การกลับมาของ ครูอ๊อด (oddy)


ทำแล้วถอด ถอดแล้วทำ

     ห่างหายไปจาก G2K เสียนาน แต่ไม่นานจนหายเข้ากลีบเมฆนะ เสน่ห์แห่งเวทีเสมือนยังทำให้เราต้องหวลกลับมาอีกจนได้

          ช่วงที่หายไปก็นำพาชีวิตโลดแล่นไปตามวัฎจักรแห่งธรรมชาติ สุข ทุกข์ เศร้า (เคล้าน้ำตา)  บางเรื่องเป็นความโศกอันเกษม  แต่ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นคุณค่าแห่งชีวิตที่ได้เรียนรู้ทั้งสิ้น  แล้วจะว่ากันต่อไป

           เริ่มจากเรื่องที่ได้มีโอกาสไป จ.มุกดาหารอีกครั้ง ในงานสัมมนาวิทยากรแกนนำ KM กศน. เมื่อ 19-21 กย. ที่ผ่านมา  วัตถุประสงค์ ที่มาที่ไป ครูนงเมืองคอนได้เขียนไว้อย่างครอบคลุมแล้วที่    http://gotoknow.org/blog/nfeteacher/131326    

         เรื่องที่จะเล่าจึงขอเป็น เรื่องที่อยากเห็นและเป็นอยู่ ดีกว่า   วันแรกของการสัมมนาถูกกำหนดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ว่าหลังจาก 1 ปีเศษ ที่ กศน.จัดอบรมให้รู้จักกับเครื่องมือช่วยการทำงานตัวใหม่ ที่ชื่อ เจ้า KM  นั้นแล้ว  ใครกลับไปทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ให้เอาประสบการณ์ สิ่งที่เกิดขึ้นและไม่เกิดขึ้น มาแชร์กัน  โดยเฉพาะระหว่างทางเดิน นั้นได้เก็บเกี่ยวอะไรบ้าง   โดยวงเล่า CoP ถูกแบ่งเป็นภาค ๆ ตามสังกัด แล้วให้ในวงเลือกตัวอย่าง ออกไปนำเสนอ            

            สิ่งที่พบเห็นในวันนั้น ต้องบอกว่าดีใจที่สถาบันฯสิรินธร ขับเคลื่อนให้เกิดงานนี้ขึ้น แม้ว่ากลุ่มเป้าหมายมีข้อจำกัดที่ให้ส่งมาร่วมงานเพียงจังหวัดละ 1 คน จาก 32 จังหวัด (แต่ km team สุรินทร์ ไปกันตั้ง 4 คน)    น่าเสียดายที่เวลากำหนดไว้น้อยมาก ยังไม่ทันได้กะเทาะเปลือก เลือกแก่นกันจริง ๆ ก็หมดเวลาแล้ว            

             การร่วมวงเล่าแบบเห็นหน้าเห็นตากัน (f2f )  นั้นมีข้อดีหรือเสน่ห์อยู่ในตัว นั่นคือ ความมีชีวิต(ในเรื่องเล่า) ความสด  ความรู้สึก สัมพันธภาพ และอื่น ๆ  ทั้งคนเล่าคนฟังได้ฝึกใช้เครื่องมือในตัวเองไปพร้อมกัน เช่น เล่าให้เห็นความคิด ความเชื่อ  ที่มาที่ไป ฟังอย่างลึกซื้ง  ถามให้เห็นบริบท และฝึกจับประเด็น (ซึ่งอาจมีความรู้แฝงมาด้วยแน่นอน)

         คุยกันในวงเล็ก ๆ ว่าน่าจะทำให้เกิดวงเล่าบ่อย ๆ  ภาษาครูนงที่พูดวันนั้นว่า ทำแล้วถอด ถอดแล้วทำ   โปรดอย่าคิดมาก  นั่นคือการถอดประสบการณ์/บทเรียน นั่นเอง ขอขยายตามประสาตัวเองว่า ทำแล้วถอด ก็คือ ทำงานแล้วลองถอยกลับมาดูว่าสุข ทุกข์ อย่างไรเกิดอะไรระหว่างทาง ได้ ไม่ได้อะไร มากน้อยอย่างไร มีแนวทางแก้ไข สนับสนุนอีกหรือไม่  หรือที่ชุมชน km เรียกกันว่า AAR นั่นแหละ  ส่วนถอดแล้วทำ ก็คือ เก็บเกี่ยวความรู้ กลเม็ดเคล็ดลับ ที่ได้ เอากลับไปประยุกต์ใช้ตามบริบทของตน หมุนเกลียว ยกระดับความรู้นั้นต่อไปอีก 

           ถ้าทำอย่างนี้ได้การทำงานคงจะสนุกเพราะงานทำให้เราได้เรียนรู้ และเติบโต งอกงามไปพร้อมกัน  คิดเห็นอย่างไรช่วยกันเติมเต็มด้วยค่ะ

 
หมายเลขบันทึก: 130037เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2007 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • อ๊อดน้องรัก
  • เจ๊แอบเข้าไปดูบรรยากาศน่าจะแนบแน่นกว่านี้มันเป็นทางการไปอะ(นั่ง-นอนคุยกันดีกว่า)
  • แต่ก็สามารถจัดเก็บเรื่องราวต่างๆรวมทั้งเอกสาร เพื่อนำมารายงานภาพรวมการจัดการความรู้ของ กศน.ได้มากมาย ได้ประโยชน์หลายเด้อ
  • คราวหน้าแก้ตัวใหม่ ขอไปแจมอย่างเต็มตัวด้วยคนนะ

 

 

 

น้องครูอ๊อด

  • ที่เจ๊แอ๊วว่าไว้ข้างบนเราเอาเป็นต้นทุนที่จะยกระดับกันครั้งหน้านะ
  • ออกแบบเวทีและจัดบรรยากาศการพูดคุย เล่าแลก ความสัมพันธ์กันให้ดีกว่านี้
  • ที่เจ๊แอ๊วว่ามาก็คือสิ่งที่เราทำกันอยู่แล้ว ซึ่งทำได้ไม่ยาก หาสถานที่ที่เอื้อ โรงแรมแบบนั้นไม่น่าจะไม่เหมาะ มันต้องปูเสื่ออย่างทีเจ๊ว่าคงจะดีไม่น้อย
  • เจ๊แอ๊วบอกว่าครั้งหน้าจะอยู่ร่วมหัวจมท้าย...เอ้าพวกเราช่วยกันเฮ! ! !

          อย่างที่เคยบอกผมเป็นคนที่ผ่านประสบการณ์ชีวิตมามากเพราะประสบการณ์เป็นดัชนีตรงกับอายุ การที่มีประสบการณ์มากทำให้อึดอัดเพราะไม่รู้ว่าจะระบายให้ใครฟัง ด้วยเหตุผลนี้จึงตัดสินใจเข้าร่วมกระบวนการกับน้อง ๆ ที่มุกดาหาร สะใจครับถ้ารู้ว่าดีอย่างนี้ยอมเข้าร่วมไปนานแล้ว

         เวทีที่มุกดาหารทำให้ผมเห็นช่องทางที่จะระบายความอึดอัด ยิ่งมีน้อง ๆ หลายคนคอยให้กำลังใจตอบได้คำเดียว ตายเป็นตาย ขอบคุณกำลังใจจากน้องทุกคน นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท