การฟื้นฟูบูรณะหลังเกิดอุทกภัยอำเภอหล่มเก่า


น้ำป่าไหลหลาก น้ำใจไหลหลัง คนไทยไม่ทิ้งกัน

3.  การช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน 

     3.1  การช่วยเหลือเร่งด่วนเฉพาะหน้า

            นายต่อพงษ์  อ่ำพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์รีบรุดเข้าพื้นที่น้ำท่วม อำเภอหล่มเก่าเพื่อตรวจสภาพความเสียหาย และสั่งการให้ดำเนินการสำรวจความเสียหายตลอดจนการบรรเทาทุกข์ให้แก่ราษฎรโดยด่วน ทั้งนี้ การดำเนินการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนในสถานการณ์ฉุกเฉินของวันที่  10 กันยายน 2550 ได้มีส่วนราชการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร มูลนิธิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานสาธารณสุข เจ้าหน้าที่กู้ภัยจากมูลนิธิต่างๆ นำกำลังพล เครื่องจักรกลและเครื่องมือเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วนและเข้าช่วยเหลือในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะการค้นหาผู้สูญหายดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

     3.2  การบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือเบื้องต้น

            จังหวัดเพชรบูรณ์โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพชรบูรณ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สนับสนุนอาหาร เครื่องดื่ม สิ่งของยังชีพ    เหล่ากาชาดจังหวัดเพชรบูรณ์สนับสนุนสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค เงินช่วยเหลือผู้เสียชีวิต  มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ สนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภค มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก จัดตั้งโรงประกอบเลี้ยง สภากาชาดไทยสนับสนุนสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยโดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 9 พิษณุโลก ได้นำเต็นท์ยกพื้นชั่วคราว จำนวน 25 หลัง  บ้านน็อคดาวน์ 25 หลัง  และจัดรถเคลื่อนที่ผลิตน้ำดื่มจำนวน 2 คัน นอกจากนี้ หน่วยงาน องค์กรการกุศลอื่นๆ สนับสนุนข้าวสาร เครื่องอุปโภคบริโภค และเงินช่วยเหลือแก่ผู้ที่บ้านเรือนเสียหาย แก่ผู้ประสบอุทกภัย นอกจากนี้ ยังจัดหน่วยงานสาธารณสุข และกองพลทหารม้าที่ 1 ได้จัดส่งชุดแพทย์เคลื่อนที่เข้าให้บริการรักษาพยาบาลแก่ผู้ประสบภัยตั้งแต่ เวลา 08.00 น. ของวันที่ 10 กันยายน 2550

     3.3  การบูรณะฟื้นฟู

            3.3.1  ด้านที่อยู่อาศัย ด้วยการใช้กำลังทหาร กองพลทหารม้าที่ 1ได้จัดกำลังพล  จำนวน 1 กองพัน  (กองพันทหารม้าที่ 28) รถยนต์บรรทุก 6 คัน  รถบรรทุกน้ำ 1 คัน  เข้าช่วยเหลือตั้งแต่ทราบการเกิดเหตุ (เวลา 07.00 น. ของวันที่ 10 กันยายน 2550) โดยดำเนินการร่วมกับนักศึกษาวิชาทหาร หน่วยอนุรักษ์ที่ 11 มูลนิธิต่างๆ ร่วมกันพัฒนาปรับปรุงและทำความสะอาดที่พักอาศัยอย่างเร่งด่วน  เพื่อให้ผู้ประสบภัยเข้าอยู่อาศัยรวมถึงการจัดที่พักชั่วคราวให้ประชาชนได้พักอาศัย โดยหน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ช่วยเหลือ ค้นหาผู้ประสบภัย  ผู้เสียชีวิต  ผู้สูญหาย  ตลอดจนเก็บกวาด  รื้อถอน เศษกิ่งไม้ที่ติดใต้สะพาน  อำนวยความสะดวกในการจราจร นำส่งอาหาร และน้ำให้ผู้ประสบภัยในพื้นที่  อีกทั้งเก็บกวาด  ล้างหมู่บ้าน  ถนน  สถานที่ราชการ ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

         3.3.2  ด้านการบูรณะเส้นทางคมนาคม และสิ่งสาธารณูปโภค ได้ระดมเครื่องจักรกลซ่อมแซมเส้นทางและ คอสะพานที่ชำรุด รวมถึงเก็บโกยเศษซากต้นไม้ ขยะ ที่ขวางลำน้ำ ดังนี้           

                (1)  ศูนย์สร้างทางหล่มสัก

                      1)  จัดเจ้าหน้าที่  เครื่องจักร และยานพาหนะรื้อเศษไม้ที่ติดอยู่บริเวณใต้สะพาน กม.87+684 และสะพาน กม. 99+158  ของทางหลวงหมายเลข 2216  สาย กม.10+000- บ้านกกกะทอน  เพื่อเปิดช่องระบายน้ำ   ทำให้กระแสน้ำไหลผ่านได้สะดวก เสร็จสิ้นตั้งแต่เวลาประมาณ 12.00 น. ของวันที่ 10 กันยายน 2550

                      2)  จัดเจ้าหน้าที่  เครื่องจักร และยานพาหนะรื้อเศษไม้ที่ติดอยู่บริเวณ         ใต้สะพาน ที่บ้านหนองใหญ่  หมู่ที่ 1  ตำบลนาซำ  อำเภอหล่มเก่า  ทำให้น้ำท่วมกัดเซาะบริเวณคอสะพานขาด  ซึ่งได้รื้อเก็บเศษไม้และซ่อมคอสะพานขาดจนสามารถให้การจราจรผ่านเข้าออกได้ตั้งแต่ เวลาประมาณ 19.00 น. ของวันที่ 10 กันยายน 2550

                      3)  เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2550  ทางศูนย์สร้างทางหล่มสัก ได้รับหนังสือ  ที่ พิเศษ/2550  ของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่งพา (ภาฯ) ยามยาก  สภากาชาดไทย  เรื่องขอความอนุเคราะห์ดำเนินการปรับพื้นที่บริเวณสถานที่ก่อสร้างหมู่บ้านเพื่อนพึ่ง (ภาฯ)     บริเวณโครงการประมงหมู่บ้าน (ด้านข้าง อบต.นาซำ  อ.หล่มเก่า  จ.เพชรบูรณ์)  พื้นที่ประมาณ 4 ไร่ ทางศูนย์ฯ ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่  เครื่องจักร และยานพาหนะเข้าดำเนินการปรับพื้นที่ดังกล่าว  เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2550  จนแล้วเสร็จประมาณวันที่  20 กันยายน 2550

                     4)  ยานพาหนะและบุคลากรของศูนย์ฯ  ที่เข้าดำเนินการช่วยเหลือประชาชน  ใช้รถขุดตีนตะขาบ 1 คัน  รถดั้ม 6 ล้อ 2 คัน  รถดั้ม 10 ล้อ 1 คัน  รถปิคอัพ 6 คัน  รถน้ำ 10 ล้อ  1 คัน  รถเทลเลอร์  1  คัน  รถบดสั่นสะเทือน  1  คัน  รถตักล้อยาง  1 คัน  รถเกลี่ย 1 คัน   รวมเป็นค่าเช่าเครื่องจักรทั้งสิ้น 55,595 บาท   น้ำมันเชื้อเพลิง 76,636 บาท  และเบี้ยเลี้ยง ค่าล่วงเวลาเป็นเงิน 39,555 บาท

            (2)  องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์

                    1)  ในวันที่ 10 กันยายน 2550  ดำเนินการซ่อมแซมคอสะพาน คสล. ข้ามลำน้ำพุง หมู่ที่ 2 , หมู่ที่ 10  บ้านแก่งโตน  ตำบลนาซำ

                    2)  วันที่ 11 กันยายน 2550        

                         -  ซ่อมแซมคอสะพาน คสล. หมู่ที่ 7  บ้านนาหนอง  ตำบลนาซำ   และซ่อมแซมคอสะพาน คสล. หมู่ที่ 1  บ้านหนองใหญ่  ตำบลนาซำ  ร่วมกับกรมทางหลวง

                         - สนับสนุนรถบรรทุกน้ำทำความสะอาดล้างถนน  หมู่ที่ 2 บ้านแก่งโตน- สนับสนุนรถบรรทุกน้ำทำความสะอาดถนนในเขตเทศบาลตำบลหล่มเก่า3)  วันที่ 12 กันยายน 2550        

                         - สนับสนุนเครื่องจักรกลรื้อเศษไม้บริเวณใต้สะพาน คสล. ข้ามลำน้ำพุง หมู่ที่ 2 - หมู่ที่ 10  เพื่อค้นหาผู้สูญหายและเปิดทางน้ำ- สนับสนุนรถบรรทุกน้ำนำน้ำไปเติมภาชนะกักเก็บน้ำโรงเรียนบ้านแก่งโตน4)  วันที่ 13 กันยายน 2550        

                         - สนับสนุนรถบรรทุกน้ำนำน้ำดิบสนับสนุนกรมทรัพยากรน้ำ เพื่อผลิตน้ำดื่มที่โรงเรียนบ้านแก่งโตน

                         - สนับสนุนเครื่องจักรกลรื้อเศษไม้บริเวณใต้สะพานร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้  เพื่อค้นหาผู้สูญหาย- สนับสนุนรถบรรทุกน้ำนำน้ำไปเติมภาชนะกักเก็บน้ำโรงเรียนบ้านแก่งโตน

                  5)  วันที่ 14 กันยายน 2550        

                        - สนับสนุนเครื่องจักรกลค้นหาผู้สูญหายบริเวณใต้สะพาน คสล. ขององค์การ บริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ที่เสียหายโดยสิ้นเชิง

                        - สนับสนุนเครื่องจักรกล ปรับปรุงถนนเส้นทางเข้าบ้านแก่งโตน  และจากบ้านแก่งโตน - บ้านนาหนอง

                       - สนับสนุนรถบรรทุกน้ำนำน้ำดิบสนับสนุนกรมทรัพยากรน้ำ เพื่อผลิตน้ำดื่มที่โรงเรียนบ้านแก่งโตน6)  วันที่ 15 กันยายน 2550        

                       - สนับสนุนเครื่องจักรกลปรับพื้นที่โรงเรียนบ้านแก่งโตน - สนับสนุนเครื่องจักรกล ปรับพื้นที่สร้างบ้านพักอาศัยชั่วคราว (บ้าน KNOCK DOWN) ร่วมกับกรมทางหลวงบริเวณด้านหลังที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนาซำ

            (3)  สำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้สนับสนุนรถบรรทุกเทท้าย  จำนวน 1 คัน  รถน้ำจำนวน 1 คัน

           จังหวัดเพชรบูรณ์ได้สำรวจประมาณการและจัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณเร่งด่วน ดำเนินการซ่อมแซมและก่อสร้างได้ ดังนี้

           (1)       ซ่อมแซมฝายเจ้าหมื่น                  1        แห่ง

          (2)       ซ่อมแซมฝายดิน , หินก่อ              2        แห่ง

          (3)       สะพาน คสล.                            2        แห่ง

          (4)       ท่อเหลี่ยม                                36      แห่ง

          (5)       สะพานสลิง                               1        แห่ง

          (6)       ซ่อมแซมถนนลูกรัง                     19      แห่ง

          (7)       ผนังกั้นน้ำ คสล.                         16      แห่ง

          (8)       ถนนน้ำล้น                               1        แห่ง

          (9)        ปรับปรุงถนนลาดยาง                  2        แห่ง

         3.3.3  การให้ความช่วยเหลือด้านการการแพทย์และสาธารณสุข

          ในด้านการให้ความช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาล ทั้งทางกายและจิตใจ  ตั้งแต่วันที่ 10-19 กันยายน 2550  มีหน่วยงานสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชหล่มเก่า โรงพยาบาลค่ายพ่อขุนผาเมือง โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหล่มเก่า และสถานีอนามัยทุกแห่งในเขตอำเภอหล่มเก่า ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบอุทกภัย สรุปผลการช่วยเหลือดังนี้

         (1)  โรคทางกาย  1,808 ราย  จำแนกเป็น  ติดเชื้อ  39 ราย , ตา  23 ราย , หู  4 ราย , ผิวหนัง  361 ราย  ทางเดินอาหาร 154 ราย , ผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง 243 ราย , กล้ามเนื้อ 527 ราย , อวัยวะสืบพันธุ์  2 ราย  บาดเจ็บ 70 ราย , ทำแผลต่อเนื่อง 87 ราย , ประสาท 289 ราย , เส้นเลือด 9 ราย ฉีดวัคซีนบาดทะยัก 52 ราย

        (2)  โรคทางจิต  264 ราย  จำแนกเป็น โรคจิต 200 ราย , เครียด 60 ราย , ซึมเศร้า 4 ราย

        (3)  ผู้ป่วยที่ขอเป็นคนไข้ในพระอนุเคราะห์ 12 ราย  ดังนี้

                1) นายบุญมี  สายธาร        อายุ 40 ปี       การวินิจฉัย  แผลติดเชื้อ

               2) นางบัวศรี  แก้วพวง       อายุ 45 ปี       การวินิจฉัย เครียด 

               3) นายประสาท  พรมพวง    อายุ 34 ปี       การวินิจฉัย เครียด 

               4) นางอำคา  แก้วย้อม       อายุ 43 ปี       การวินิจฉัย เครียด 

               5) นายรัตนา  นามสิมมา     อายุ 43 ปี       การวินิจฉัย ลิ้นหัวใจรั่ว

               6) นางรัชตา  แซ่เล้า           อายุ 42 ปี       การวินิจฉัย ไตวายเรื้อรัง

              7) นางสมจิตร  แว่นทอง     อายุ 18 ปี       การวินิจฉัย ขาขวาพิการแต่กำเนิด

              8) น.ส.โสภาพรรณ  รัตนเพชร  อายุ 43 ปี    การวินิจฉัย สะเก็ดเงิน

              9) ด.ญ.ธิติมา  กิมภู อายุ                         การวินิจฉัย ออทิสติก

            10) นางน้อย  สุมเฟือย         อายุ 72 ปี       การวินิจฉัย ตาต้อกระจก

            11) นางสายฝน  สายสมร                          การวินิจฉัย พิการ หูขวาไม่ได้ยิน

            12) นางสาย  คงเจริญ                    อายุ 66 ปี       การวินิจฉัย  ธัยรอยด์โต

         การดูแลอนามัยสิ่งแวดล้อม  โดยทีมของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ให้บริการล้างบ่อน้ำตื้น ใส่คลอรีนประปาภูเขา ให้สุขศึกษาเรื่องโรคที่มากับน้ำ  

         (4)  แผนให้ความช่วยเหลือในระยะต่อไป

              1)  วันที่ 26-28 กันยายน 2550    การฟื้นฟูสุขภาพจิตโดย โรงพยาบาลสวนปรุง   จังหวัดเชียงใหม่   ศูนย์สุขภาพจิตที่ 9  พิษณุโลก  ,  โรงพยาบาลหล่มเก่า   และสถานีอนามัยทุกแห่ง

              2)  วันที่ 21,28 กันยายน 2550     การควบคุมป้องกันโรคติดต่อ  มีแผนพ่นละอองฝอยโดยทีมหน่วยควบคุมโรคโดยแมลง จังหวัดเพชรบูรณ์ , ทีมของสาธารณสุขอำเภอหล่มเก่า

              3)  ฟื้นฟูสุขภาพจิตโดย โรงพยาบาลสวนปรุง   จังหวัดเชียงใหม่   ศูนย์สุขภาพจิตที่ 9  พิษณุโลก  ,  โรงพยาบาลหล่มเก่า  และสถานีอนามัยทุกแห่ง

          (5) จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้การรักษาพยาบาลตามละแวกบ้าน

          3.3.4 การให้ความช่วยเหลือด้านการซ่อมแซมเครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้า ที่ชำรุด หลังการเกิดอุทกภัย หน่วยงานด้านพัฒนาฝีมือแรงงานและสถาบันการอาชีวศึกษาในพื้นที่ ได้เข้าไปสำรวจความเสียหายด้านอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า  รถจักรยานยนต์  เครื่องยนต์เล็กเพื่อการเกษตร เมื่อสำรวจแล้วก็จัดตั้งจุกหน่วยบริการซ่อมแซมให้ความช่วยเหลือ ประกอบด้วย หน่วยบริการของศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดเพชรบูรณ์  วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์  วิทยาลัยสารพัดช่างเพชรบูรณ์  และวิทยาลัยการอาชีพชนแดน โดยมีศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นหน่วยหลัก เหตุที่ต้องรีบดำเนินการหากช้าไปอุปกรณ์ต่าง ๆ จะเกิดสนิมและยากต่อการซ่อมแซม  ประกอบกับชาวบ้านมีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้สำหรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันเช่น  หม้อหุงข้าว  ตู้เย็น  โทรทัศน์  วิทยุ  รถจักรยานยนต์การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม อำเภอหล่มเก่านั้น  ได้เริ่มดำเนินการ  ตั้งแต่วันที่ 11 5ถึงวันที่ 18   กันยายน 2550    มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

              1)    ซ่อมเครื่องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า  จำนวน 27 ราย  63 ชิ้น 

              2)    ซ่อมเครื่องยนต์เล็กเพื่อการเกษตร  จำนวน 74 เครื่อง  รถจักรยานยนต์  จำนวน  111 คัน  รถยนต์ จำนวน 1 คัน  และเรื่องตัดหญ้า จำนวน 80 ราย  120 เครื่อง

              3)    ตรวจเช็คระบบไฟฟ้าในบ้านและอาคารเรียน  จำนวน 54 หลังสำหรับในระยะฟื้นฟูต่อไปนั้น  ได้จัดทำแผนจ้างงานผู้ประสบภัยเพื่อทำการซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ที่เกิดจากอุทกภัย  จำนวน 200 คนๆ ละ 20 วันๆ ละ 145 บาท  รวมเป็นเงิน 580,000 บาท  ขณะนี้อยู่ในระหว่างรออนุมัติงบประมาณ และกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการคัดเลือกกลุ่มที่สมัครฝึกอาชีพเพื่อทำการฝึกอาชีพ  โดยมีเบี้ยเลี้ยงในระหว่างฝึกอบรม

            3.3.5 การช่วยเหลือในด้านพืชผลทางการเกษตร ประมง และปศุสัตว์ ได้มีสำรวจและรวบรวมข้อมูลความเสียหายเพื่อพิจารณาให้การช่วยเหลือโดยเร่งด่วนต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #น้ำท่วม
หมายเลขบันทึก: 131357เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2007 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท