คลินิกเท้า รพ.วิเชียรบุรี


คลินิกเท้า รพ.วิเชียรบุรี(เอื้อมเดือน นามวิเศษ)

งานคลินิกสุขภาพเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
ความเป็นมา
โรงพยาบาลวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 150 เตียง ได้ดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุขในด้านการรักษา ส่งเสริม ป้องกันฟื้นฟู ให้กับประชาชนในเขตรับผิดชอบ มีผู้ป่วยเบาหวานประมาณ 2,000 คน คลินิกเบาหวานเกิดขึ้นเมื่อใดไม่แน่นอน แต่คนไข้เบาหวานที่มารับบริการในแต่ละนัดประมาณ 200 คนต่อครั้ง ไม่มีคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ถ้าพบผิดปกติจึงส่งพบแพทย์ จนกระทั่ง  เมื่อปี พ.ศ.2546 ได้พัฒนาคลินิกเบาหวานขึ้น โดย พญ.นิภาพร อรุณวรากรณ์ได้จัดตั้งทีมเบาหวานเป็นสหวิชาชีพและเริ่มศึกษาดูงานคลินิกเบาหวานที่โรงพยาบาลเทพธารินเป็นเวลา 1 วัน โดยมีโอกาสศึกษาดูงานที่คลินิกเท้าเพียงระยะเวลาสั้นๆ จากนั้นได้ปรับปรุงคลินิกเบาหวานเป็น one stop service โดยให้มีมุมตรวจเท้าเพิ่มขึ้น พบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าเป็นจำนวนมากบางครั้งพบช้าไปจนต้องส่งให้แพทย์ศัลยกรรมเพื่อตัดเท้าค่อนข้างมาก  แต่เมื่อจัดตั้งมุมตรวจเท้าขึ้นนั้น ในผู้ป่วยที่ยังไม่พบผิดปกติก็สามารถป้องกันการเกิดแผลที่เท้าได้เป็นอย่างดี ทำให้ลดภาวะเสี่ยงที่อาจต้องตัดเท้าลงได้ แต่ในมุมตรวจเท้านั้นมิได้มีการตรวจด้วยเครื่องมือใดๆ เป็นเพียงตรวจด้วยตาเปล่าและให้คำแนะนำไปตามที่มองเห็นและจากที่ไปศึกษาดูงานมาที่ รพ.เทพธารินนั้น ยังขาดความรู้ความชำนาญในการตรวจเท้าและการทำแผลที่เท้าอีกมาก ดังนั้นทาง รพ.วิเชียรบุรีจึงได้พยายามแลกเปลี่ยนเรียนรู้คลินิกเท้ากับ รพ.พุทธชินราช ในวันที่ 14 ธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา โดยได้เดินทางไปคลินิกเบาหวาน กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง รพ.พุทธชินราช จ.พิษณุโลก และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลเท้ากับทีมเบาหวานของ รพ.พุทธชินราช ในครั้งนั้น รพ.วิเชียรบุรีประทับใจในการต้อนรับและมิตรภาพอันอบอุ่นที่ได้รับจากทีมเบาหวานของพุทธชินราชมาก เหมือนว่าเรากำลังกลับมาบ้านเก่าที่จากไปนาน เนื่องจากว่าจนท.ในทีมหลายท่านจบการศึกษาที่นั้น และที่ประทับใจสุดๆคือ รพ.พุทธชินราชเต็มใจและเต็มที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้ รพ.ชุมชนเล็กๆอย่างวิเชียรบุรีใจพองโต มีพลังและเต็มที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนั้น กลับมารพ.วิเชียรบุรีได้เริ่มนำการตรวจเท้าโดยใช้ monofilament มาใช้ในคลินิกเบาหวาน และเริ่มปรับปรุงรูปแบบคลินิกใหม่โดยเพิ่มมุมต่างๆมากขึ้น และในช่วงต่อไป รพ.วิเชียรบุรี จะจัดแคมป์เบาหวานในวันที่ 2-3 กพ.49 โดยดึงชุมชน PCU สอ. เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น รพ.วิเชียรบุรี ก็ยังขาดประสบการณ์ในตรวจเท้าและการทำแผลผู้ป่วยเบาหวานที่สมบูรณ์ จึงได้พยายามเรียนรู้ต่อไป โดยขอศึกษาการตรวจและการดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานจาก รพ.เทพธาริน และได้รับคำตอบจาก อ.ดร.วัลลา ว่ายินดีรับรพ .วิเชียรบุรี ร่วมฝึกงานการดูแลเท้ากับ รพ.พุทธชินราช นับว่าเป็นโอกาสดียิ่ง ของ รพ.วิเชียรบุรี และให้โควตาเรา 1 คน ดังนั้น รพ.วิเชียรบุรีจึงขอส่ง

 

1.นายวสิน นงนาคพเนาว์ พยาบาลวิชาชีพ 5 -พยาบาลศาสตร์บัณฑิต ม.นเรศวร จ.พิษณุโลก ปี 2543 -ประกาศนียบัตรพยาบาลเฉพาะทางอุบัติเหตุและฉุกเฉิน หลักสูตร 4 เดือน รพ. รามาธิบดี ปี 2547 -ประสบการณ์การทำงานแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 5 ปี -ประสบการณ์ในคลินิกเบาหวานคือตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวาน ทำแผลผู้ป่วย 2 ปี ส่วนสำคัญที่โรงพยาบาลวิเชียรบุรี ขอเรียนรู้จากโรงพยาบาลเทพธารินคือ
 1.  รูปแบบการจัดบริการคลินิกสุขภาพเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
 2.  ทักษะการตรวจคัดกรองและประเมินเท้าที่ถูกต้อง เช่น การวัด ABI  การทดสอบความรู้สึกที่เท้า การจับชีพจรที่เท้า การวัดอุณหภูมิที่ผิวหนังเท้า การตรวจหาตาปลา  เป็นต้น
 3.  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ neuropathic ulcer
 4.  การดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพเท้าตามระดับความเสี่ยง
 5.  ทักษะการดูแลเท้าเพื่อป้องกันการเกิดแผล และทักษะการดูแลแผลต่างๆ เพื่อป้องกันการถูกตัดเท้าและขา
 6.  ทักษะการขูดและตัดหนังหนาและตาปลาในผู้ป่วยเบาหวาน  เทคนิคการทำแผลใหม่ๆ
 7.  ประสบการณ์การสอนให้ผู้ป่วยดูแลสุขภาพเท้าและแผลที่เท้าด้วยตนเอง

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13306เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2006 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ยินดีต้อนรับคุณวสิน พบกันเช้าวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์นะคะ
การรักษาโรคเบาหวานแบบหายขาดโดยสมุนไพรไทย หายขาดจริงๆครับ โดยความบังเอิญที่คุณพ่อผมได้เดินทางมาหาที่บ้านที่จังหวัดขอนแก่นแล้วมาเจอกับ คุณ ยายผมที่ป่วยเป็นเบาหวานมาหลายปี โดยการรักษาตลอด 12ปีที่ผ่านมาต้องไปรับยาทุกอาทิตย์ ตื่นตั้งแต่ตี 5เพื่อไปโรงบาล แกบอกว่าทรมานมากใครไม่เป็นไม่รู้หรอก เพื่อนๆแกได้ตัดนิ้ว-แขน-ขา บางคนตาบอด และตายไปก็หลายสิบคนแล้ว พ่อบอกกับแม่ว่าแกมีสูตรสมุนไพรโบราณสมัยคุณปู่ผมที่อยู่ที่มาเลย์เซียก่อนเดินทางมาไทยและนำมาผสมกับสมุนไพรของคุณตาผมที่นำมาจากไร่ที่ จังหวัดเลยผสมชงทานกัน ตอนแรกแกไม่ยอมทาน กลัวสารพัดผ่านไปหลายวันเข้าพ่อผมแกก็ชงทานทุกวันให้แกดูเป็นตัวอย่าง แกเลยยอมหลังจากทานไปสัก 3-4วันแกบอกว่าจะปัสสาวะบ่อยมากและจะมีอาการร้อนวูบวาบ และอาการชาปลายนิ้วตอนเช้าได้หายไปและหลังจากทานไปได้ 7วันแกอยากทานนั่นทานนี่(ปรกติไม่ยอมทานอะไร) ผิวพรรณจากแห้งๆเริ่มมีน้ำมีนวล และขาเริ่มมีกำลังสามารถลุกขึ้นเดินได้ จนแม่ได้พาไปตรวจที่ โรงพยาบาลขอนแก่น ผลออกมาว่าน้ำตาลในเลือดจากเดิม 230 ลดลงเหลือเพียง 115เท่านั้น เอง จนหมอเองก็ประหลาดใจอยู่ไม่น้อย แกทานมาได้สักประมาณ 1เดือนแล้วกลับไปวัดน้ำตาลอีกก็ได้รับผลว่าปรกติดี จวบจนถึงปัจจุบันนี้คุณหมอ ได้ทำการแจ้งว่าไม่ต้องมาตรวจแล้วครับ หายจากการเป็นเบาหวานแล้ว ก็ทำให้ทุกคนในบ้านประหลาดใจมากครับผมคนนึงที่ไม่เชื่อครับ ก็เลยเอามให้น้องๆที่ทำงานที่ร้อยเอ็ดนำไปให้คนที่บ้านทาน ผลก็เป็นเช่นเดิมกับยายผมทานไปน่าจะประมาณ 83คน มีที่ไม่หาย 3คน ซึ่งจากการสอบถามแล้วได้ความว่าทานไปเพียง 1-3วันแล้วไม่กล้าทานต่อครับส่วนท่านอื่นๆปัจจุบันหายขาดแล้วเพราะไม่ได้นำไปทานอีกเลยผมจึงบอกคนที่หายว่าถ้าทานแล้วหายให้ระลึกถึงคุณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วที่ได้คิดค้นสูตรโบราณนี้ไว้ให้แก่คนรุ่นนี้ครับ  อัศจรรย์จริงๆครับ รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อที่ คุณ ธิดา อึ้งนภารัตน์ 123/456 .เพรสซิเดนท์ ต.แดงใหญ่ .เมือง จ.ขอนแก่น 40000หรือโทร 083-3459197 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท