หัวเราะ... เรื่องดี ๆ ที่อย่างแบ่งปัน ตอน 2


ไม่เป็นผู้วิจารณ์โดยพร่ำเพรื่อหรือขี้บ่นจนเกินเหตุ

หัวเราะ... เรื่องดี ๆ ที่อย่างแบ่งปัน ตอน 2

1. ไม่เป็นผู้วิจารณ์โดยพร่ำเพรื่อหรือขี้บ่นจนเกินเหตุ  เช่น ลูก ๆ ต้องการจะไปเที่ยวเชียงใหม่ ก็บ่นว่าไม่ประหยัดทั้งที่สามารถจะพาลูกไปเที่ยวพักผ่อนได้อย่างไม่เดือดร้อน ทำให้เกิดความเครียดกับลูกได้  แต่ควรทำด้วยวิธีที่สร้างสรรค์กว่าด้วยการบอกว่าน่าจะไปพัทยาเพราะว่าไกล้สะดวกในการเดินทาง  เป็นต้น

2.  มองเรื่องต่าง ๆ ในแง่มุมที่ขบขัน อย่าถือโทษหรือโกรธอะไรง่าย ๆ เช่นถ้าเดินไปชนหรือสะดุดสิ่งของที่วางไว้ก็ไม่ควรจะเอะอะโวยวายต่อว่าผู้อื่นแต่ควรมองในแง่ "นึกขันตนเอง"

3.  มองหาแบบอย่างของที่จะสร้างความรู้สึกขบขัน อย่างเช่น  การอ่านหนังสือหรือดูภาพยนต์ตลก ๆ ประเทืองปัญญา เป็นการสร้างอารมณ์สบายใจซึ่งจะเป็นพื้นฐานของอารมณ์ดีทำให้ รู้จักขบขันกับเหตุการณ์ต่าง ๆ

4.  ฝึกรอยยิ้มและการหัวเราะ เพราะถ้าใครที่ไม่เคยหัวเราะเลยอาจจะต้องฝึกยิ้ให้สวย ๆกับกระจกก่อนเป็นบทเรียนขั้นต้น

อารมณ์ขันจะทำให้เกิดเสียงหัวเราะ ซึ่งจะส่งผลให้หัวใจเบิกบาน จึงเป็นยาขนานเอกสำหรับทุกคน และเป็นการารักษาไม่ต้องกินยาและไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ นอกจากนี้การหัวเราะยังเป็นการออกกำลังที่ช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและการหายใจ  เห็นประโยชน์ดี ๆ อย่างนี้แล้ว เรามาเริ่มต้นสร้างเสียงหัวเราะกันเถอะเพือนเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ

คำสำคัญ (Tags): #หัวเราะ
หมายเลขบันทึก: 132159เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2007 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท