ประโยชน์ของการฝึกอบรม


ส่งงานแล้วนะครับดอกเตอร์

เป้าหมายของการจัดฝึกอบรม
                อย่างไรก็ตามผู้เขียนขอฝาก หลัก 5A สำหรับการฝึกอบรมไว้ย่อๆ ดังนี้
                1.Achieve คือ ให้ได้รับ ให้บรรลุ ให้มีความสำเร็จในแง่ตัวบุคคล
                2.Active คือ ให้มีความคล่องแคล่ว แข็งขัน รวดเร็ว กระตือรือร้น
                3.Adapt คือ ให้สามารถนำไปปรับ ประยุกต์ ให้เหมาะกับหน้าที่ของตน
                4.Advance คือ ให้ได้รับความก้าวหน้า ความก้าวกระโดด
                5.Apply คือ ให้นำไปใช้ประโยชน์ได้ ให้มีความขยันหมั่นเพียร
ประโยชน์ของการฝึกอบรม
                ประโยชน์ของการฝึกอบรมใน 3 ส่วนหลักคือ
                1.ในระดับพนักงาน การฝึกอบรมจะมีประโยชน์ดังต่อไปนี้
                                ¨ช่วยส่งเสริมความรู้และความเข้าใจ ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าแก่ตนเอง
                                ¨ช่วยลดอุบัติเหตุหรือการทำงานผิดพลาด
                2.ในระดับผู้บังคับบัญชา การฝึกอบรมจะมีประโยชน์ ดังต่อไปนี้
                                ¨ช่วยทำให้เกิดผลงานที่ดีขึ้น เมื่อตระหนักในบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบ
                                ¨ช่วยลดปัญหาและแก้ไขงานที่ผิดพลาด
                                ¨ช่วยลดภาระในการปกครอง การบังคับบัญชา
                                ¨ช่วยเสริมสร้างภาวะการเป็นผู้นำที่เก่งงาน เก่งคนและเก่งคิด
                3.ในระดับหน่วยงาน/องค์กร การฝึกอบรมจะมีประโยชน์ ดังต่อไปนี้
                                ¨ช่วยลดค่าใช้จ่ายทางด้านแรงงาน
                                ¨ช่วยลดความสูญเสียวัสดุอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายต่างๆ
                                ¨ช่วยเพิ่มผลผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อม
                                ¨ช่วยสร้างศูนย์กำไรในการประหยัดค่าใช้จ่ายในสำนักงาน
ประโยชน์ของการใช้มนุษยสัมพันธ์ในการบริหารงาน
                มนุษยสัมพันธ์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานโดยอาจก่อให้เกิดประโยชน์แก่การบริหารงานในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
                1.ผู้บริหารสามารถใช้มนุษย์สัมพันธ์เพื่อความสำเร็จของงาน โดยทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้
                2.ทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน มีความสามัคคีกลมเกลียว จงรักภักดีต่อองค์การทำให้องค์การเจริญก้าวหน้า
                3.ทำให้ทุกคนมีความรู้สึกของการเป็นพวกเดียวกัน ทำให้การคบหาสมาคมนั้นเป็นไปด้วยความเข้าใจอันดี  สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข และมีความพึงพอใจ
                4.ทำให้ง่ายแก่การติดต่อสื่อสารถึงกันและยังสามารถใช้เป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ให้ผู้อื่นเข้าใจและยอมรับการปฏิบัติงาน ตลอดจนสามารถใช้เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นจากบุคคลต่างๆ อันจะเป็นผลดีต่อการนำมาซึ่งการปรับปรุงองค์การให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                5.ทำให้ปัญหาความขัดแย้งในการทำงานลดน้อยลง ทำให้บริหารงานได้ง่ายขึ้น
                6.ทำให้บรรยากาศในการทำงานราบรื่น สามารถร่วมงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อคิดเพื่อชีวิต
ความรักตนเองในทางที่ถูก
คือการหมั่นศึกษาพัฒนาตนเอง
ดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
และหลีกหนีให้ห่างไกลจากอบายมุข
เทียม  โชควัฒนา (ชีวิตงาน)
มนุษยสัมพันธ์
มนุษยสัมพันธ์                      สร้างได้                                 ใช่ยากนัก
ถ้ารู้จัก                                    การให้                                   มักได้ผล
ให้อภัย                                  ให้ความรัก                            ให้เกียรติคน
อย่ายกตน                              ข่มใคร                                   มันไม่ดี
จะพูดจา                                 น่าฟัง                                     ยังประโยชน์
ไม่กล่าวโทษ                         ผู้ใด                                        ให้หมองศรี
รู้คุณค่า                                   แทนคุณท่าน                        ในทันที
อย่าย่ำยี                                  เหยียดหยาม                          ประนามคน
เริ่มด้วยเรา                             จริงใจ                                    ให้เขาก่อน
ผลสะท้อน                            ก็จะมี                                      ทวีผล
ยิ่งตัวเรา                                 เอาใจ                                     เขาใส่ตน
จะเกิดผล                               มากมิตร                 สนิทนาน
ตำแหน่งผู้บริหารท่านย่อมต้องยอมรับโดยอัตโนมัติในหน้าที่รับผิดชอบ 2 ประการ คือ
1.ปฏิบัติงานด้านเทคนิควิชาการให้ดีที่สุดในทุกงานที่ได้รับมอบหมาย
2.ต้องปฏิสัมพันธ์กับทุกคนจนสุดความสามารถ
กงจักรการสร้างผลผลิต
                                          

ท่านจะทำอะไร
กับสิ่งที่ท่านได้เรียนรู้ (นำมาจากหนังสือเทคนิคการจัดฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพฉบับปรับปรุง)
                เราได้ดำเนินมาด้วยกันเป็นระยะทางยาวพอสมควร ตั้งแต่บทที่1 เราได้เริ่มด้วยการจัดขั้นตอนตามปรัชญาในการบริหารงานเชิงประสานสัมพันธ์ และแล้วก็ได้แนะนำท่านให้ทราบถึงวิธีการต่างๆ ในการวิเคราะห์ การทำความเข้าใจ และนำมาสัมพันธ์กับวิถีของบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน เราได้พิจารณาอย่างใกล้ชิดในวิถีทางต่างๆ กันที่มนุษย์เลือกที่จะเรียนรู้และเราได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านสามารถกระทำได้  เพื่อทำให้ง่ายต่อการดำเนินกระบวนการนั้น เราได้เรียนรู้วิธีกำหนดวิถีแสดงพฤติกรรมที่ต่างๆ กัน และจะทำอย่างไรจึงจะข้องเกี่ยวกับแต่ละวิถีได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลผลิต  นอกจากนี้เราได้ค้นพบทฤษฎีที่จะใช้ประเมินวิถีการตัดสินใจของแต่ละบุคคล  และวิธีใช้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ในกระบวนการแก้ปัญหาที่สุด ได้มีการแนะนำให้รู้จักวิธีวิเคราะห์จัดการ (Transactional Analysis) เพื่อให้กลวิธีนี้มีประสิทธิภาพ และง่ายในการแก้ไขปรับปรุงความเข้าใจของท่านให้ทราบ ทำไม และอย่างไร ที่มนุษย์มีการติดต่อสัมพันธ์กันและกันด้วยวิธีที่ใช้อยู่
                หลังจากได้ครอบคลุมสาระต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว เราได้เคลื่อนเข้าสู่ทักษะของการสื่อสารเชิงประสานสัมพันธ์ ได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์และเทคนิคการตั้งคำถามที่หลากหลาย เพื่อให้ท่านมีสมรรถภาพที่กว้างลึกยิ่งขึ้น  ในการเปิดเผยปัญหา และความต้องการของพนักงาน  ได้มีการเน้นย้ำวิธีฟังไว้  เพื่อให้ท่านสามารถในการรับรู้ไวขึ้นในเชิงความรู้สึก  มีการตั้งใจฟังเพิ่มขึ้น และสามารถโต้ตอบกับบุคคลอื่นได้ดีขึ้นเมื่ออยู่ในกระบวนการสื่อสาร  ได้มีการกล่าวถึงการสื่อสารด้วยวาจาทุกรูปแบบ เพื่อให้ท่านเกิดความรู้สึกไวและลึกซึ้งต่อสิ่งที่บุคคลอื่นกำลังสื่อสารด้วยจริงๆ  และให้รู้ซึ้งถึงความรู้สึกจริงๆ ของบุคคลเหล่านั้นในด้านนี้  เราได้ครอบคลุมถึงหัวข้อของภาพพจน์ ระดับเสียง ภาษาร่างกาย การสื่อสารด้วยเวลา และการสื่อสารจากสถานที่ บทสุดท้ายอยู่ที่ในภาคการสื่อสารได้กล่าวถึงเรื่องสำคัญของการป้อนกลับ (Feed Back) เรื่องการป้อนกลับนี้ได้มีการเน้นย้ำมาก เพื่อให้ท่านใช้พิสูจน์ว่า ตัวท่านเองเข้าใจตรงกับที่บุคคลอื่นต้องการสื่อสารกับท่าน และเพื่อให้บุคคลเหล่านั้นเข้าใจตรงประเด็นกับสิ่งที่ท่านกำลังสื่อสารให้เขารับทราบ
                ในภาคสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้ ได้กล่าวถึงกระบวนการสำคัญๆ ของการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ และกล่าวถึงกระบวนการเหล่านั้นในส่วนที่สัมพันธ์กับกระบวนการแก้ปัญหา  ในแต่ละขั้นของการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ได้กล่าวไว้อย่างละเอียด และหลายๆ แนวความคิดที่อยู่ในบทก่อนๆ ได้นำมาอภิปรายอย่างเอาจริงเอาจัง ในแง่ของการใช้ให้ได้ประสิทธิผลในช่วงที่ดำเนินการไปตามกระบวนการต่างๆ ทั้ง 4 กระบวนการขณะนี้เราได้ดำเนินมาจนถึงบทสุดท้ายแล้ว  เราจะไปที่ใดต่อจากนี้?
                ท่านจะไปที่ใด ย่อมขึ้นอยู่กับตัวท่านเองทั้งหมด ท่านได้รับการเสนอแนะให้ทราบถึงประสบการณ์ใหม่ๆ และได้มองเห็นทางใหม่ที่จะมองที่จะวิเคราะห์ และจัดการกับกระบวนการบริหาร คนเรานั้นโดยทั่วไปมักมีวีสนองตอบต่อประสบการณ์ใหม่ ด้วยวีหนึ่งวิธีใดใน 5 วิธีด้วยกัน
วิธีแรก  บุคคลอาจจะใช้วิธีบูรณาการประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เก่าเข้าด้วยกัน เพราะประสบการณใหม่ถูกมองในลักษณะชื่นชมและเข้ากันได้ วิธีที่สอง ประสบการณ์ใหม่อาจจะถูกปฏิเสธทั้งหมด เพราะถูกมองว่า บีบคั้นกันมากเกินไป วิธีที่สาม ท่านสามารถแยกประสบการณ์ใหม่ออกจากสิ่งที่ท่านเคยชินในปัจจุบันและสามารถมองว่าประสบการณ์นี้เป็นสิ่งที่ยกเว้นอยู่นอกกฎ  การคิดเช่นนี้ช่วยให้บุคคลยังคงดำเนินการปฏิบัติตามและมีความคิดเหมือนกับที่ตนเคยคิดอยู่เดิมๆ วิธีที่สี่ บุคลอาจจะบิดเบือนประสบการณ์ใหม่เพื่อทำให้ “เหมาะสม” กับประสบการณ์ในอดีตของตน วิธีที่ห้า บุคคลอาจจะมองประสบการณ์ว่าเป็นความจริงใหม่และเปลี่ยนวิธีการคิดและวิธีปฏิบัติแบบเก่าๆ ของตน  เพื่อจัดตนเองให้เข้ากับสภาพของความเป็นจริงที่ขยายใหม่และที่ตนมองเห็นใหม่ๆ
                สิ่งที่สร้างสรรค์และได้ประสิทธิผลที่สุด คือ คำตอบที่อยู่ในวิธีสุดท้ายจากที่ระบุไว้ทั้ง 5 คำตอบ โดยอาศัยการแสดงปฏิกิริยาที่เป็นไปในทางเดียวกันกับที่ระบุไว้ในคำตอบที่ 5 นี้ ท่านย่อมสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางบวกได้ ท่านมิได้เพียงแต่ให้การยอมรับทุกอย่างในสิ่งที่ท่านได้อ่านมาทั้งหมดแน่นอน  แทนที่จะเป็นเช่นนี้ ท่านจะเลือกเอาสิ่งที่มีความหมายเฉพาะต่อตัวท่าน  และนำมาตัดแต่งใหม่ให้เข้ากับ “สภาพความจริง” ที่เป็นปัจจุบันในขณะนั้นๆ ของท่าน ไม่มีอะไรที่ท่านได้อ่านพบในหนังสือเล่มนี้ มีลักษณะหล่อหลอมในเชิงรูปธรรม สิ่งที่เสนอไว้ย่อมใช้การได้อาจจะเป็นบางส่วน หรือทั้งหมด ส่วนที่ท่านเลือกใช้และวิธีที่จะใช้ย่อมแสดงถึงประสิทธิภาพส่วนตัวของท่านในการบริหารงาน ทั้งที่เป็นอยู่ปัจจุบัน และตลอดจนถึงในอนาคต
                เราผู้เขียนจะได้รับความพอใจเป็นอย่างยิ่ง ถ้าทราบว่าหลังจากที่ท่านได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ท่านเดินออกไปแล้วเริ่มปฏิบัติตามปรัชญาการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ และปฏิบัติในกระบวนการทั้งหมดในทันที แม้กระนั้น ก็คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะจะต้องใช้การทดลองปฏิบัติได้ข้อผิดพลาดบางอย่างและปฏิบัติเพิ่มขึ้นอีก เพื่อจะได้นำไปจนถึงขั้นการดำเนินการบริหารงานตามลักษณะวิธีประสานสัมพันธ์ด้วยความสำเร็จในที่สุด ท่านยังจำเหตุการณ์ย้อนหลังไปถึงวันแรกๆ ที่ท่านเริ่มเรียนหัดขับรถหรือไม่ ก่อนที่ท่านจะเรียนรู้ว่าจะขับได้อย่างไร ท่านตกอยู่ในสภาพที่เราเรียกว่า รู้ตัวว่าทำไม่ได้ นั่นก็คือท่านไมได้รู้มาก่อนว่าจะขับรถอย่างไร และท่านก็ญังไม่รู้เสียด้วยว่า ทำไมท่านจึงไม่รู้ว่าจะขับรถอย่างไร เมื่อท่านได้ออกไปนอกบ้านเป็นครั้งแรกกับพ่อแม่ของท่าน กับเพื่อน หรือกับครู เพื่อเรียนรู้ว่าจะขับรถได้อย่างไรจริงๆ นั่นแหละ ท่านจึงจะรู้ตัวเองดีว่าท่านไม่มีความสามารถ ท่านจะยังคงขับรถไม่ได้ แต่เพราท่านเพิ่งได้สำนึกใหม่เกี่ยวกับเครื่องยนต์และชิ้นส่วนต่างๆ ของรถ  ท่านเริ่มรู้ตนเองดีว่าทำไม่ท่านจึงขับมันไม่ได้ จากจุดนี้ อย่างน้อยท่านก็รู้สึกนึกเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านต้องกระทำ เพื่อให้ได้มาซึ่งความสามารถในการขับรถ
                ด้วยการฝึกปฏิบัติและคำแนะนำเพิ่มเติมบ้าง ท่านย่อมสามารถกลายเป็นคนเก่งในการขับรถได้ อย่างไรก็ตามท่านต้องรู้ตัวดีก่อนเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านกำลังปฏิบัติเกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไกของรถทุกส่วนเท่าๆ กับต้องรู้กลไกในร่างกายท่านด้วย ท่านจะต้องรู้ตัวได้อย่างดีที่จะเปิดสัญญาณไฟกะพริบได้ดีก่อนที่ท่านจะเลี้ยวรถ ท่านต้องจำที่จะดูสัญญาณจราจรที่อยู่ข้างหลังของท่านในกระจกที่มองย้อนดูข้างหลังรถ  ท่านเอามือทั้งสองวางอยู่บนพวงมาลัย และจัดให้รถของท่านอยู่ในท่าที่ตรงตามเส้นแบ่งเขตทางเดินรถบนถนน  ท่านย่อมรู้ตนดีในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ ในขณะที่ท่านขับรถได้ “อย่างมีความสามารถ”
                จงคิดถึงครั้งสุดท้ายที่ท่านขับรถ ท่านได้สำนึกอยู่ตลอดเวลาในเรื่องต่างๆ ที่เพิ่งได้อภิปรายมาแล้วหรือไม่ คงไม่แน่ๆ พวกเราส่วนใหญ่หลังจากที่ได้ขับรถมาบ้างแล้ว ก็จะเจริญก้าวหน้าขึ้นสู่ระดับที่มีสมรรถภาพโดยไม่รู้ตัวเอง นี่เป็นระดับที่เราสามารถทำอะไรบางอย่างได้และอาจจะไม่ได้คิดถึงมันเสียด้วย มันเป็นไปโดยธรรมชาติ
                ตัวอย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว เป็นความจริงสำหรับเรื่องการใช้การบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ด้วย ท่านจะต้องดำเนินผ่านกระบวนการทดสอบสมรรถภาพ เพื่อจะได้ขึ้นถึงระดับที่สูงสุด คือระดับของสมรรถภาพที่ไม่รู้ตัว ตรงจุดนี้คือจุดที่ท่านสามารถบริหารผู้อื่นด้วยวิธีประสานสัมพันธ์และบริหารแบบธรรมชาติและมีประสิทธิภาพ ถ้าท่านสามารถดำเนินเข้าถึงระดับนั้น  ท่านจะได้เห็นการเพิ่มผลผลิตในเชิงบริหารของท่าน และเพิ่มผลผลิตในด้านของพนักงานของท่าน  เพิ่มความไว้วางใจและความนับถือจากพนักงาน  และเพิ่มความเคารพในตนเองของแต่ละบุคคลด้วยอย่างไรก็ตามท่านต้องชดใช้ด้วยอะไรบางอย่าง ในการที่จะก้าวให้ถึงระดับสมรรถภาพที่ไม่ต้องคอยระวังตนในด้านการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ซึ่งได้แก่ การฝึกปฏิบัติ ฝึกปฏิบัติ และฝึกปฏิบัติ
                เมื่อท่านกำลังเรียนรู้วิธีขับรถยนต์  ท่านย่อมได้รับสมรรถภาพโดยผ่านการฝึกปฏิบัติซึ่งเป็นเรื่องจริงด้วยสำหรับทักษะการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ สำหรับพวกท่านบางคน การบริหารเชิงประสานสัมพันธ  อาจจะจำเป็นต้องมีความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมจาก ทฤษฏีการบริหารงานเดิมที่ใช้อยู่ปัจจุบัน  ถ้าเป็นกรณีเช่นนี้ก็จงหวังไว้ได้เลยว่า ในระยะแรกท่านจะพบกับความลดลงของผลผลิตในการบริหารงานของท่าน  ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างปกติจาการเปลี่ยนในเชิงพฤติกรรม อย่างไรก็ตามหลังจากการยืนหยัดสู้และฝึกปฏิบัติ และในขณะที่ท่านใช้วิธีการดำเนินงานบริหารเชิงประสานสัมพันธ์ให้ได้ถึงระดับเป็นสมรรถภาพ ที่ไม่ต้องระวังตน  ผลผลิตในเชิงบริหารงานของท่านย่อมจะเพิ่มขึ้นต่อจากระดับเดิม และจะเข้าสู่ช่วงใหม่และเป็นช่วงที่ได้ผลผลิตสูงจนเกิดการชะงักงันได้
   เอกสารอ้างอิง
-กระทรวงศึกษาธิการ. ศิลปะการบริหารคนแปลจาก The Art of Managing People.—กรุงเทพฯ:กรมวิชาการ, 2534/ISBN974-10-0842-2
-สมชาติ กิจบรรยง และดร.อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง เทคนิคการจัดฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ (ฉบับปรับปรุง).—พิมพ์ครั้งที่2.—กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2539.-/ISBN974-512-670-5
-ทองทิพภา  วิริยะพันธุ์. มนุษย์สัมพันธ์กับการบริหาร.---กรุงเทพฯ : อินฟอร์มีเดียบุ๊คส์2546/ISBN974/91128-3-0

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13239เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2006 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เป้าหมายมีไว้พุ่งชน

ไอ้นี่ก็เช่นกัน เเม่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท