การพัฒนาการบริหารระบบยาในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบรบือ


การพัฒนาการบริหารระบบยาในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบรบือ

การพัฒนาการบริหารระบบยาในเครือข่ายบริการสุขภาพ

อำเภอบรบือจังหวัดมหาสารคาม

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

                การเปลี่ยนแปลงระบบสาธารณสุขของประเทศไทยพบว่ามีทั้งการปฏิรูประบบสุขภาพ การกระจายอำนาจและการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดบริการสาธารณสุขของประเทศ และยกระดับของสถานบริการปฐมภูมิ ซึ่งประกอบด้วยสถานบริการสาธารณสุขชุมชน(PCU) และสถานีอนามัย  ทั้งสองหน่วยรวมอยู่ในระบบเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ ประกอบกับนโยบายการให้บริการที่มีคุณภาพและประชาชนเข้าถึงบริการได้สะดวก ที่เรียกว่าการให้บริการ ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ซึ่งเป็นการให้บริการสุขภาพแบบผสมผสานทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพ กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายการปฏิรูประบบสาธารณสุขแนวใหม่ขึ้น ซึ่งจะมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพการให้บริการปฐมภูมิ ทั้งด้านการรักษาพยาบาลและการบริหารจัดการโครงสร้างภายในองค์กร

          ตามนโยบายด้านการดูแลรักษาพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขนั้น นอกจากประชาชนจะได้รับความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคแล้ว การดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยเบื้องต้น ก็เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐาน ที่ประชาชนควรได้รับทราบ และสามารถปฎิบัติได้  ทั้งนี้นอกจากจะส่งผลให้ประชาชนมีความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับโรคและการรักษาแล้ว  ยังเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกับการเดินทาง และการเสียเวลารอคอย  เพื่อมาโรงพยาบาลในกรณีที่เจ็บป่วยเล็กน้อยสามารถดูแลตนเองที่บ้านได้       

         หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิจัดเป็นสถานบริการที่ใกล้ชิดกับประชาชนในชุมชนมากที่สุด เป็นแหล่งให้ความรู้เรื่องโรค และบริการด้านยา เบื้องต้นแก่ชุมชน   ข้อมูลจากการสำรวจที่ผ่านมาพบว่าหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิยังขาดองค์ความรู้บางอย่าง ทั้งเรื่องโรค การใช้ยา  การดูแลยาให้มีคุณภาพ บางแห่งมีรายการยาไม่เพียงพอในการให้บริการ  บางแห่งมีการส่งเสริมในเรื่องการใช้สมุนไพร และการแพทย์แผนไทย  แต่ยังขาดทักษะ ขาดองค์ความรู้ที่ถูกต้อง  และความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ยังไม่เพียงพอ    ดังนั้นการเพิ่มพูนความรู้ด้านโรค ยา ในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิมีความรู้ที่ถูกต้อง และเพียงพอ         

          นอกจากนี้เวชภัณฑ์ซึ่งจัดได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญในการให้บริการสุขภาพ ป้องกัน และรักษาโรค ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับประชาชน ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนการบริหารเวชภัณฑ์ให้เหมาะสมตั้งแต่ กระบวนการการคัดเลือกยา การกระจายยา การเก็บรักษา และการสั่งใช้ยาอย่างเหมาะสม ซึ่งหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิเป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการกระจายยา การเก็บรักษา และการสั่งใช้ยา ดังนั้นหากหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิมีการกระจายยาที่เหมาะสม การเก็บรักษายาเป็นไปตามมาตรฐานและมีคุณภาพ และการสั่งใช้ยามีความเหมาะสม สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการรักษาพยาบาลแก่ประชาชน ทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด 

วัตถุประสงค์

1.         เพื่อเป็นการพัฒนาระบบงานบริหารเวชภัณฑ์ในระบบเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2.         เพื่อให้ยาในคลังเวชภัณฑ์ของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบรบือได้รับการดูแลด้านคุณภาพอย่างถูกต้อง

3.         เพื่อลดมูลค่าการเบิกยาและเวชภัณฑ์ของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบรบือให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 20

4.         เพื่อเพิ่มระดับความรู้เกี่ยวกับการบริหารเวชภัณฑ์และความเข้าใจในการใช้ยาแก่เจ้าหน้าที่ในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

5.         เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้รับความรู้  การบริการที่ถูกต้องและปลอดภัย จากเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบรบือ 

ขอบเขตในการวิจัย

          ศึกษาในหน่วยบริการปฐมภูมิ และสถานีอนามัย จำนวน 17 แห่ง ในอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ดังนี้

1.       หน่วยบริการปฐมภูมิเปลือย

2.       หน่วยบริการปฐมภูมิบ่อใหญ่

3.       หน่วยบริการปฐมภูมิหนองโก

4.       หน่วยบริการปฐมภูมิเหล่ายาว

5.       หน่วยบริการปฐมภูมิดงมัน

6.       หน่วยบริการปฐมภูมิหัวหนอง

7.       หน่วยบริการปฐมภูมิวังปลาโด

8.       หน่วยบริการปฐมภูมิเหล่าตามา

9.       หน่วยบริการปฐมภูมิหนองคูขาด

10.    หน่วยบริการปฐมภูมิโนนราษี

11.    สถานีอนามัยดอนบม

12.    สถานีอนามัยหนองจิก

13.    สถานีอนามัยบกพร้าว

14.    สถานีอนามัยบัวมาศ

15.    สถานีอนามัยโนนทอง

16.    สถานีอนามัยโสกภารา

17.    สถานีอนามัยหนองขาม 

ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ตุลาคม 2548 กันยายน 2549 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.       ทำให้ประชาชนในชุมชนได้รับยาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการรักษา2.       เจ้าหน้าที่ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการใช้ยาและการบริหารเวชภัณฑ์ ที่ถูกต้อง และสามารถถ่ายทอดความรู้แก่ชุมชนได้

3.       เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบรบือมีเวชภัณฑ์ยาที่มีคุณภาพ และเพียงพอต่อการให้บริการขั้นพื้นฐานได้

4.       ทำให้เกิดการประสานงานและการทำงานร่วมกันที่ดีในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบรบือจังหวัดมหาสารคาม

5.       ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการบริหารเวชภัณฑ์ในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบรบือจังหวัดมหาสารคามได้ 

วิธีดำเนินการศึกษาวิจัย

       การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาระบบงานเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งแนวทางปฏิบัติในการบริหารเวชภัณฑ์แบบใหม่ได้มีการพัฒนาและปรับปรุงมาจากแนวปฏิบัติเดิม เพื่อให้การบริหารเวชภัณฑ์ยาในระบบเครื่อข่ายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ โรงพยาบาล หน่วยบริการปฐมภูมิและสถานีอนามัย สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
 

ประชากรกลุ่มตัวอย่าง

       หน่วยบริการปฐมภูมิและสถานีอนามัย ในเขตอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 17 แห่งดังนี้

 1.       หน่วยบริการปฐมภูมิเปลือย

2.       หน่วยบริการปฐมภูมิบ่อใหญ่

3.       หน่วยบริการปฐมภูมิหนองโก

4.       หน่วยบริการปฐมภูมิเหล่ายาว

5.       หน่วยบริการปฐมภูมิดงมัน

6.       หน่วยบริการปฐมภูมิหัวหนอง

7.       หน่วยบริการปฐมภูมิวังปลาโด

8.       หน่วยบริการปฐมภูมิเหล่าตามา

9.       หน่วยบริการปฐมภูมิหนองคูขาด

10.    หน่วยบริการปฐมภูมิโนนราษี

11.    สถานีอนามัยดอนบม

12.    สถานีอนามัยหนองจิก

13.    สถานีอนามัยบกพร้าว

14.    สถานีอนามัยบัวมาศ

15.    สถานีอนามัยโนนทอง

16.    สถานีอนามัยโสกภารา

17.    สถานีอนามัยหนองขาม 

เครื่องมือในการวิจัย

1.       ใบเบิกยาสถานีอนามัย และใบเบิกยาหน่วยบริการปฐมภูมิ

2.       รายงานสรุปมูลค่าการเบิกยาของหน่วยบริการปฐมภูมิและสถานีอนามัย

3.       แบบประเมินงานบริหารคลังเวชภัณฑ์ของหน่วยบริการปฐมภูมิและสถานีอนามัย เช่น 5 ส , ยาหมดอายุ  ยาที่มีปริมาณมากเกินความจำเป็น และยาที่ไม่มีการสั่งจ่าย เป็นต้น 

4.       แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการบริหารคลังเวชภัณฑ์และการใช้ยา 

ขั้นตอนการศึกษาวิจัย

1.       ผู้วิจัยทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องซึ่งได้แก่ ระบบยา งานบริหารเวชภัณฑ์ และระบบสินค้าคงคลัง เป็นต้น

2.       จัดให้มีการประชุมเพื่อทบทวนกรอบบัญชียาของหน่วยบริการปฐมภูมิและสถานีอนามัยโดยคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดร่วมกับตัวแทนจากหน่วยบริการปฐมภูมิและสถานีอนามัย

3.       จัดทำโครงการ

4.       จัดทำตารางเบิก-รับเวชภัณฑ์ของหน่วยบริการปฐมภูมิและสถานีอนามัยประจำปีงบประมาณ 2549

5.       จัดทำแบบประเมินการบริหารคลังเวชภัณฑ์ของหน่วยบริการปฐมภูมิและสถานีอนามัย เช่น 5 ส , ยาหมดอายุ  ยาที่มีปริมาณมากเกินความจำเป็น และยาที่ไม่มีการสั่งจ่าย เป็นต้น

6.       จัดทำแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการบริหารคลังเวชภัณฑ์และการใช้ยา

7.       เก็บรวบรวมข้อมูล

8.       วิเคราะห์ข้อมูล

9.       ทำการประเมินและสรุปผล      

แผนการดำเนินงานและระยะเวลาที่ทำการวิจัย  ทำการศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548-กันยายน 2549

คำสำคัญ (Tags): #โรงพยาบาลบรบือ
หมายเลขบันทึก: 134357เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2007 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นโครงการพัฒนาที่ดีมากเลยคะ อยากทราบว่าผลการศึกษาหรือการดำเนินงานเป็นอย่างไรบ้างเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท