GotoKnow

การเรียนรู้ที่ Canadian Imperial Bank of Commerce

Ms kwanrudee wattanakomthornkul
เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2548 16:17 น. ()
แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2555 04:26 น. ()

     Canadian Imperial Bank of Commerce (CIBC) เป็นสถาบันที่ให้บริการทางด้านการเงิน และเป็นผู้นำด้านธุรกิจบัตรเครดิตและพีซีแบงค์กิ้ง (PC Banking) ระดับโลก มีพนักงานมากกว่า 47,000 คน มีลูกค้ารายย่อยกว่า 6.5 ล้านคน และมีลูกค้าที่เป็นองค์กรธุรกิจ 10,000 ราย โดยในแต่ละปีบริษัทจะลงทุนไปกับการพัฒนาบุคลากรกว่า 40 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ CIBC ได้พยายามอย่างยิ่งที่จะพัฒนาเครื่องมือ และเทคนิคสำหรับเก็บกักทุนปัญญาที่จะเป็นสิ่งรับประกันถึงความสำเร็จของบริษัท ซึ่งเกณฑ์ในการวัดความสำเร็จของบริษัทนี้ก็คือ อัตราการเรียนรู้ของบุคคล ทีมและของบริษัททั้งหมด โดยต้องเท่ากับหรือมากกว่าอัตราเร็วของการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก รวมทั้งสร้างสัมพันธภาพ และการฝึกฝนความเป็นผู้นำ

     จุดมุ่งหมายของการจัดการความรู้ทั้งหมดของ CIBC ก็คือ เพื่อปรับปรุงสินค้าและบริการให้ดีขึ้น โดยมีการเก็บรวบรวมความรู้จากทั้ง 3 ระดับ (บุคคล ทีมและองค์กร) ของการเรียนรู้

      จากการศึกษาจากตัวอย่างของบริษัท Canadian Imperial Bank of Commerce (CIBC) หลังจากที่ได้นำองค์ความรู้มาปรับใช้ในองค์กร พอจะสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นต่างๆ เหล่านี้ได้ คือ

ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น

1. การมุ่งความสนใจไปที่ความรู้เพียงอย่างเดียว อาจจะ " ปิดกั้นการคิดแบบดั้งเดิม" ได้ หรือขณะเดียวกันก็อาจทำให้เกิดความสงสัยต่อองค์กรแบบดั้งเดิมด้วย

2. พนักงานส่วนใหญ่จะเก็บความรู้ไว้ และนำมาใช้บางโอกาส หรือแทบจะไม่มีการแบ่งปันความรู้แก่กันภายในองค์กร

3. ทัศนคติในแง่ลบของพนักงาน เช่น พวกเขามักคิดว่าหากคนอื่นๆ ในบริษัทรู้ในสิ่งเดียวกับที่ตนรู้ แล้วตนจะมีค่าต่อองค์กรได้อย่างไร ทั้งที่จริงๆ แล้วความรู้นั้นอาจเป็นเพียงความรู้แค่บางส่วนหรือล้าสมัยไปแล้วก็เป็นได้

ข้อแนะนำในการแก้ไขปัญหา

1. องค์กรต้องล้างความคิดเดิมๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และการจัดการกับความรู้ภายในองค์กร

2. สร้างวัฒนธรรมแห่งความรู้ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นได้ด้วยคำสั่งที่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือโดยทันทีทันใด แต่เกิดจากความเชื่อและค่านิยมร่วมที่สะสมกันมายาวนาน

3. การเปลี่ยนแปลงด้านระบบการบริหารจัดการ โดยบรรดาผู้จัดการจะต้องเป็นผู้ฝึกสอน เป็นที่ปรึกษา เป็นผู้ให้กำลังใจแก่ทีมของตน แทนการออกคำสั่งและควบคุม

4. ความรู้ควรจะถูกถ่ายโอนจากคนหนึ่งไปยังคนอื่นๆ และมีการประเมินคุณค่าตามความมีประสิทธิผลของมัน ซึ่งก็ขึ้นกับปัญหาที่จะนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ และการตรงต่อความต้องการของลูกค้า

5. องค์กรต้องเห็นคุณค่าของความหลากหลาย และมองความคิดรวมถึงความเข้าใจที่ลึกซึ้งว่าไม่ได้เป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับอายุ ประสบการณ์ เชื้อชาติ แต่อย่างใด

ความสำเร็จที่เกิดขึ้น คือ เพื่อปรับปรุงสินค้า และบริการให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งได้เปลี่ยนแปลงหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารบางคน องค์กรได้สร้างวัฒนธรรมแห่งความรู้ขึ้นจากเดิมที่ไม่มี โดยอาศัยจากความเชื่อ และค่านิยมร่วมที่สะสมมา

    *แหล่งที่มา : Building the Learning Organization " ผู้เขียน Michael J. Marquardt

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized 

ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย