นายบรรจง เวียงภักดิ์
นาย นายบรรจง เวียงภักดิ์ บรรจง เวียงภักดิ์

วิธีลดความขัดแย้งในที่ทำงาน


ทำงานให้มีความสุข..
วิธีลดความขัดแย้งในที่ทำงานความขัดแย้งเป็นสิ่งที่เกิดได้ในทุกๆ หน่วยงาน โดยปกติเมื่อพูดถึงความขัดแย้ง ตามความคิดเดิม มักมีความรู้สึกที่ไม่ดี จะต้องหลีกเลี่ยงและไม่ยอมให้เกิดความขัดแย้งในหน่วยงานได้ ไม่ว่าจะเป็น
ความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับบุคคล เพื่อนร่วมงานกับผู้บังคับบัญชา ความขัดแย้งระหว่างบุคคล กับกลุ่ม ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มกับกลุ่ม แต่ความเป็นจริงความขัดแย้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความขัดแย้งไม่ได้เป็นสิ่งที่ดีหรือเลวในตัวมันเอง ขึ้นอยู่กับการจัดการกับความขัดแย้ง ว่าสามารถ ทำให้เกิดประโยชน์จากความขัดแย้ง ได้หรือไม่อย่างไร ไม่มีใครสามารถจะตัดสินว่าใครผิดหรือถูก ดีหรือเลว เพราะทุกคนมีความแตกต่างกันมากมายไม่ว่าจะเป็นนิสัย บุคลิกลักษณะ ฯลฯ
สาเหตุของความขัดแย้งมีได้หลายประการ ดังนี้
1.ค่านิยมที่แตกต่างกัน คนแต่ละคนจะให้คุณค่าในเรื่องเดียวกันแตกต่างกัน ในเรื่องเดียวกัน บางคน บอกว่าดี บางคนว่าไม่ดี บางคนบอกถูก บางคนบอกผิด แล้วแต่มุมมอง ในเมื่อเริ่มจากการมองที่ แตกต่างกันแล้ว การจะยอมรับหรือปฎิบัติตามจึงเป็นสิ่งที่ลำบาก ความขัดแย้งจึงมีตามมา
2.พฤติกรรมที่แตกต่างกัน สังเกตเพื่อนร่วมงานของคุณได้นะครับ ว่ามีใครบ้างที่มีพฤติกรรมเหมือนกัน ไม่มีเลย ไม่มีใครที่จะมีพฤติกรรมเหมือนกับใครทุกอย่าง ทั้งในเรื่องของบุคลิกภาพ การแต่งเนื้อแต่งตัว
การมองชีวิต การใช้ชีวิต เป้าหมายในชีวิต ซึ่งการอยู่ร่วมกันทุกคนจะต้องรู้จักที่จะเรียนรู้ในพฤติกรรม ของกันและกัน ความต้องการของกันและกัน ถ้าความแตกต่างในส่วนนี้มีไม่มากนัก ก็จะทำให้การ ปรับตัวง่ายขึ้น แต่ถ้ามีความแตกต่างกันมาก ความขัดแย้งก็จะเกิดได้ง่าย
3.เมื่อมีปริมาณงานที่แตกต่าง การได้รับการมอบหมายงานหรือการทำงานที่ไม่เท่าเทียมกัน มีปัญหา ในแง่การทำงานมาก ทำงานน้อย คนทำงานมาก ไม่ได้รับการเอาใจใส่ แต่คนที่ได้รับการเอาใจใส่ เป็นคนที่มีงานน้อย
4.เมื่อการบริหารจัดการไม่ลงตัวในเรื่องต่างๆ เช่น เงิน วัสดุอุปกรณ์ คน สถานที่ตำแหน่ง การจัดการ กับทรัพยากรที่มีอยู่ไม่ทั่วถึง ไม่เพียงพอกับงาน ไม่เป็นไปตามความจำเป็น เกิดความไม่สะดวกในการ ปฎิบัติงาน
5.เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนโครงสร้าง การเปลี่ยนระบบการทำงาน การเปลี่ยน เป้าหมายของหน่วยงาน เหล่านี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งได้ง่าย บางครั้งเมื่อไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดการต่อต้าน และขัดแย้งขึ้นในหน่วยงาน
6.การไปสู่เป้าหมายที่แตกต่างกัน การมีเป้าหมายของงานเป็นสิ่งที่ดี แต่คนเราจะมีความแตกต่าง ในเรื่องความคิดที่จะไปสู่เป้าหมายและวิธีปฎิบัติที่แต่ละคนย่อมมีประสบการณ์ที่แตกต่าง ค่านิยม การศึกษาเล่าเรียน ฯลฯ ทำให้เกิดความขัดแย้งได้อีกประการหนึ่ง
ผลดีของความขัดแย้ง
1.ความขัดแย้งก่อให้เกิดความตื่นตัวในงาน การมีแนวคิดที่แตกต่างทำให้งานมีการพัฒนาและมีแนวทาง ใหม่ๆในการทำงาน
2.มีการแก้ไขปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม มีการวางมาตรการ และแนวทางในการ แก้ปัญหา
3.ให้คนทำงานได้ตรวจสอบสมรรถภาพการทำงานของตนอยู่เสมอ
4.ทำให้มีแนวความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ เกิดขึ้น
5.ทำให้คนทำงานได้ตรวจสอบการทำงานของตนว่ามีส่วนดีและส่วนเสียตรงไหน เพื่อจะได้ปรับปรุง และทำงานให้ดีกว่าฝ่ายตรงข้ามเป็นการทำให้งาน ในองค์กรมีการพัฒนามากขึ้น
ผลเสียของความขัดแย้ง
1.คนทำงานขาดกำลังใจในการทำงาน อาจมีการลาออก ย้ายแผนก กรณีที่ไม่สามารถทำให้ความขัดแย้ง หมดไปได้
2.ทำให้เกิดความแตกแยก ในหน่วยงานมีการแบ่งพรรคแบ่งพวก คนในหน่วยงานมีสัมพันธภาพ ที่ถดถอย
3.มีความหวาดระแวงระหว่างคนในหน่วยงาน ความเชื่อถือและความไว้วางใจหมดไป เกิดการทะเลาะ วิวาทและบาดหมางกัน
4.การทำงานเป็นทีมล้มเหลว เกิดการต่อต้าน ทำให้หน่วยงานไม่ได้พัฒนาไปตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้
้วิธีแก้ไขให้ความขัดแย้งหมดไป
การใช้วิธีการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ไม่ให้มีการทะเลาะวิวาทกัน ถ้าความขัดแย้งมีไม่มาก ก็จะเกิดผลดี แต่ถ้าความขัดแย้งมีมากจะทำให้ปัญหานั้นพอกพูนมากยิ่งขึ้น การช่วยลดความขัดแย้งในหน่วยงาน สามารถทำได้ดังนี้
1.ใช้วิธีการของประชาธิปไตย การตกลงด้วยการใช้เสียงส่วนใหญ่เป็นตัวตัดสินปัญหา
2.ให้มีการเผชิญหน้ากัน ฝ่ายที่ขัดแย้งกันมาตกลงปรึกษาหารือเพื่อที่จะหาข้อยุติ
3.มีที่ปรึกษาภายนอก เพื่อมาช่วยขจัดปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะคนภายนอกไม่มีผลได้ผลเสียอะไร และมองภาพรวมของปัญหาได้ดีกว่า
4.ให้มีการแข่งขันในหน่วยงาน มีค่าตอบแทน และสิ่งล่อใจ จะทำให้ความขัดแย้งลดลง เพราะได้พุ่ง ความสนใจไปยังการทำงานเพื่อให้ได้ชิ้นงานใหม่ ๆ
5.จัดทีมงานใหม่ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ อาจต้องย้ายพนักงานไปอยู่แผนกอื่น หรือปรับเปลี่ยน งานใหม่
6.ปรับเปลี่ยนผู้บริหาร กรณีที่ผู้บริหารไม่สามารถขจัดความขัดแย้งได้ อาจต้องปรับเปลี่ยนผู้บริหารที่ สามารถรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้
ในโลกของการทำงานคงต้องอาศัยแนวทางหลายแนวทางที่จะไปสู่ความสำเร็จของงาน ความขัดแย้งก็ เป็นสิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลให้หมดไปหรือมีน้อยที่สุดในการปฎิบัติงาน เพื่อความเจริญก้าวหน้า ของงานและหน่วยงานและเพื่องานที่จะพัฒนาต่อไป  นิ่มนุช ประสานทอง กรมสุขภาพจิต
  
การสร้างทีมงานให้มีประสิทธิภาพจะพบว่าหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการที่หน่วยงาน นั้นมีทีมงานที่ปฎิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถปฎิบัติงานได้เป้าหมายที่หน่วยงานต้องการในเวลา อันรวดเร็ว ด้วยความร่วมมือร่วมใจของทีมงาน การมีทีมงานจะทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ แบบแผน มีความคล่องตัวในการทำงานมากกว่าการปฎิบัติงานที่เป็นไปตามสายงานการบริหาร ก่อนอื่นมารู้จักความหมายของทีมงานก่อน ทีมงานหมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีการเกี่ยวข้องกันและช่วย เหลือซึ่งกันและกันในการแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน ซึ่งการร่วมงานเป็นทีมนั้น อาจมีรูปแบบที่ถาวรหรือชั่วคราวก็ได้ จุดมุ่งหมายของการสร้างทีมในองค์กร มีเหตุผลต่างๆ ดังนี้
1.เพื่อสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิกในทีม ไม่ว่าจะเป็นระหว่างหัวหน้าทีมกับสมาชิก หรือระหว่าง สมาชิกกับสมาชิกด้วยกัน
 2.เป็นการเพิ่มพูนทักษะให้กับสมาชิกทั้งในด้านการทำงานที่ได้รับมอบหมายและทักษะในการทำงาน ร่วมกันกับผู้อื่นทั้งภายในทีมงานและภายนอกทีมงาน 3.สมาชิกเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเข้าใจในกฎระเบียบ ข้อบังคับของทีมงานและเข้าใจในกระบวน การทำงานของทีม ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น 4.สมาชิกในทีมได้พัฒนาทักษะในการแก้ไขปัญหา และข้อโต้แย้ง ขจัดความขัดแย้งที่จะเกิดในการ ทำงานได้อย่างสร้างสรรค์
5.สมาชิกมีความร่วมมืร่วมใจในการปฎิบัติงาน มีบรรยากาศที่เป็นการช่วยเหลือสนับสนุนมากกว่าเป็น การแข่งขันภายในทีม การดำเนินงานจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบบหลายประการ ทีมงานที่มีแนวโน้มที่จะประสบผลสำเร็จนั้น จะต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้
1.สมาชิกกลุ่ม สมาชิกในกลุ่มจะต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้ คือ
-มีความตั้งใจในการทำงาน ยอมรับวัตถุประสงค์ของกลุ่ม มีความซื่อสัตย์ต่อกลุ่ม มีความมุ่งมั่น ที่จะทำงานร่วมกัน
-มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ยอมรับในความแตกต่างของบุคคล มีความยืดหยุ่นในการ ทำงานร่วมกัน ยอมรับฟังเหตุผลของสมาชิกในทีม -สมาชิกมีทักษะในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและทักษะในการทำงานร่วมกัน
-มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น และเสนอแนวความคิดที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ และเป็นความก้าวหน้าของงาน
-มีการสื่อสารและประสานงานกันอย่างดีระหว่างสมาชิกด้วยกัน
2.หัวหน้าทีมงาน ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
-มีความสามารถ มีทักษะในการเป็นผู้นำกลุ่ม มีความคิดกว้างไกล สามารถที่จะจูงใจสมาชิกให้ร่วมอุดม การณ์และทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
-มีความเข้าใจในสมาชิกในกลุ่มได้อย่างถ่องแท้ เข้าใจถึงพฤติกรรมของสมาชิก และสามารถที่จะนำ ข้อโต้แย้งภายในกลุ่มมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานได้
-มีความสามารถในด้านการบริหาร มอบหมายหน้าที่ให้กับสมาชิกด้วยความเหมาะสม และได้รับการ ยอมรับจากสมาชิก
-มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคนในทีม มีบุคลิกภาพที่เปิดเผย อบอุ่น และสร้างบรรยากาศที่ดีในการ ทำงานร่วมกันในทีม
3.การสร้างทีมงาน ควรมีระบบการจัดการในทีมงาน ดังนี้
-กำหนดเป้าหมาย ขอบเขต ความรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน โดยได้รับการยอมรับจากสมาชิกทุกคน
- สมาชิกในทีมงานมีโอกาสแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะได้อย่างเสรี -มีสัมพันธภาพภายในทีมงานที่ดี บรรยกาศในการดำเนินงานเป็นไปด้วยดี -มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกภายในกลุ่ม และสมาชิกทราบบทบาท และหน้าที่ของตนอย่างชัดเจน
-มีการประเมินผลการทำงานและปรับปรุงวิธีการที่เหมาะสมและทันสมัย
ทีมงานที่สามารถสร้างงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จนั้นควรมีลักษณะดังนี้ 1.มีวัตถุประสงค์ในการปฎิบัติงานร่วมกัน โดยวัตถุประสงค์นั้นตั้งอยู่ในความเป็นไปได้ สามารถที่จะ นำไปปฎิบัติได้จริง ไม่เป็นการวางวัตถุประสงค์เพ้อฝันจนไม่สามารถที่เป็นจริงได้ สมาชิกในทีมงาน ทุกคนควรได้ร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน มีการอภิปรายและปรึกษาหารือกันเกี่ยว กับวัตถุประสงค์ของทีม เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจ ในการทำงานของสมาชิก และเป็นการยอมรับ แนวคิดและเป้าหมายการทำงานของทีมงาน
2.มีการวางแผนงาน การกำหนดแนวทาง วิธีการทำงาน ขั้นตอนการทำงานรูปแบบการติดต่อสื่อสาร รูปแบบการประสานงาน การจัดเตรียมเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำงาน
 3.สมาชิกมีความชัดเจนในบทบาทของตน ความชัดเจนในบทบาทและหน้าที่ จะทำให้งานนั้นไปสู่เป้า หมายในเวลาอันรวดเร็ว โดยไม่มาเสียเวลากับการเคลียร์บทบาทของตนเอง หรือไปปฎิบัติงานใน หน้าที่ของผู้อื่น โดยอาจทำให้งานเกิดการซ้ำซ้อนและเกิดความขัดแย้งกับผู้อื่น อันจะทำให้งานเกิด ความล่าช้าและขาดประสิทธิภาพ
4.สมาชิกมีการพัฒนาความสามารถและทักษะในการทำงาน เป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญในการทำงาน ในงานที่ได้รับมอบหมาย
5.มีการกำหนดระยะเวลาในการทำงาน ควรมีตารางเวลาในการทำงานเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนิน งาน เพี่อเป็นการกำหนดขอบเขตความสำเร็จของงาน และเพื่อไปสู่ขั้นตอนของความสำเร็จของงาน ได้อย่างมีระบบ
6.สัมพันธภาพในทีมงานต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี มีความเข้าใจต่อกัน สมาชิกมีการยอมรับซึ่งกันและกัน ยอมรับในความแตกต่างของแต่ละบุคคล มีความร่วมมือร่วมใจกัน สมาชิกมีความสนับสนุนซึ่งกันและ กัน มีความรู้สึกพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในระหว่างสมาชิกของกลุ่ม มีความรักใคร่ในกลุ่ม
7.มีการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกในกลุ่มเพื่อความเข้าใจอันดีต่อกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ต่อกัน มีการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว มีความเข้าใจกัน สามารถลดความขัดแย้งภายในกลุ่มได้ 8.มีการอำนวยความสะดวกให้กับทีมงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเอกสาร วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ใน การดำเนินงาน อุปกรณ์การสื่อสารที่ทันสมัย เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการปฎิบัติงาน ผลงานที่ สมบูรณ์จะเกิดได้ก็ด้วยทีมงานที่มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เป็นทีมงานที่เข้มแข็ง มีหลักการและ อุดมการณ์ในการดำเนินงานร่วมกัน มีความอดทนและความุ่งมั่น จึงจะได้รับผลงานที่ดีเยี่ยมสมตาม เป้าหมายที่วางไว้
นิ่มนุช ประสานทอง กรมสุขภาพจิต
  ลักษณะ 16 ประการของผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ ผู้ที่จะเป็นผู้บริหารที่ดีนั้น จะต้องมีความพิเศษในตนเองทั้งในด้านความคิดและการกระทำ จะต้อง เป็นผู้ที่สามารถจะชักจูง โน้มน้าว ให้ผู้ใต้บังคับบัญชา มีความรู้สึกกระตือรือร้นที่จะทำงาน ต้องการที่จะ แสดงฝีมือ มีความพร้อมที่จะทุ่มเทกำลังกายกำลังใจให้กับงาน และให้กับหน่วยงานอย่างเต็มที่ ผู้ใต้บัง คับบัญชา ให้ความเกรงใจและรักใคร่ การเป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพนั้น ควรยึดหลัก 16 ประการ ดังนี้ 1.ผู้บริหารที่ดีต้องบอกให้พนักงานทราบว่า เขาทำงานเพื่ออะไร เป้าหมายในการทำงานของเขา คืออะไร เขามีสิทธิหรือหน้าที่ในหน่วยงานนี้อย่างไร บอกให้เขาทราบถึง กฎระเบียบของหน่วยงาน ที่เขาต้องปฎิบัติ ต่างๆ เหล่านี้จะเป็นการให้ภาพของหน่วยงานที่ถูกต้องกับพนักงาน 2.ผู้บริหารที่ดีต้องบอกให้พนักงานรู้ว่า เขามีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในงานส่วนใด ขอบเขตของงานและอำนาจในงานมีเพียงใด เพราะการทำงานนั้น พนักงานทุกคนต้องทราบขอบเขต หน้าที่ ความรับผิดชอบ และอำนาจในการจัดการและตัดสินใจในงานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งเป็นการเพิ่ม ความเชื่อมั่นและความมั่นใจให้พนักงานในการปฎิบัติงาน อีกทั้งยังเป็นการลดความยุ่งยากสับสนในงาน และความขัดแย้งระหว่างกันและกัน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความเข้าใจ ระหว่างผู้บริหารกับพนักงานได้ อีกทางหนึ่งด้วย 3.ผู้บริหารจะต้องตั้งมาตรฐานในการทำงานสูง เพื่อให้ผลงานที่ออกมาดีมีมาตรฐาน อีกทั้งยังเป็น การสร้างแรงจูงใจให้พนักงานขยันหมั่นเพียรในการปฎิบัติงาน และเมื่อทำงานสำเร็จลง พนักงานมีความ ภาคภูมิใจในผลงานและเป็นแรงกระตุ้นให้พนักงานต้องการที่จะทำงานด้วยใจมุ่งมั่นอีกด้วย อีกประการ หนึ่งคนทำงานทุกคนต่างต้องการที่จะได้รับความยกย่องและยอมรับว่า ตนนั้นได้ทำงานอยู่ในหน่วยงาน ที่ดีมีมาตรฐานสูง 4.ผู้บริหารที่ดีควรบอกพนักงานได้ว่า "เขาควรทำอะไรและอย่างไร" พนักงานทุกคนเมื่อมีปัญหา แน่นอน คนที่เขาคิดปรึกษาก็คือเจ้านายหรือผู้บริหารนั่นเอง เพราะฉะนั้นบทบาทของผู้บริหารในตอนนี้ คือ การบอกพนักงานว่าเขาควรทำอย่างไรในสถานการณ์เช่นน้ และเมื่องานสำเร็จลง สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ความภาคภูมิใจในตนเองและความพอใจในผลงานของตน เป็นการเพิ่มความเข้าใจในกันและกันระหว่าง ผู้บริหารกับพนักงาน เป็นการลดช่องว่างระหว่างผู้บริหารและพนักงานได้เป็นอย่างดี 5.ผู้บังคับบัญชาต้องกระตุ้นและช่วยพัฒนาความสามารถของพนักงาน ในการทำงานนั้น ทุกคน ต้องการความก้าวหน้าและความเติบโตในหน้าที่การงาน สิ่งที่จะสร้างให้เขาเกิดความรู้สึกว่าเขามีความ เจริญในหน้าที่ การงาน คือการมอบหมายงานที่ยากขึ้นกว่าที่เคยได้รับ ด้วยมาตรฐานของผลสำเร็จ ที่สูง พนักงานจะรู้ได้ในทันทีว่า นี่เป็นการให้โอกาสสำหรับความก้าวหน้า และเป็นโอกาสทองที่จะได้ พัฒนาความสามารถให้เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นผู้บริหารที่ดีต้องไม่ละเลยในข้อนี้ 6.ผู้บริหารต้องให้พนักงานได้รับการฝึกอบรม ซึ่งการฝึกอบรมเป็นการเพิ่มความรู้ ความสามารถ ให้แก่ พนักงานในด้านหนึ่งด้วย การฝึกอบรมเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานที่ได้รับการ บรรจุใหม่ หรือพนักงานที่ได้รับการมอบหมายงานที่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อน ต้องใช้เวลาในการทำ ความเข้าใจ หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานใหม่ในหน่วยงาน ควรได้ฝึกอบรมให้กับ พนักงาน เพื่อทำความเข้าใจกับระบบใหม่นั้น หรือการเปลี่ยนแปลงสายงานการบังคับบัญชา ก็ควรจะ ได้รับการฝึกอบรมด้วย เมื่อพนักงานสามารถที่จะเข้าใจถึงขั้นตอนต่างๆ และมีความรู้อย่างเต็มเปี่ยม แล้ว ก็สามารถที่จะปฎิบัติงานด้วยความเชื่อมั่น มีความสุขและความพอใจในการปฎิบัติงาน 7.ผู้บริหารต้องสร้างความร่วมมือและความคิดเห็นร่วมกัน ความสามัคคีเป็นสิ่งที่จำเป็น และต้อง มีในทุกหน่วยงาน เพื่อความสำเร็จของงาน เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของพนักงาน ผู้บริหารจะ ต้องสร้างความรู้สึกของการเป็นเจ้าของร่วมกันให้เกิดกับพนักงานทุกคน ตัวอย่างเช่น การเปิดโอกาส ให้พนักงานใหม่ได้แสดงความคิดเห็น การแจ้งให้พนักงานทราบถึงความสสำเร็จของงาน ฯลฯ 8.ผู้บริหารต้องให้พนักงานร่วมมีบทบาทในการแก้ปัญหาต่างๆ การให้บทบาทในส่วนนี้ เป็นการ แสดงถึงการยอมรับในความคิดเห็นของพนักงาน และทำให้พนักงานมีความรู้สึกว่าตนได้รับความไว้วาง ใจ และยอมรับนับถือ เมื่อผลงานสำเร็จลุล่วงย่อมสร้างความภาคภูมิใจให้กับเขา ไม่ว่าจะเป็นการถาม ความคิดเห็นในที่ประชุมถึงแนวทางแก้ปัญหา ให้คิดหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ในงานของหน่วย งานร่วมกัน ฯลฯ 9.ผู้บริหารต้องบอกให้พนักงานทราบถึงความเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อตัวเขาซึ่งการเปลี่ยน แปลงอาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของนโยบาย หรือการตัดสินใจของผู้บริหารเองก็ตาม ทุกอย่างที่ จะเกิดขึ้นกับเขาซึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงต้องบอกให้ทราบก่อนล่วงหน้า เพื่อเป็นการเตรียมให้รับกับ ความเปลี่ยนแปลงและป้องกันการต่อต้านจากพนักงานอีกด้วยและป้องกันความขัดแย้งในหน่วยงานอีกด้วย 10.ผู้บริหารที่ดีต้องไม่ประจานพนักงานต่อหน้าบุคคลอื่น เมื่อมีการตำหนิพนักงานควรกระทำในที่ เฉพาะตัวเท่านั้น เพราะคนเราไม่มีใครต้องการให้ใครมาตำหนิ แม้ในสิ่งที่ตนเองผิดก็ตามเมื่อจะตักเตือน ว่ากล่าว ควรทำเป็นรายคน เพราะจะไม่ทำให้พนักงานคนนั้นเสียหน้า 11.ผู้บริหารที่ดีต้องมีการชมเชยและให้รางวัลแก่พนักงานที่ปฎิบัติงานสำเร็จ เพราะเป็นการเสริม แรงจูงใจให้แก่พนักงาน คำพูดที่ชื่นชมและยกย่องในผลงานและความสำเร็จ หรือมีการเลื่อนขั้นเลื่อน ตำแหน่งให้ เพียงเท่าน้ ก็ทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกที่ดี มีความกระตือรือร้นในงาน อีกทั้งยังเป็นการให้ กำลังใจ ให้มีความมุ่งมั่นในงานมากยิ่งขึ้นอีกด้วย 12.ผู้บริหารที่ต้องส่งเสริมและสนับสนุนพนักงานที่มีผลงานที่ไม่ดี ให้มีความกระตือรือร้นในการปฎิบัติ งานและประสบความสำเร็จในงานให้ได้ เป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถแก่ผู้บริหารมาก ที่จะดึงให้คนที่ ทำงานไม่เป็น มาเป็นคนที่ทำงานเป็น เพราะถ้าท่านไม่มีความสามารถที่จะทำให้เขาทำงานได้แล้ว แน่นอน ว่าผลกระทบย่อมมีต่องานและเป้าหมายของงาน ท่านต้องเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีการปรับปรุงตนเอง และมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในงาน และได้รับการยอมรับเช่นเดียวกับพนักงานคนอื่นๆ 13.ผู้บริหารที่ดีต้องเข้าใจ สนใจความเป็นไปของพนักงาน ทราบว่าเขาอยู่ในสถานะใดมีปัญหาใดบ้าง ในชีวิตของเขา มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่พนักงาน หรือให้ความช่วยเหลือแนะนำบุคคลที่สามารถ ช่วยเขาได้ จะเป็นการผูกใจพนักงานให้จงรักภักดีต่องานและตัวท่าน พนักงานจะมีความอบอุ่น ที่ได้รับ การดูแลและช่วยเหลือจากท่าน ทำให้พนักงานตั้งใจปฎิบัติงานด้วยความตั้งใจและขยันหมั่นเพียรต่อไป 14.ผู้บริหารต้องรับฟังและแสดงความเห็นอกเห็นใจในสิ่งที่พนักงานร้องเรียน หรือร้องทุกข์ซึ่งความ เดือดร้อนของเขานั้น ท่านต้องฟังและให้ความสนใจอย่างจริงจัง ไม่ควรบอกปัดไปหรือรับฟังอย่างเสียไม่ได้ เพราะจะทำให้พนักงานรู้สึกว่าท่านไม่ได้สนใจในความเดือดร้อนของเขา ท่านไม่จริงใจกับเขา ถ้าเขาเกิด ความรู้สึกเช่นนี้ แน่นอนว่าความยุ่งยากกำลังรอคุณอยู่และเป็นความยุ่งยากที่ยิ่งใหญ่อีกด้วย จงให้คำตอบ เขาทันทีที่ได้พิจารณาหาทางออกอย่างรอบคอบแล้ว ถ้าในสถานการณ์ที่ท่านยังไม่สามารถให้คำตอบแก่เขา ได้ จงบอกแก่พนักงานว่าท่านขอเวลาเพื่อการตัดสินใจและหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนและทุกฝ่าย 15.ผู้บริหารที่ดีต้องได้บรรจุคนให้ตรงกับความรู้ความสามารถของเขาและตรงกับคุณสมบัติที่เขามี พนักงานทุกคนต่างต้องการที่จะปฎิบัติงานตามที่ตนมีความรู้ความสามารถ และตามที่ตนชำนาญ การเลือก คนให้ถูกกับงาน จะลดปัญหาการปฎิบัติงานผิดพลาด หรือการปฎิบัติงานด้วยความไม่มั่นใจ ปฎิบัติงาน ด้วยความกลัวและขาดความชำนาญในงาน ท่านคงไม่ต้องการให้พนักงานของท่านเป็นเช่นนี้ เพราะฉะนั้น ถ้าท่านต้องการพนักงานที่มีความมั่นใจในงาน มีความสนใจและพอใจในงาน มีความรู้ความสามารถในงาน มีความสำเร็จในงาน ก็ต้องใช้หลักเลือกคนให้ถูกกับงาน
16.ผู้บริหารต้องมั่นใจและแน่ใจว่าตำแหน่งต่างๆ ได้มีการอธิบายถึงขอบเขตความสามารถไว้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการกำหนดตำแหน่ง หน้าที่ที่รับผิดชอบ กำหนดรายละเอียดของงานและค่าจ้างที่ พนักงานได้รับ เพื่อป้องกันการทำหน้าที่ซ้ำซ้อน และความสับสนในงาน มีการจำแนกงานที่ถูกต้องและเพื่อ ป้องกันความขัดแย้งในงาน และระหว่างพนักงานด้วยกัน ผู้บริหารที่มีคุณสมบัติครบทั้ง 16 ด้าน จะเป็น ผู้บริหารที่สมบูรณ์แบบที่สุดและเป็นผู้บริหารที่พนักงานทุกคนต้องการครับ
        
การพัฒนาตนเพื่องานที่มีประสิทธิภาพในคนแต่ละคนนั้นต่างรู้ว่า ตนเองมีข้อบกพร่องใดในตนเอง และมีหลายคน ที่ไม่ชอบใจ ในพฤติกรรม หรือนิสัยของตนเอง และต้องการ ที่จะเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมนั้น ทั้งๆที่รู้ว่า ตนเอง มีข้อเสียเช่นไร และต้องการแก้ไขเพียงใดแต่ก็ยังมีคนอีกหลายคนที่ไม่สามารถจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้ตามที่ตั้งใจไว้ ในเรื่องงานก็เช่นเดียวกัน หลายคนพบว่าตนมีข้อบกพร่อง เช่น เป็นคนผลัดวันประกันพรุ่ง ชอบพอกงานไว้เป็นดินพอกหางหมู ไม่ตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ ชอบทำงานหลายอย่าง ในเวลาเดียวกัน มาทำงานสายโอ้เอ้ เมื่อไปถึงที่ทำงาน ก็เที่ยวเดินคุยกับเพื่อนร่วมงาน นั่งนินทาผู้อื่น กว่าจะเริ่มงาน ก็สายเสียแล้ว ไม่ได้งานอะไร แล้วงานที่ตนได้รับมอบหมายก็ไม่เสร็จ เป็นปัญหาต่อทีมงาน ที่ต้องมารอตน ให้ทำ ในงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จ อีกทั้งยังก่อให้เกิดความเครียดในตน เพราะงาน ที่รับผิดชอบ ไม่เรียบร้อย พลอยทำให้ เจ้านายเหม็นขี้หน้าเสียอีก หลายคนทั้งที่ตั้งใจไว้ ว่าจะต้อง เปลี่ยนนิสัย ที่ไม่พึงประสงค์นั้นให้ได้ แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่สามารถทำได้ อยากจะบอกว่า การเปลี่ยนพฤติกรรม หรือนิสัย โดยอาศัยเฉพาะใจอย่างเดียวนั้น ไม่สามารถที่จะก่อให้เกิด การเปลี่ยนพฤติกรรมได้สำเร็จแน่นอน เพราะใจของคน ก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ในทางจิตวิทยานั้น ได้มีแนวทางและเทคนิควิธี ที่ท่านสามารถจะนำมาใช้ เพื่อการปรับเปลี่ยนตนเองได้ โดยให้ผลที่น่าพอใจ ดังต่อไปนี้ครับ 1.การตั้งเป้าหมายสำหรับตนเอง เป็นการให้ทิศทางแก่พฤติกรรม ที่ต้องการให้เกิดขึ้น เช่น นักรียนนักศึกษาต้องการที่จะเรียนให้ได้เกียรตินิยม สิ่งที่เขาต้องทำ เพื่อให้เกิดผลตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ คือการตั้งใจเล่าเรียน หมั่นทบทวนวิชา ที่ตนเองได้ศึกษามาในแต่ละวัน และค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ให้เวลากับการท่องหนังสือ และทำความเข้าใจให้มาก หัดทำแบบฝึกหัดจนเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ และได้สำเร็จตามที่ปรารถนา การตั้งเป้าหมายแห่งความสำเร็จ จะทำให้เป็นแรงกระตุ้น เป็นพลัง ให้คนเราทำในสิ่งนั้น ๆ ในระหว่างนั้นก็มีการตรวจสอบ และประเมินตนเองอยู่ตลอดเวลา อีกทั้ง ยังก่อให้เกิดการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตนเองไปอีกด้วย 2.การสังเกตตนเอง การใช้ปรับปรุงตนเองโดยวิธีการสังเกตนี้ เพราะว่า คนเราปกติแล้ว มักไม่ค่อยจะได้สังเกตตนเอง มีพฤติกรรม หลายพฤติกรรม ที่เกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น ในขั้นตอนของการทำงาน มีคนหลายคนที่เสียเวลา กับสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องทำในการทำงาน ทำให้เสียเวลาไปโดยไม่ได้ประโยชน์ และตนเองก็รู้สึกเหน็ดเหนื่อย เครียดโดยที่งานก็ไม่ได้สักชิ้น ดังนั้นการสังเกตตนเองและจดบันทึก ในสิ่งที่ตนกระทำ ทำให้ทราบว่าสิ่งใดที่ควรจะปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง ควรทำหรือไม่ควรกระทำในสิ่งใด 3.การทำสัญญากับตนเองด้วยการเขียนสัญญาที่ตนเองต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับตนเอง โดยการเขียนนี้ จะเป็นตัวกระตุ้นได้ดีกว่าการคิดในใจ เอาสิ่งที่เขียนติดไว้ในหัวเตียงหรือที่ ๆ สังเกตเห็นได้ง่าย การเขียนสัญญากับตนเอง เช่น ผมจะยิ้มกับเพื่อนร่วมงาน 10 คน หรือ ฉันจะทำรายงาน ส่งอาจารย์ให้เสร็จ ถ้าเสร็จแล้วจะไปดูหนัง 1 เรื่อง หรือ ฉันจะเก็บเงินให้ได้หนึ่งหมื่นบาท ถ้าได้ครบ จะไปทำสังฆทาน 5 ชุด หรืออื่น ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการ ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4.การจำกัดหรือหลีกเลี่ยงจากสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้น ให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น คนที่ต้องการลดน้ำหนัก จะต้องไม่ซื้อขนม หรืออาหารมาใส่ไว้ในตู้เย็น หรือไม่แวะร้านอาหารโปรดทุกวัน หรือจะไม่ไปเดินห้าง เพื่อฆ่าเวลารอรถเมล์ เพราะเดินห้างทีไร ต้องได้ควักกระเป๋าทุกที การหลีกหน ีสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม หรือนิสัยที่ไม่ต้องการ จะช่วยได้มาก 5.การเลือกสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ การเลือกที่จะอยู่ในสิ่งแวดล้อม หรือเลือกบุคคลที่จะใกล้ชิด เป็นวิธีการหนึ่ง ที่ช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมได้เป็นอย่างดี เช่น ถ้านักเรียนต้องการ ที่จะเป็นคนสนใจใฝ่ศึกษา เพื่อนที่เขาคบ ก็ควรเป็นคนที่สนใจใฝ่หาความรู้ ต้องการที่จะศึกษา ค้นคว้า การร่วมกลุ่มกับเพื่อนที่ใฝ่ศึกษา ก็จะทำให้ท่านมีความกระตือรือร้น ในการศึกษาด้วย เพื่อที่ท่านจะได้เป็นคนที่เพื่อน ๆ ยอมรับ เช่นเดียวกับการอยู่ร่วมกันในสังคม ถ้าสังคม ชุมชนนั้นเป็นชุมชนที่ยกย่องความดี คนในสังคมก็ย่อมที่จะอยากปฏิบัติตัวเป็นคนดี เพราะคนเรานั้
หมายเลขบันทึก: 131207เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2007 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท