สั่งอาหารด่วนเป็นหมู่คณะ สั่งอย่างไรให้ได้เร็ว ?


สำหรับผองชนผู้มีสำนึกชิมอาหารโอชะไม่ต่างจากจระเข้ยามลิ้มรส เรามีข่าวดีมาบอก

นั่นคือ เคล็ดลับการสั่งอาหารด่วนเป็นหมู่คณะ สั่งอย่างไรให้ได้เร็ว ?

หลักการง่ายมาก

"บวกจำนวนจาน เท่ากับจำนวนคน โดยไม่ซ้ำกันเลย"

เช่น ไปห้าคน บอกว่า บวกห้าจาน ไม่ซ้ำกันสักจาน

พ่อครัว/แม่ครัวก็ไม่ต้องลำบากมาก โยนวัตถุดิบปรุงลงไปมากกว่าเดิมหน่อย จัดการไม่ยาก สะดวกกันทุกฝ่าย 

วิธีนี้ ดูเผิน ๆ ก็เป็น alligator method ดี ๆ นี่เอง คือจระเข้นั้น กินอะไรก็ได้ โยนลงคอ แล้วขยอก ๆ ลงคอ - จบ

แต่จริง ๆ แล้ว วิธีนี้ มีลักษณะเฉพาะอยู่ประการหนึ่ง ที่ดีมาก ๆ

คือ ยิ่งคนไปเป็นหมู่ใหญ่ สั่งแบบนี้ จะเพิ่มโอกาสการที่ทุกคนได้กินอร่อยถูกปากตัวเองเพิ่มมากขึ้น

เช่น คนที่ไป ชอบกินต่างกัน (ผมชินกับสไตล์บ้าน ๆ ทางใต้ ใช้ กิน ไม่ใช้ ทาน ถ้าต้องพูด ทาน แล้วอางขนางใจทู้กที)

เวลาเขาจัดมา เราสลับจานให้ดี ๆ คนที่จำใจกินแบบไม่ถูกปากเลย จะมีโอกาสน้อยลงมากกว่าการไปคนเดียวมาก

ไปห้าคน สั่งห้าจาน ดูเผิน ๆ ก็ไม่ต่างจากการที่คนเดียวสั่งหนึ่งอย่าง

แต่ลองคิดตามดูช้า ๆ นะครับ

กินคนเดียว สั่งแบบนี้ มีโอกาสเลือกได้แบบเดียว

คนแรก เลือกได้ 5 แบบ

คนถัดมา เลือกได้ 4 แบบ  3 แบบ 2 แบบ และ 1 แบบ ตามลำดับ

รวมแล้ว โอกาสเลือกรวมเป็นหมู่คณะคือ 5+4+3+2+1 = 15 แบบ

ก็เท่ากับว่า แต่ละคน มีโอกาสเลือกเฉลี่ยถึง 3 แบบ (15 แบบ หาร 5 คน)

ถ้าไป N คน คิดทำนองเดียวกันนี้ จะได้ว่า แต่ละคน จะมีทางเลือก (N+1)/2 แบบ คือเกือบจะแปรผันตรงกับจำนวนคนที่ไป 

ที่ว่ามานี้ เป็นตัวอย่างเล็ก ๆ ในวิชา enumerative combinatorics ซึ่งโฟกัสไปที่การวิเคราะห์ความถี่ของรูปแบบที่ขยับขยายได้ 

แต่สิ่งที่ผมจะชี้ให้ฉุกคิดคือ คณิตศาสตร์ ไม่สำคัญเท่ามุมมอง

มุมมองที่ได้จากตรงนี้คือ การมีช่องว่างให้แต่ละคนหายใจหายคอ จะทำให้คนสบายใจมากกว่า ไม่ว่าเรื่องกิน หรือเรื่องงาน 

ใครบริหารงานแล้วไม่เรียนรู้ตรงนี้ ถืือว่า สอบตกครับ

...

เอ้อ... คงหมายถึงสอบตก enumerative combinatorics กระมังครับ ?

 

หมายเลขบันทึก: 134336เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2007 09:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

อ่านแล้วก็งงๆอยู่อะครับ ว่าทำไมคนแรกต้องเลือก 5 แบบ.  เลือกนี้คือ เลือกจากเมนู? หรือว่าเลือกกินอาหารที่สั่งมากินรวมกัน?

อันนี้คือสั่งข้าวเปล่ามาแล้วแบ่งกับกันกิน. หรือว่ากินคนละจานครับ?

  • หมายถึงอาหารจานเดี่ยวครับ ราดสำเร็จรูปตามสั่ง
  • การบวกคือ พลอยไปกับคนอื่นที่คิวอยู่ต้น ๆ
  • เช่น คิวเป็น  คะน้า  ผัดขิง  กระเพรา ฯลฯ เราไปบวกแทรก คนทำก็ไม่เสียเวลาเพิ่มนัก
  • เหมาะกับอาหารแบบจานด่วน ในร้านอาหารตามสั่งยามเที่ยง ที่มักมีคิวรอนานครับ

คนแรกเลือกได้ 5 แบบ แสดงว่าก่อนหน้่าที่คนแรกจะสั่งอาหารมีคนสั่งอาหารไว้ก่อนอยู่แล้ว 5 แบบ เลยเลือกได้ 5 แบบจากที่มีคนสั่งไว้อยู่แล้ว? หรือว่าคนแรกไปสั่งคนแรกโดยไม่ต้องดูว่าก่อนหน้านั้นมีใครสั่งอะไรไว้ ก็เลยเลือกอะไรก็ได้? แบบนั้นก็ไม่น่าจะเป็น 5 แบบ? ก็อาจจะได้จำนวนแบบตามที่ร้านจะทำได้ทั้งหมด? 

  • เป็นการที่บอกร้านว่า ทำอะไรมาก็ได้ 5 จาน ทุกจานไม่ซ้ำกัน
  • การบวก คือ การพ่วง ให้ร้านเขาไม่เป็นภาระ
  • เช่น เขาจะทำผัดกระเพรา 3 เราบวกไป 1 จาน เขาแค่หยิบเครื่องปรุงมากขึ้นหน่อยนึง เวลาที่ใช้เพิ่ม คือการตักข้าว และการตักกับข้าวราด คนที่คิวถัดไป เขาไม่ตาเขียว
  • แต่ถ้าผมสั่งอย่างอื่น เช่น ผัดเผ็ดเครื่องแกง กว่าเขาจะหยิบเครื่องปรุงได้ครบ ก็นาน แถมยังต้องล้างกระทะก่อน แบบนั้น เป็นการแซงคิว คนอยู่คิวถัดไป เขาจะด่าว่าแซงคิวครับ
ขอบคุณมากครับ .... เหมือนผมจะเข้าใจแล้ว :-). มุมมองสำคัญจริงๆ.
  • ตามมาเห็นด้วยคะอาจารย์
  • เกือบตีกันหลายครั้งแล้วคะเวลาไปสั่งอาหาร
  • ทำไมเพื่อนได้และจะอิ่มแล้ว..เรายังไม่ได้...เคยเจอบางร้านคะ..ที่เขาไม่เสริฟทีละโต๊ะ..แต่ส่งพร้อมกันทุกโต๊ะ..จะนำวิธีของอาจารย์ไปใช้บ้างนะคะ
P บางร้านกระทะเล็ก สั่งซ้ำแล้วได้น้อยนะครับ. ซ้ำร้ายพอเพิ่มข้าวหรืออะไรแบบนี้กะปริมาณผิด ทำออกมากินไม่อร่อยก็มี. หลังๆมาผมเลยพยายามสั่งไม่ให้ซ้ำกับคนอื่น :-P. 

สวัสดีค่ะ

 คุณ वीर กลัวได้น้อยนะ อิๆๆ

P เป็นเรื่องจริงครับ  :-P.
  • อือม์...ผมใช้แบบนี้อยู่ร้านเดียว บังเอิญว่า ฝีมือเรื่องคะเนปริมาณเขาแม่น
  • รอดตัวไป

 

แบบนี้ผมลองๆเปลี่ยนร้านดู อาจจะได้เยอะขึ้นก็ได้ แฮ่ๆ ;-)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท