สุขบัญญัติ 6 ประการเพื่อสุขภาพที่ดี


สุขบัญญัติ 6 ประการเพื่อสุขภาพที่ดี

สุขบัญญัติ 6 ประการเพื่อสุขภาพที่ดี

สุขภาพดีเป็นหัวใจของความสำเร็จทั้งปวง มีคำถาม 10 ข้อให้ท่านตอบเพียงว่า ใช่หรือไม่ใช่เท่านั้น ถ้าท่านตอบได้คะแนน 10 ข้อ ท่านจะมีโอกาสสูงมากที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดอายุขัยของท่าน

แต่ถ้าท่านตอบไม่ได้คะแนนหลายข้อ ท่านควรต้องคิดทบทวนแก้ไขว่าสาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะอะไร

1. ตัวท่านเองมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานใช่หรือไม่

2. ท่านนอนหลับได้ดีทุกคืนและตื่นขึ้นมาสดชื่นทุกวัน ใช่หรือไม่

3. ท่านออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 ครั้งขึ้นไปเป็นประจำ ใช่หรือไม่

4. ท่านดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสม ใช่หรือไม่

5. ท่านสูบบุหรี่ ใช่หรือไม่

6. ท่านสามารถเดินขึ้นบันไดตึกไปชั้นที่ 3 โดยไม่ต้องหยุดพัก ได้หรือไม่

7. ท่านไปรับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ ใช่หรือไม่

8. ท่านใช้ยาที่มีผลต่ออารมณ์และความรู้สึกนึกคิด ใช่หรือไม่

9. ท่านทราบถึงสาเหตุ วิธีการติดต่อและการป้องกันโรคเอดส์เป็นอย่างดีแล้ว ใช่หรือไม่10. ในปัจจุบัน ท่านมีโรคประจำตัวที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง ใช่หรือไม่

การมีสุขภาพดีจะต้องอาศัยการดูแลตนเอง โดยการประพฤติปฏิบัติตามแนวทางที่เหมาะสมอย่าง

สม่ำเสมอตลอดเวลา แนวทางเพื่อสุขภาพดีตลอดไป ประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้

สุขบัญญัติข้อที่ 1 คือ การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์พอดี

โดยดูจากค่าดัชนีความหนาของร่างกาย ซึ่งจะบอกได้ว่าเราอ้วน หรือผอม วิธีคำนวณหาค่าดัชนี

ความหนาของร่างกาย

น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม / (ความสูงเป็นเมตร)2

ค่าปกติ คือ ผลลัพธ์จะอยู่ระหว่าง 20 – 25 ถ้าต่ำกว่า 20 จัดว่าผอม ถ้ามากกว่า 25 ถือว่าอ้วน

สุขบัญญัติข้อที่ 2 คือการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง

ปริมาณอาหารที่ควรรับประทานในแต่ละวัน

แกง ซุป ของกินเล่นและผลไม้ รวมประมาณ 10% ของแต่ละมื้อ

ถั่วต่างๆและผลิตผลจากถั่ว เช่น เต้าหู้ ประมาณ 15% ของแต่ละมื้อผักดิบและสุกล้างให้สะอาดด้วยการแช่น้ำนานๆ ประมาณ

25% ของแต่ละมื้อ

อาหารประเภทแป้ง ซึ่งไม่ได้ขัดขาว เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ประมาณ 25% ของแต่ละมื้อ

การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดี

รับประทานอาหารอย่างสายกลางคือไม่มากไปและไม่น้อยไป ไม่กินจุบจิบ เลือกรับประทาน

อาหารที่หลากหลาย จำกัดไขมัน และน้ำตาลให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม รับประทานอาหารอย่าง

สมดุลระหว่างพลังงานที่กิน กับพลังงานที่ใช้

สุขบัญญัติข้อที่ 3 คือการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

การออกกำลังกายเป็นหนึ่งในหนทางสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้าง

สมรรถภาพ และประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายทุกส่วนให้เป็นไปด้วยดี โดย

เฉพาะอย่างยิ่งระบบไหลเวียนโลหิต การทำงานของหัวใจและปอด

วิธีการออกกำลังกายที่ดีที่สุด

1. จะต้องเป็นการออกกำลังกายที่ทุกส่วนของร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว ยืดหด เพื่อให้

ทุกๆส่วนได้ใช้พลังงาน

2. เริ่มออกกำลังกายในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิ่งในผู้สูงอายุ(เข่าอาจเกิด

การอักเสบ) แล้วค่อยๆเพิ่มปริมาณทีละน้อยเพิ่มระยะเวลาและความยากให้มากขึ้นตามลำดับ ควรออก

กำลังกสยอย่างน้อย 20-30 นาที/ครั้ง

3. ออกกำลังกายโดยสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง

4. ในขณะที่ออกกำลังกาย ห้ามคิดถึงเรื่องงาน ปล่อยจิตให้ว่าง

5. ควรออกกำลังกายทุกคน ไม่จำกัดอายุ เพศและเวลา แต่ถ้าเป็นเวลาเช้าจะดีที่สุด เพราะจิตใจ

ผ่องใสได้รับอากาศบริสุทธิ์และแสงแดดยามเช้า

6. ไม่ควรออกกำลังกายหลังรับประทานอาหารน้อยกว่า 4 ชั่วโมง ดังนั้นควรออกกำลังกายก่อน

รับประทานอาหาร

สุขบัญญัติข้อที่ 4 คือหลีกเลี่ยงการบริโภคสารที่อันตรายต่อร่างกาย

สุขบัญญัติข้อที่ 5 คือ รู้จักบริหารจัดการกับความวิตกกังวลและการพักผ่อนที่เพียงพอ

การพักผ่อนมีความสำคัญมากกับอวัยวะทุกส่วนของร่างกายคนเรา สมอง

ต้องการหยุดคิด หยุดตัดสินใจ สายตาต้องการหยุดมอง กล้ามเนื้อต่างๆต้องการพัก

กระเพาะลำไส้ต้องการหยุดย่อยอาหาร อวัยวะทุกชนิดต้องการพักผ่อนทั้งสิ้น แม้

กระทั่งหัวใจก็ต้องการหยุดพักในขณะนอนหลับ หัวใจจะเต้นช้าลง ก็ถือว่าการพัก

ผ่อนของหัวใจผู้ใหญ่อาจนอนประมาณ
6-8 ชั่วโมง ซึ่งแต่ละคนคงต้องดูความ

เหมาะสมของตนเองว่า นอนเพียงใดทำให้ร่างกายสดชื่น มีความพร้อมสำหรับทำงานใน

วันรุ่งขึ้น สมองมีความปลอดโปร่งคิดตัดสินใจได้ดี

สุขบัญญัติข้อที่ 6 คือ การตรวจเช็คร่างกายตามระยะเวลาที่เหมาะสม

การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ตามระยะเวลาที่เหมาะสม จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรค

ร้ายบางโรคได้ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน เป็นต้น โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่
40 ปี

ขึ้นไป และผู้สูงอายุควรจะเข้ารับการตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปี

ทำไมต้องตรวจสุขภาพ

ในคนที่อายุเลย 25 ปีขึ้นไป ขบวนการ สร้าง ของเซลล์อวัยวะ

ต่างๆมีปริมาณน้อยลง แต่กลับเกิดการสูญเสียเซลล์จากอวัยวะโดยเฉพาะ

เซลล์ของหัวใจ กล้ามเนื้อตาย เซลล์สมอง กระดูกอ่อน และไต

การละเลยต่อการดูแลสุขภาพ ผลที่เกิดตามมาเมือ่มีอายุมากขึ้นคือ

เป็นโรคเรื้อรัง มีอาการหลายอย่างเกิดขึ้นพร้อมกัน โรคที่เกิดขึ้นจะมีสาเหตุหนึ่งมาจากการ

เสื่อมของอวัยวะ และเกิดขึ้นรวมกันหลายๆโรค

ดังนั้นการตรวจสุขภาพจึงไม่ควรเน้นเฉพาะผู้สูงอายุที่พ้นวัยทำงานแล้วเท่านั้น ควรเริ่มตั้งแต่วัย

ที่พละกำลัง และสมรรถภาพของร่างกายเริ่มเสื่อมลง คือ กลุ่มอายุตั้งแต  25 ปีขึ้นไป

Created by: ปกรณ์ เชนพูน (www.thaisafety.net)

ที่มา: Health, Environment and Safety Bulletin /Unocal Thailand

คำสำคัญ (Tags): #kmeduyala3#kmobec
หมายเลขบันทึก: 133473เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2007 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท