การจัดหาที่อยู่ใหม่ให้กับผู้ป่วยสุราสูงอายุ


ปัญหาการดื่มสุราในกลุ่มผู้สูงอายุ อาจจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป การเป็นครอบครัวเดี่ยว การมุ่งเน้นเรื่องประกอบอาชีพ เน้นหารายได้ ทำให้ไม่ได้ดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุในครอบครัวเท่าที่ควร สัมพันธภาพในครอบครัวที่ลดน้อยลง ความห่างเหินของสมาชิกในครอบครัวทำให้ผู้สูงอายุต้องหันไปหาทางออกโดยการพึ่งพาการดื่มสุรามากยิ่งขึ้น ดังนั้นหากครอบครัวหันมาให้การดูแล สนใจ ใส่ใจ ผู้สูงอายุมากขึ้น ก็อาจจะช่วยลดปัญหาการดื่มสุราในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้มากขึ้น และอาจช่วยลดการเกิดปัญหาสังคมต่างๆที่ตามมาได้

การจัดหาที่อยู่ใหม่ให้กับผู้ป่วยสุราสูงอายุ                       

  จากประสบการณ์ในการปฏิบัติงานพบว่าผู้ป่วยสุราสูงอายุมักประสบกับปัญหาทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ดังนี้                     

   1. ปัญหาด้านร่างกาย   ผู้ป่วยสุราสูงอายุมีพยาธิสภาพทางด้านร่างกายตามสภาพวัย  เช่น  การเสื่อมสภาพของระบบอวัยวะต่างๆ   ประกอบกับเมื่อมีการดื่มสุราร่วมด้วยแล้ว ย่อมเกิดภาวะแทรกซ้อนทางร่างกาย เช่น ปัญหาด้านความจำ  การเคลื่อนไหวของร่างกาย ปัญหาระบบประสาท   ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น                       

 2.  ปัญหาด้านจิตใจ  อารมณ์   ผู้ป่วยสุราสูงอายุเมื่อหยุดการดื่มสุราในระยะแรก จะมีอาการขาดสุราทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า    การรับรู้คุณค่าในตนเองต่ำ   ภาวะทางอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย  หงุดหงิด   น้อยใจง่าย  ฯลฯ                       

3.  ปัญหาสังคม     ผู้ที่ใช้สุรามักดูแลตนเองน้อยลง อันเนื่องมาจากการดำเนินกิจกรรมส่วนใหญ่จะหมกมุ่นอยู่กับการใช้สุรา ส่งผลให้ไม่ดูแลตนเอง ไม่สนใจสภาพแวดล้อมและบุคคลรอบข้าง   ส่งผลต่อสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยและคนในครอบครัว   ในบางรายที่มีประวัติการดื่มสุรามาเป็นระยะเวลานาน มีพฤติกรรมการดื่มตั้งแต่วัยรุ่นจนวัยผู้ใหญ่ อาจมีพฤติกรรมเสพติดซ้ำซาก  กลับไปดื่มสุราซ้ำ  ส่งผลให้ครอบครัวเกิดความรู้สึกไม่ไว้วางใจ เบื่อหน่าย  สัมพันธภาพในครอบครัวห่างเหิน เป็นต้น                        

นอกจากนี้ยังพบว่าจากโครงสร้างครอบครัวของสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงจากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยว  สังคมเน้นวัตถุนิยม มีการแข่งขันกันมากขึ้น ประชาชนส่วนใหญ่เน้นเรื่องการทำงาน   ออกไปประกอบอาชีพนอกบ้าน  หรือ  ไปทำงานในพื้นที่อื่นๆ ไม่ได้อยู่กับครอบครัว ปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านเพียงลำพัง  ขาดผู้ดูแล  ส่งผลให้เกิดความเครียด   เหงา รู้สึกโดดเดี่ยวถูกทอดทิ้ง   ผู้สูงอายุจึงหันไปดื่มสุรามากขึ้น  ดังนั้นในการบำบัดรักษาผู้ป่วยสุราสูงอายุจึงต้องดูแลผู้ป่วยแบบครบวงจร  คือให้การดูแลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ตลอดจนด้านสังคม ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัว แต่ก็ยังพบว่าในผู้ป่วยสุราสูงอายุบางรายต้องประสบปัญหาในเรื่องการขาดผู้ดูแล  ไม่มีญาติ นักสังคมสงเคราะห์จึงมีบทบาทหน้าที่ในการจัดบริการสังคม  จัดหาที่อยู่ให้กับผู้ป่วยที่ประสบปัญหาในเรื่องนี้  ดังเช่นกรณีตัวอย่าง.....ผู้สูงอายุชายไทยมาเข้ารับการบำบัดรักษาอาการติดสุราที่สถาบันธัญญารักษ์   ผู้ป่วยเดินทางมาเพียงคนเดียวไม่มีญาติ  ไม่มีเงิน ต้องการเลิกสุราเนื่องจากมีปัญหาสุขภาพ อ่อนเพลีย มีอาการหน้ามืดเวลาลุกนั่ง  แขนขาอ่อนแรง มีโรคประจำตัวคือโรคกระเพาะอาหาร  จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าเมื่อวัยหนุ่มผู้ป่วยประกอบอาชีพรับจ้างต้องเดินทางไปทำงานต่างจังหวัด ทำให้ห่างเหินกับครอบครัว   ผู้ป่วยแยกทางกับภรรยา  ต้องไปอาศัยอยู่กับครอบครัวของบุตรชายซึ่งมีความขัดแย้งกันมาตลอดเพราะผู้ป่วยดื่มสุรามาเป็นเวลานานและไม่ค่อยอยู่ใกล้ชิดกับลูก ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระของลูก จึงต้องการมารักษาอาการติดสุรา  เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาจนอาการดีขึ้น  จากการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วย  พบว่าผู้ป่วยไม่ต้องการกลับไปอยู่กับครอบครัวของบุตรชาย นักสังคมสงเคราะห์พยายามติดต่อครอบครัวผู้ป่วยแต่ไม่สามารถติดต่อได้ จึงวางแผนการเยี่ยมบ้าน โดยประสานงานไปที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปทุมธานีในการลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน แต่ก็ไม่พบญาติของผู้ป่วยตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ นักสังคมสงเคราะห์จึงวางแผนการช่วยเหลือร่วมกับผู้ป่วย  ซึ่งผู้ป่วยยืนยันที่จะหาที่อยู่ใหม่  โดยขอความช่วยเหลือให้นักสังคมสงเคราะห์ช่วยจัดหาที่อยู่ให้ จึงได้มีการประสานขอข้อมูลไปตามหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานสงเคราะห์คนชรา  สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดปทุมธานี โดยได้ข้อสรุปว่าสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่งชายธัญบุรี จังหวัดปทุมธานีสามารถให้ความช่วยเหลือตามสภาพปัญหาของผู้ป่วยได้   จึงนำข้อมูลที่ได้มาพูดคุยและให้คำปรึกษากับผู้ป่วย   ผู้ป่วยมีความยินดีที่จะไปอยู่ตามสถานที่ดังกล่าว    นักสังคมสงเคราะห์จึงให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่งชายธัญบุรี  อธิบายให้ผู้ป่วยรับทราบและเข้าใจ   เมื่อผู้ป่วยพร้อมและแพทย์อนุญาตให้ผู้ป่วยไปอยู่ที่สถานสงเคราะห์ฯได้  นักสังคมสงเคราะห์จึงประสานงานยานพาหนะจัดหารถของสถาบันฯในการดำเนินการนำส่งผู้ป่วยไปที่สถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่งชายธัญบุรี และจากการติดตามผลพบว่าผู้ป่วยพักอยู่ในสถานสงเคราะห์ฯ  สีหน้าสดชื่น  อารมณ์แจ่มใส  สามารถหยุดการดื่มสุราได้ และรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากขึ้น  ได้ช่วยเหลือและให้การดูแลผู้รับบริการรายอื่นๆที่ช่วยเหลือตนเองได้น้อย รวมทั้งผู้ป่วยยังได้รับเบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุเป็นประจำทุกเดือน                         

ปัญหาการดื่มสุราในกลุ่มผู้สูงอายุ อาจจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป  การเป็นครอบครัวเดี่ยว  การมุ่งเน้นเรื่องประกอบอาชีพ  เน้นหารายได้  ทำให้ไม่ได้ดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุในครอบครัวเท่าที่ควร  สัมพันธภาพในครอบครัวที่ลดน้อยลง  ความห่างเหินของสมาชิกในครอบครัวทำให้ผู้สูงอายุต้องหันไปหาทางออกโดยการพึ่งพาการดื่มสุรามากยิ่งขึ้น ดังนั้นหากครอบครัวหันมาให้การดูแล สนใจ ใส่ใจ ผู้สูงอายุมากขึ้น ก็อาจจะช่วยลดปัญหาการดื่มสุราในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้มากขึ้น และอาจช่วยลดการเกิดปัญหาสังคมต่างๆที่ตามมาได้                                                

คำสำคัญ (Tags): #สังคมสงเคราะห์
หมายเลขบันทึก: 132581เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2007 12:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ทางกรมการศาสนาน่าจะมีบทบาทมากกว่าที่เป็นอยู่โดยรณรงค์ให้คนไทยยึ่งถือแนว
ไม่ทราบว่าทางสังคมสงเคราะห์หาข้อมูลได้หรือไม่ว่า ผู้ป่วยสุรา ที่จำหน่ายทั้งหมด   ยังมีปัญหาทางสังคมอยู่กี่เปอร์เซนต์
เด็กเดรน้อย.........................

ข้อมูลยังไม่เพียงพอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท