห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินอยู่ด้านในมีห้อง EMS  บังอยู่ด้านหน้า  ซึ่งเมื่อมีผู้รับบริการมาไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
                2.  เดิมไม่มีระบบการคัดกรองผู้ป่วย  บางครั้งมีผู้ป่วยเข้ามารับบริการพร้อมกันเป็นจำนวนมาก  ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการให้บริการและผู้ป่วยบางรายได้รับบริการที่ล่าช้า   ทำให้ผู้รับบริการและญาติไม่พึงพอใจ
วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
1.  เจ้าหน้าที่
                -  ไม่เพียงพอต่อการให้บริการโดยเฉพาะถ้ามี  Refer  หรือออก  EMS  ทำให้ขาดอัตรากำลังเจ้าหน้าที่
                -  เจ้าหน้าที่ขาดความตระหนักและความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.  ระบบบริการยังไม่ชัดเจน
3.  ไม่มีแนวทางในการคัดกรองและแยกประเภทผู้ป่วยใน  ER
 การปรับเปลี่ยน
                1.  ประชุมเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน  และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเรื่องแนวทางการประเมินและคัดกรองผู้ป่วยเข้ารับบริการ
                2.  จัดแบ่ง  zone  การให้บริการให้ชัดเจนดังนี้
2.1     จุดคัดกรองและประเมินอาการผู้ป่วยหน้าห้อง ER (โซน  ๑)
2.2      บริเวณโต๊ะทำงานเจ้าหน้าที่(โซน  ๒)
2.3      บริเวณทำ CPR  (โซน  ๓)
2.4      บริเวณทำหัตถการ  2  เตียง  เช่น  ทำแผล  เย็บแผล  ผ่าฝี  เป็นต้น   (โซน  ๔)
2.5      เตียงฉีดยาด้านใน และบริเวณพ่นยา  (โซน  ๕)
                3.  มอบหมายงานให้เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานให้ชัดเจน  โดย  Assignment   ในตารางเวรและให้แขวนป้ายเจ้าหน้าที่ให้ชัดเจน
                4.  จัดทำแนวทางการประเมิน / คัดกรองผู้ป่วยแยกตามความรุนแรง
                5.  พยาบาลวิชาชีพคัดแยกประเภทผู้ป่วยตามเกณฑ์การประเมินและทำสัญญลักษณ์ให้เห็นชัดเจนที่เปลนอนหรือรถนั่งของผู้ป่วย  โดยผู้ป่วย  Emergent    แขวนดาวสีแดง , ผู้ป่วย Urgent  แขวนดาวสีเหลือง ,    ผู้ป่วย Non – Urgent  แขวนดาวสีเขียวและมีการประเมินซ้ำโดยพยาบาลวิชาชีพในห้อง  ER     
6.  ทดลองใช้ตามแนวทางการปรับเปลี่ยน (ก.พ. – เม.ย. 50)
                7.  ประเมินผลการปฏิบัติงานโดยแพทย์/พยาบาล Incharge และประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ
ผลการดำเนินงานหลังการปรับเปลี่ยน
                1.  ด้านผู้รับบริการ
                                -  ได้รับการคัดกรองที่รวดเร็ว  ถูกต้อง  เหมาะสม
                                -  ได้รับทราบข้อมูลการคัดกรองเบื้องต้น , คำแนะนำก่อนพบแพทย์การปฏิบัติตัวที่เหมาะสมกับอาการที่มารอรับบริการ  เช่น  ผู้มารับบริการฉีดยา , ล้างแผล , การขอใบรับรองแพทย์ , การติดต่องานคดี ,ชันสูตร  เป็นต้น
                                -  การติดต่อสอบถามได้รวดเร็วขึ้น
                                -  ผู้รับบริการได้รับการคัดกรองถูกต้องร้อยละ  97.62
                                -  ผู้ป่วยวิกฤติได้รับการดูแลภายในเวลาที่กำหนดร้อยละ  100
                2.  ด้านเจ้าหน้าที่
                                -  สามารถจัดบริการพยาบาลได้เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย
                                -  มีการมอบหมายงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร  ชัดเจนและตรวจสอบได้
                                -  มีแนวทางการคัดกรองที่ชัดเจนมากขึ้น
                                -  มีนวัตกรรมในการใช้สัญลักษณ์คัดกรองประเภทผู้ป่วย
                            ผู้ป่วย  Emergent    แขวนดาวสีแดง
                            ผู้ป่วย Urgent  แขวนดาวสีเหลือง
                            ป่วย Non – Urgent  แขวนดาวสีเขียว
คำสำคัญ (Tags): #โรงพยาบาลบรบือ
หมายเลขบันทึก: 134633เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2007 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 06:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท