ประวัติความเป็นมาอำเภอเบตง


ประวัติความเป็นมาของอำเภอเบตง จังหวัดยะลา

อำเภอเบตง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อำเภอเบตง
แผนที่จังหวัดยะลา เน้นอำเภอเบตง
 
 
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย อำเภอเบตง
อักษรโรมัน Amphoe Betong
จังหวัด ยะลา
รหัสทางภูมิศาสตร์ 9502
รหัสไปรษณีย์ 95110
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 1,328.0 ตร.กม.
ประชากร 50,477 คน (พ.ศ. 2543)
ความหนาแน่น 38.0 คน/ตร.กม.
สำนักงานอำเภอ

เบตง เป็นอำเภอขนาดใหญ่ในจังหวัดยะลา นับเป็นอำเภอใต้สุดของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองยะลาระยะทางประมาณ 140 กิโลเมตร มีพื้นที่ด้านเหนือติดต่อกับอำเภอธารโต ด้านตะวันออกติดต่อกับอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ทิศใต้และทิศตะวันตกติดต่อกับรัฐเปรัก และรัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซียตั้งเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2441

คำว่า "เบตง" (Betong) มาจากภาษามลายูว่า "Buluh Betong" หมายถึง ไม้ไผ่ หรือ ไผ่ตง

เนื้อหา

[ซ่อน]

ประวัติ

เดิมพื้นที่อำเภอเบตง ขึ้นอยู่กับเมืองรามัน ซึ่งเป็น 1 ใน 7 หัวเมืองของมณฑลปัตตานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2411 ได้ตั้งขึ้นเป็นอำเภอ ชื่อว่า "อำเภอยะรม" (ตั้งอยู่บ้านฮางุส ม.1 ต.เบตง) แบ่งการปกครองออกเป็น 6 ตำบล คือ ตำบลเบตง ตำบลยะรม ตำบลอิตำ ตำบลโกรเน ตำบลบาโลน ตำบลเซะ หรือ โกร๊ะ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 จากผลการปักปันแดน ระหว่างไทย-มาลายาอาณานิคม ของอังกฤษเป็นเหตุให้ ตำบลอิตำ ตำบลโกรเน ตำบลบาโลน ตำบลเซะ หรือ โกร๊ะ รวม 4 ตำบล ถูกตัดออกจากตำบลยะรม (เบตง) ไปรวมกับรัฐเปรัก มาเลเซีย อำเภอยะรม (เบตง) ไปรวมกับรัฐเปรัก มาเลเซีย อำเภอยะรม (เบตง) จึงเหลือการปกครองอยู่เพียง 2 ตำบล คือ ตำบลเบตง ต่อมาได้มีการจัดตั้ง ตำบลอัยเยอร์เวง และ ตำบลฮาลา จากหลักฐานปรากฏว่า มีตำบลอัยเยอร์เวง ในปี พ.ศ. 2462 และมีตำบลฮาลา ในปี พ.ศ. 2486

ต่อมาอีก 21 ปี ในปี พ.ศ. 2473 สมัยที่พระพิชิตบัญชาการเป็นนายอำเภอ ได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอจากบ้านฮางุส หมู่ 1 ตำบลเบตง มาตั้งอยู่ที่ บ้านกำปงมัสยิด หมู่ 6 ตำบลเบตง พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อจาก "อำเภอยะรม" เป็น "อำเภอเบตง" ซึ่งเป็นภาษามลายู ซึ่งแปลความหมายว่า "ไม้ไผ่" (ที่ว่าการอำเภอหลังเก่า ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีตำรวจภูธรอำเภอเบตงปัจจุบัน) และในปี พ.ศ. 2481 ได้ตั้งตำบลตาเนาะแมเราะ ปี พ.ศ. 2482 ได้ยุบตำบลฮาลาไปรวมกับ ตำบลอัยเยอร์เวง รวมทั้งได้ประกาศตั้งเทศบาลตำบลเบตง โดยครอบคลุมพื้นที่ตำบลเบตงทั้งหมด ต่อมาเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2527 กระทรวงมหาดไทย ประกาศตั้งตำบลธารน้ำทิพย์ ทำให้อำเภอเบตงมีการปกครอง รวม 5 ตำบล คือ ตำบลยะรม ตำบลอัยเยอร์เวง ตำบลตาเนาะแมเราะ ตำบลธารน้ำทิพย์ และอีกหนึ่งเทศบาล คือ เทศบาลตำบลเบตง

ต่อมาได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภออีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 มาตั้งอยู่ที่ปัจจุบัน โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานเปิดอาคารหลังใหม่

 สภาพทางภูมิประเทศ

ตัวเมืองเบตงอยู่ห่างจากด่านชายแดนเบตงเป็นระยะทาง 7 กิโลเมตร เป็นเมืองที่มีความสำคัญด้านการท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้า เป็นเมืองหน้าด่านที่จะนำสินค้าเข้าออกไปยังท่าเรือน้ำลึกปีนังของมาเลเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ และเทือกเขาสันกาลาคีรี

 ประชากร

เบตงมีประชากร 55,500 คน ประกอบด้วยคนไทยหลากหลายเชื้อชาติ เป็นคนไทย-มลายูมุสลิมเกือบ 50% คนไทยเชื้อสายจีน(มี 5 เชื้อสาย ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว จีนแคะ กวางสี) 30%และคนไทยพุทธราว 20% อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข ให้เกิดการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมที่หลากหลายได้อย่างลงตัว

ส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการทำสวนผลไม้และทำไร่ ส่วนในตัวเมืองนั้นประชากรจะประกอบอาชีพเกี่ยวกับการให้บริการด้านการท่องเที่ยว ทาง ก่อ

 

 เศรษฐกิจ

นอกจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เบตงยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น ยางพารา สัมโชกุน ดอกไม้เมืองหนาว ผักน้ำ เป็นต้น

 ที่ตั้ง

 หน่วยการปกครอง

อำเภอเบตง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 27 หมู่บ้าน 1 เทศบาลเมือง (เทศบาลเบตง) 4 องค์การบริหารส่วนตำบล

ใส่ตัวเลข ชื่อ หมู่บ้าน ประชากร     
1. เบตง - 24,688  
2. ยะรม 7 8,336  
3. ตาเนาะแมเราะ 7 9,117  
4. อัยเยอร์เวง 9 8,662  
5. ธารน้ำทิพย์ 4 3,817  
 แผนที่

 แหล่งข้อมูลอื่น

 

อำเภอเบตง เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ อำเภอเบตง ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย
คำสำคัญ (Tags): #kmeduyala3#kmobec
หมายเลขบันทึก: 133425เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2007 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท