งานวิชาการ


โครงการจัดหลักสูตรที่ยืดหยุ่นเหมาะสมสนองความต้องการของ ผู้เรียนและ ท้องถิ่น
1.      สภาพปัจจุบันและปัญหา             กระแสปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบัน  ภายใต้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  ..  2542  ถือว่ายุคนี้เป็นยุคแห่งการปฏิรูปของเมืองไทย  รัฐบาลได้ปฏิรูปทั้งระบบการเมือง  ระบบราชการ  และระบบการศึกษาตลอดจนระบบสาธารณะสุข  การปฏิรูปที่จะให้สำเร็จนั้นต้องมาจากการศึกษา เพราะฉะนั้นการปฏิรูปการศึกษาจึงเป็นหัวใจสำคัญที่ส่งผลสำเร็จต่อการปฏิรูปด้านอื่นๆที่ได้กล่าวมาแล้ว          การปฏิรูปหลักสูตร  ประกอบด้วยหลักสูรแกนกลางที่กรมวิชาการกำลังดำเนินการทดลองใช้หลักสูตร  และหลักสูตรท้องถิ่น  เป็นหลักสูตรที่ท้องถิ่นต้องการให้นักเรียนได้เรียนตามความเหมาะสมและความต้องการของแต่ละท้องถิ่น  ในส่วนการศึกษาของสายพระปริยัติธรรม  แผนกสามัญศึกษา  ยังไม่มีการนำหลักสูตรท้องถิ่นมาใช้อย่างจริงจัง  แต่พยายามปรับเปลี่ยนให้นักเรียนได้เรียนหลักสูตรท้องถิ่นที่ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย  อาทิ  งานจักสาน  งานปลูกพืชผักสวนครัว  งานเพาะเห็ดเป็นต้น         ในส่วนของโรงเรียนระปริยัติธรรมวัดขนาน  ได้นำหลักสูตรท้องถิ่นเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนคือ  การเพาะเห็ด  การทำขนมไทย  ตลอดทั้งการจักสาน  โดยเชิญวิทยากรในท้องถิ่นที่มีความรู้  ความชำนาญมาถวายความรู้นักเรียน  นอกจากนี้  ยังได้เชิญตำรวจเข้ามาอบรมในเรื่องยาเสพติดในชั่วโมงกิจกรรมว่างอีกด้วย  เพื่อให้นักเรียนห่างไกลยาเสพติด 2.  ความหมายและขอบข่าย         หลักสูตรท้องถิ่น  หมายถึง  หลักสูตรการเรียนการสอนที่นำวิชาในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้  และสามารถที่จะนำเอาไปประกอบอาชีพอิสระเลี้ยงตนเองได้         ขอบข่ายของโครงการ :  นักเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดขนานจำนวน  63  รูป3.       หลักการและเหตุผล         การเรียนรู้ตามแนวทางของพระราชบัญญัติแห่งชาติ  2542  ในมาตราที่  22 ที่ยึดหลักการว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้  และพัฒนาตนเองได้นั้น  ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้  มุมมอง  ความเชื่อ  แง่คิดของครูผู้สอนและคนทั่วไป  การเรียนรู้ในหลักสูตรท้องถิ่นถือว่าเป็นการนำเอาทรัพยากรท้องถิ่นเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  สอคล้องกับนโยบายของรัฐที่ว่าหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์เพราะฉะนั้น  การเรียนการสอนในสายปริยัติธรรมในปัจจุบันจึงได้นำเอาหลักสูตรท้องถิ่นเข้ามาปรับใช้เป็นจำนวนมาก4.      วัตถุประสงค์4.1    เพื่อให้มีหลักสูตรและเนื้อหาสาระหลากหลายเหมาะสม  สนองความต้องการ  ความถนัด  และความสนใจของผู้เรียนและท้องถิ่น4.2    เพื่อให้มีเอกสารประกอบหลักสูตรอย่างครบถ้วนและเพียงพอ5.      เป้าหมาย         โรงเรียนพระปริยัติธรรมสามารถผลิตหลักสูตรท้องถิ่นที่สนองความต้องการของนักเรียนและชุมชนได้6.      ทรัพยากร6.1    บุคลากร  ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่เป็นวิทยากร  จำนวน 2 รูป/คน6.2    วัสดุอุปกรณ์  ได้แก่  แผนการเรียนที่สถานศึกษาจัดขึ้น  รายวิชาเลือกเสรีที่สถานศึกษาเปิดสอน  และจุดประสงค์การเรียนรู้7.      วิธีการและขั้นตอนการดำเนินงาน7.1    แต่งตั้งกรรมการดำเนินงาน7.2    สำรวจความต้องการของนักเรียน  ผู้ปกครอง  ชุมชน  เกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ที่ต้องเปิดสอน7.3    ประชุมกรรมการชี้แจงวัตถุประสงค์7.4    กรรการดำเนินการโครงการ7.5    สรุปประเมินผล8.      ผลที่คาดว่าจะได้รับ8.1    โรงเรียนสามารถผลิตหลักสูตรท้องถิ่นที่สนองความต้องการของนักเรียนและชุมชนได้8.2    สามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่น  เทคโนโลยี  มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน8.3    นักเรียนมีความหลากหลายในการเรียนรู้9.      การประเมินผลตรวจสอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู     สังเกตการณ์จัดกิจกรรมการเรียนการสอนว่าสอดคล้องกับแผนที่กำหนดไว้หรือไม่     สอบถามนักเรียนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู     นำผลสรุปมาเทียบกับเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดไว้10.  งบประมาณ  :   สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครศรีธรรมราช11.  ระยะเวลาดำเนินการ  
                               ระยะเวลา กิจกรรม                  ปีการศึกษา  2549 .   .    มี.  เม.   .    มิ.    .     .   .     .    .    .
1.เเต่งตั้งคณะกรรมการการเนินงาน2.ประชุมกรรมการชี้แจงวัตถุประสงค์3.ดำเนินงานตามโครงการ4.สรุปประเมินผล     
 ความต้องการทรัพยากร                 การเรียนรู้ในหลักสูตรท้องถิ่นถือว่าเป็นการนำเอาทรัพยากรท้องถิ่นเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  สอดคล้องกับนโยบายของรัฐที่ว่าหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์เพราะฉะนั้น  การเรียนการสอนในสายปริยัติธรรมในปัจจุบันจึงได้นำเอาหลักสูตรท้องถิ่นเข้ามาปรับใช้เป็นจำนวนมาก                ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดขนาน  แผนกสามัญศึกษา  จึงได้มุ่งในการให้นักเรียนได้ปฏิบัติ  โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด  จึงได้นำทรัพยากรที่มีอยู่ในบริเวณโรงเรียนมาประยุกต์ใช้โดยให้นักเรียนเลือกปฏิบัติตามกลุ่มโครงงานที่เด็กมีความสนใจเฉพาะด้าน ปัญหาทรัพยากรและแนวทางในการแก้ปัญหา             ในการมุ่งเน้นงานวิชาการเพื่อมุ่งให้เกิดการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  จากปัจจัยดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาในการจัดสรรทรัพยากร  อันเนื่องมาจากขาดงบประมาณ  เนื่องจากงบประมาณโดยส่วนใหญ่แล้ว  มาจากแรงศรัทธา  ของชาวบ้าน  ทางโรงเรียนจึงมีวิธีการนำทรัพยากรในท้องถิ่นที่ได้ศึกษาจากสื่อต่างๆ  จากการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน  โดยวิธีการนำวัสดุอุปกรณ์เหลือใช้  และจากการปฏิบัติงานที่เป็นกลุ่มสาระงานฝีมือมาปฎิบัติอย่างจริงจัง เช่น              1. นำยางล้อรถยนต์เก่า เก็บมาจากอู่ต่างๆ  นำมาวางซ้อนกัน  ที่เรียกกันว่าคอนโด  หรือที่เรียกว่า  การเลี้ยงกบคอนโด  ซึ่งมีกลุ่มนักเรียนที่เรียกกันว่ากลุ่มงานวิชาการเกษตรเป็นผู้เขียนโครงการ  และการปฏิบัติ  ตลอดโดยกลุ่มวิชาการเกษตรเอง                2.  นำแก้วน้ำที่เหลือจำนวนมากที่มีอยู่ในวัด  จากการบรรพชา  อุปสมบทที่มีทางกลุ่มที่เรียกว่านักประดิษฐ์  หรืองานผีมือ  นำมาเขียนเป็นโครงงาน  และปฏิบัติ  โดยการเพ้นท์แก้ว เพื่อเพิ่มมูลค่าของแก้วน้ำ  และสามารถนำมาเป็นสินค้าเพื่อเสริมรายได้ให้แก่  นักเรียนได้อีกทางหนึ่ง  นอกจากนี้  ยังมีงาน  กัดกระจกเงาเป็นรูปต่าง   งานจักสาน  เป็นต้น  นอกากนั้นในขณะนี้ทางโรงเรียนยังมีกลุ่มนักเรียนที่มีความสนใจ  ในงานการเลี้ยงนกกระทาเป็น  อาชีพเสริมให้กับนักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้มีการศึกษาและปฏิบัติ เมื่อลาสิกขา จะสามารถนำมาประกอบอาชีพต่อไปในอนาคตได้ 
หมายเลขบันทึก: 133355เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2007 00:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งในการสอบหลักสูตรแกนกลางฉบับนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท