การใช้ฐาน "สิทธิมนุษยชน" ในการทำงานพัฒนา


การสร้างชีวิตที่มีความเป็นอยู่ที่ดีให้คนตามแนวชายแดน ก็ถือเป็นการสร้าง "กำแพงมนุษย์" ให้กับประเทศชาติ ที่มีความมั่นคงและสมดุลกับสิทธิมนุษยชน

เมื่อคืนนี้บังเอิญได้หยิบเอกสารฉบับหนึ่งมาอ่าน แล้วทำให้รู้สึกมีกำลังใจขึ้นมาบ้าง แบบไม่เคยคิดว่า "งานด้านสิทธิมนุษยชน" กับ "งานพัฒนา" จะเชื่อมโยงกันได้ ??

ตอนแรกที่เริ่มกลับลงมาทำงานพัฒนาในชุมชน ก็คิดว่าคงจะได้วางงานสิทธิมนุษยชนไปเลย แล้วก็เร่งรีบศึกษาประสบการณ์งานพัฒนา งานจัดสวัสดิการชุมชน และตัวอย่างการสร้างชุมชนเข้มแข็งของพื้นที่อื่นๆ

บทความที่อ่านชื่อ "การใช้ฐานสิทธิมนุษยชนในการทำงานพัฒนา (Rights Based Approach) : ประสบการณ์ของโครงการการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ UNDP" 

สรุปว่า แนวทางของ UNDP ที่ได้ริเริ่มทำโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาโดยมีพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๑ มีแนวคิดรวบยอดคือ ศูนย์กลาง/เป้าหมายของ "การพัฒนา" ก็คือการมีและส่งเสริมให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดี

ดังนั้น ฐานสิทธิมนุษยชนในการพัฒนาจึงมีความหมายทั้งในแง่ความคิดรวบยอดและการปฏิบัติให้เกิดการตระหนักในสิทธิมนุษยชนผ่านกระบวนการพัฒนา  สิทธิบางอย่าง อาทิ สิทธิในการมีส่วนร่วม สิทธิในการศึกษา สิทธิในการทำงาน สิทธิเด็ก สิทธิของชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ เหล่านี้ได้ถูกนำมาเป็นฐานคิดและฐานการปฏิบัติ เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าในฐานะมนุษย์แล้วทุกคนย่อมมีสิทธิเหล่านี้ เป็นสิทธิมนุษยชนที่ต้องได้รับการพัฒนาให้คนมีความเป็นอยู่ที่ดี

ดังนั้น การทำงานพัฒนาเพื่อขจัดความยากจน ควรให้นิยามใหม่ว่า เราต้องขยายโอกาสและเสรีภาพในการให้คนได้เข้าสู่มาตรฐานการครองชีพที่ดี มากกว่าการใช้ตัวชี้วัดว่ามีการเพิ่มรายได้ผ่านความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเช่นที่ผ่านมา

(เรื่องนี้ น่าจะเป็นเรื่องเดียวกับ "สวัสดิการ" ที่พูดกันอยู่ใช่ไหมคะ ?)

อ่านๆ ดูแล้ว ทำให้คิดถึงคำพูดของ ท่านพิชัย รัตนพล อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่พูดถึงชุมชนชายแดนว่า การสร้างชีวิตที่มีความเป็นอยู่ที่ดีให้คนตามแนวชายแดน ก็ถือเป็นการสร้าง "กำแพงมนุษย์" ให้กับประเทศชาติ ที่มีความมั่นคงและสมดุลกับสิทธิมนุษยชน

จิ๊กซอว์ของฉันค่อยๆ ชัดขึ้นอีกนิดแล้ว !!

 

หมายเลขบันทึก: 131560เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2007 14:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจารย์ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ บอกว่า สวัสดิการ  คือ มีสุขและมีสิทธิ (อย่างน้อยขั้นพื้นฐานสำหรับการมีชีวิตอยู่ที่ดีและมีศักดิ์ศรี) ค่ะ

 สิทธินั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการมีสวัสดิการที่ดีแน่นอนค่ะ   สิทธิมนุษยชนน่าจะเป็น "สิทธิตามธรรมชาติ" ที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับทุกๆคน

เพียงแต่ว่า "สิทธิ" ส่วนใหญ่มักถูกกำหนดโดย "สังคม"   คำถามคือ "ใครคือสังคม หรือ ตัวแทนของสังคมที่ไปออกแบบกำหนดสิทธินั้น"

อย่างน้อย สำหรับคนไร้รัฐไร้สัญชาติตามแนวชายแดน ก็มีเส้นแบ่งเขตแดนรัฐ และนโยบายของรัฐปลายทาง เป็นตัวกำหนด "สิทธิ" ของพวกเขา

อันมีผลทำให้โอกาสและเสรีภาพในการเข้าสู่มาตรฐานการครองชีพที่ดีของพวกเขาถูกจำกัดไปด้วย

แต่ก็คงไม่มีอะไรสามารถขัดขวางความพยายามช่วยเหลือตนเองในการ "จัดสวัสดิการชุมชนเพื่อคนไร้สัญชาติ" ได้ ตราบเท่าที่ไม่มีการไปล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น จริงไหมคะอาจารย์ ?

เรากำลังพยายามเริ่มตามประสบการณ์และคำแนะนำที่พวกอาจารย์แบ่งปันมาให้ค่ะ ขอบคุณมากๆ ค่ะ !!

จริงๆ นะ ไม่ต้องให้ UNDP มาบอก ก็ได้

แนวคิดแบบเหตุผลนิยม ก็เพียงพอที่จะให้มนุษย์คิดออกค่ะ

การพัฒนาในรูปของการกดขี่ การรังเกียจกัน การแสดงอำนาจต่อกัน มิใช่การพัฒนาที่ยั่งยืน

การพัฒนาบนฐานของความรัก ง่ายกว่า ไม่ซับซ้อน ยั่งยืน

ไม่รู้ว่า มนุษย์ในสังคมไทยเรียนรู้ที่จะเกลียดกันมาจากไหน ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท