พัฒนาการตรวจคัดกรองผู้รับบริการทันตกรรม


พัฒนาการตรวจคัดกรองผู้รับบริการทันตกรรม
ชื่อเรื่อง    พัฒนาการตรวจคัดกรองผู้รับบริการทันตกรรมขอบเขต  

                ผู้รับบริการที่มาขอรับบริการทันตกรรมในโรงพยาบาลวาปีปทุมในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ  รวมถึงผู้ป่วยที่แพทย์ส่งขอรับคำปรึกษาด้านทันตกรรม

เป้าหมาย        

1.       ผู้รับบริการด้านทันตกรรมได้รับการตรวจคัดกรอง   100%

2.       อุบัติการณ์ที่ผู้รับบริการไม่รอรับบริการลดลงไม่เกินร้อยละ  1

เครื่องชี้วัด

1.       อัตราผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจคัดกรอง

2.       จำนวนผู้ป่วยไม่รอรับบริการ  ( ผู้ป่วยไม่รอรับบริการโดยที่ไม่พบผู้ป่วย และไม่มีใครทราบว่าเพราะอะไรถึงไม่รอรับบริการ ) 

วัตถุประสงค์ของกิจกรรมที่ทำ

                 1.   เพื่อให้ผู้ป่วยทางทันตกรรมได้รับการซักประวัติทั้งทางการแพทย์และทางทันตกรรมเพื่อประเมินสภาพความแข็งแรงของสุขภาพร่างกายของผู้ป่วย  และโรคทางระบบที่สำคัญ  นำไปสู่การเตรียมพร้อมผู้ป่วย  เพื่อลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างและหลังการรักษาทางทันตกรรม

              2.   เพื่อให้คำแนะนำแนวทางการรักษา  ขั้นตอน  ค่าใช้จ่ายและทางเลือกในการรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้รับบริการ ในการตัดสินใจยินยอมรับการรักษาทางทันตกรรม

              3.   เพื่อแยกประเภทผู้รับบริการทางทันตกรรมปัญหาเดิมก่อนการปรับเปลี่ยน

ก่อนปีงบประมาณ  2548  ฝ่ายทันตสาธารณสุขให้บริการผู้ป่วยด้านทันตกรรม    โดยไม่มีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำหน้าห้องทันตกรรม  ซึ่งให้ทันตบุคลากรที่ให้บริการเป็นผู้ซักประวัติก่อนให้บริการผู้ป่วยแต่ละราย  โดยไม่มีการตรวจวัดความดันโลหิตก่อนการถอนฟัน  อาศัยเพียงการซักถามว่าผู้ป่วยมีโรคประจำตัวหรือไม่         จากการดำเนินงานในลักษณะดังกล่าว  ทำให้เกิดปัญหาผู้รับบริการไม่ทราบว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง  บ่อยครั้งที่เปิดประตูคลินิกทันตกรรมเข้าไปซักถามว่าเมื่อไรจะถึงคิว  และจะขอปรึกษาก่อนได้หรือไม่เนื่องจากรอนานแล้ว   และนอกจากนั้นยังมีผู้ป่วยที่ไม่อยุ่รอรับบริการ

           ในคลินิก  เนื่องจากไม่มีคนคอยให้คำแนะนำผู้ป่วยหน้าห้องฟัน  ผู้รับบริการมาตั้งแต่  10.00  .  ได้บัตรคิวลำดับที่ 40  รอจนกระทั่ง 11.45  ถึงได้เข้ารับบริการซึ่งหากต้องการผ่าฟันคุด  หรือขูดหินปูน  ก็จะทำไม่ทัน  ผู้รับบริการต้องรอถึง 1  ชั่วโมงกว่าเกือบ 2 ชั่วโมงแต่ไม่ได้ทำหัตถการ  และในส่วนการทำหัตถการก็ทำอย่างเร่งรีบเนื่องจากมีผู้รับบริการรออยู่มาก  เกิดความเสี่ยงทั้งการถอนฟันแล้วเอาเศษกระดูกออกไม่หมด  และการโต้เถียงกับผู้ป่วยเนื่องจากผู้ป่วยรับบริการนานแล้วไม่ได้ทำหัตถการ  หรือทำหัตถการถึง 12.30 .  ทำให้ได้ทานอาหารเช้า  เริ่มทำงานช่วงบ่ายช้า  ผู้รับบริการตอนบ่ายไม่พอใจ

          ในส่วนของการทำหัตถการ  เป็นการเสี่ยงอย่างยิ่งที่ผู้รับบริการไม่ได้วัดความดันโลหิตและการตรวจคัดกรอง  โดยเฉพาะผู้รับบริการที่ต้องการถอนฟันแล้วไม่ทราบว่าความดันสูง  หรือต่ำกว่าค่าปกติมาก   และนอกจากนั้นยังไม่ได้ทานอาหารเช้าก่อนมาถอนฟันอีกด้วย 

           นอกจากนี้ในส่วนของการทำหัตถการไม่ได้มีการให้ผู้ป่วยลงชื่อยินยอมรับการรักษาทุกรายซึ่งเสี่ยงต่อการฟ้องร้อง

 วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา

1  ไม่ตระหนักถึงอันตราย  /  ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทั้งขณะทำหัตถการและหลังทำหัตถการรวมถึงความเสี่ยงต่อการฟ้องร้องหากไม่ได้รักษาด้วยความระมัดระวัง  เนื่องจากยังไม่เกิดเหตุการณ์ 

2         ไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการให้คำแนะนำผู้ป่วย  รวมถึงการชี้แจงแนวทางการรักษา  เพื่อประกอบการตัดสินใจยินยอมรับการรักษาของผู้ป่วย

ระยะเวลา    มิย. 48 -  กพ.49

ข้อมูลก่อนปรับเปลี่ยน

1.       ไม่มีจุดตรวดคัดกรอง

2.       ไม่มีการวัดความดันโลหิตผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 40 ปี  โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องถอนฟัน

3.       ผู้รับบริการที่ไม่รอรับบริการโดยไม่ได้พบทันตบุคลากรจาก ต.. 47 –.. 48  ( 8 เดือน )

      จำนวน    15    คน   จากผู้รับบริการทั้งหมด  516  คน  คิดเป็น  2.90% 

  การปรับเปลี่ยน

1.       จัดหาโต๊ะเพื่อตั้งจุดตรวจคัดกรองหน้าคลินิกทันตกรรม

2.       จัดหาเครื่องวัดความดันโลหิต  และตราปั้มทางทันตกรรม

3.       อบรมบุคลากรในฝ่ายทุกคนถึงแนวทางการให้บริการผู้ป่วย

4.       จัดทำแบบตรวจคัดกรองโดยให้ทันตาภิบาลรับผิดชอบชอบตรวจคัดกรองหน้าคลินิกทันตกรรมในเวลาราชการ  ส่วนนอกเวลาราชการให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานกับผู้ป่วยเป็นผู้รับผิดชอบผู้ป่วยตนเองเนื่องจากผู้รับบริการไม่คับคั่ง

5.       มีแนวทางการตรวจคัดกรอง  (WI-DT-004)

6.       มีการจัดเวรรับผิดชอบการตรวจคัดกรองที่ชัดเจน

 

หลังปรับเปลี่ยน

1.       มีจุดตรวจคัดกรอง 

2.       สามารถตรวจคัดกรองผู้ป่วยได้ 100 %  ( ยกเว้นผู้ที่ไม่ได้รอรับบริการโดยไม่ผ่านจุด screen ) โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องการถอนฟันและมีการลงหลักฐานการวัดความดันและชีพจรทุกครั้ง

3.       ผู้รับบริการที่ไม่รอรับบริการโดยไม่ได้พบทันตบุคลากรจาก มิ..48 –..49 ( 8 เดือน ) 

      จำนวน  4   คน  จากผู้รับบริการ  1,160  คน  คิดเป็น  0.34% 

สรุป

                การตั้งจุด Screen  หน้าคลินิกทันตกรรมสามารถป้องกันปัญหา  และความเสี่ยงซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้หลายอย่าง  เช่น  สามารถคัดกรองผู้รับบริการที่มีโรคประจำตัวหรือโรคแทรกซ้อนได้ก่อนทำหัตถการ  แก้ปัญหาผู้ป่วยร้องเรียนเนื่องมาจากการไม่พอใจระบบบริการ  หรือการสื่อสารไม่ดี   ป้องกันการร้องเรียนที่อาจเกิดจากการให้การรักษา  ผู้รับบริการได้รับการประเมินภาวะเสี่ยงก่อนทำหัตถการและสามารถวางแผน / จัดทำ  มาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติการณ์กับผู้รับบริการ
คำสำคัญ (Tags): #โรงพยาบาลบรบือ
หมายเลขบันทึก: 134354เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2007 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท