KM. to the Best Practice


การจัดการความรู้ สู่ สุดยอดการเรียนการสอน

KM. to the Best Practice

โดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต1

                ปัจจุบัน โลกได้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (  Knowledge Based   Economy ) งานต่างๆ จำเป็นต้องใช้ความรู้มาสร้างผลผลิตให้มีมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น การจัดการความรู้เป็นแนวทางการบริหารจัดการที่กำลังได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในปัจจุบัน และเป็นที่เชื่อมั่นว่าเป็นกลไกสำคัญที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

                แนวคิดของการจัดการความรู้( Knowledge Management  ) ในประเทศไทยที่ผ่านมาถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่หรือเรื่องไกลตัว เพียงแต่ไม่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ และส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงกว้างอย่างแท้จริง

                ด้วยความมุ่งมั่นและตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาส่วนราชการในทุกระดับให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และมีการจัดการความรู้ในส่วนราชการอย่างเป็นระบบตามเจตนารมณ์พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 11 ว่า

   ส่วนราชการ มีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข่าวสาร และสามารถประมวลผลความรู้ด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการอย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมต่อสถานการณ์  รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศน์คติของข้าราชการในสังกัด ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน...

                สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูนเขต1 มีภารกิจหลักในการจัดบริการสนับสนุนและส่งเสริมพัฒนาการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนในวัยเรียน ซึ่งมีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องรับผิดชอบในการดำเนินงานอยู่เป็นจำนวนมาก ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำแนวคิดการจัดการความรู้มาใช้พัฒนาองค์กรในทุกระดับ โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาบุคลากรการสอนในโรงเรียน โดยนำมาผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบ การนิเทศเชิงระบบแบบครบวงจร ทีทางกลุ่มนิเทศติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการนิเทศติดตามผลในโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง จำนวน 2 โรงเรียนคือ โรงเรียนจักรคำคณาทร และ โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ลำพูน ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ในสังกัด โดยมุ่งหวังเพื่อเป็นการสร้างระบบนิเทศ และเป็นแกนนำในการพัฒนาการพัฒนาองค์กร และพัฒนาครู โดยการจัดการความรู้เพื่อสร้างครูให้มีประสิทธิภาพสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพสูงสุด สู่การให้ได้มาซึ่งสุดยอดของการเรียนการสอนในแต่ละกลุ่มสาระ โดยได้มีกิจกรรมหลักคือการจัดการความรู้ สู่ สุดยอดการเรียนการสอน (KM. to the Best Practice )  

       กระบวนการจัดการความรู้ 5 ขั้นตอน  ที่ดำเนินการในปีงบ 2550

1.             สร้างความตระหนัก ด้านการจัดการความรู้

               -  อบรมครูแกนนำนักจัดการความรู้ แก่โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2 โรงเรียน  โรงเรียนละ 16 คน ผู้บริหาร และ รองฝ่ายวิชาการ โรงเรียนละ 2 คน รวม 36 คน

         ( วันที่  13 มิถุนายน 2550    สพท.ลำพูนเขต1 )

-                   อบรมครู เจ้าหน้าที่สำนักงาน  และผู้สนใจ ในวัน 

เปิดประตูสู่การจัดการความรู้  จำนวน 200 คน

( วันที่ 22 สิงหาคม 2550 ณ สพท.ลำพูน1 )

                    -    อบรมผู้บริหารโรงเรียนมัธยม ของชมรมผู้บริหาร  

                    โรงเรียนมัธยมจังหวัดลำพูน   จำนวน  30  คน

              ( วันที่  4  กันยายน  2550   ณ โรงเรียนจักรคำคณาทรลำพูน)

2.             ปรับพฤติกรรมการเรียนการสอน

- การสกัดขุมความรู้ สู่แก่นความรู้   ด้วยการนำมวลหมู่ประสบการณ์ของครูผู้สอนที่มี

   ความสนใจในการสอนเรื่อง สาระเดียวกัน มาสกัดขุมความรู้ แก่นความรู้ด้วยกระบวนการ เรื่องเล่าเร้าพลัง

- ผสมผสานแก่นความรู้สู่แผนการสอนด้วยการออกแบบการสอนรูปแบบ  Backward  Design

3.             แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตน พัฒนางาน  ด้วยคนในชุมชนเดียวกัน โดยการพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นประสบการณ์  และ นำเสนอในรูปเอกสารเผยแพร่ทั้งทางตรงและ บน Blog ในระบบ Inter Net

4.             สร้าง Best Practice ด้านการเรียนการสอน  ของแต่ละกลุ่มสาระ  โดยหากระบวนการเรียนการสอนที่ดีที่สุด ของแต่ละกลุ่มสาระ เพื่อเป็นแนวทาง และพัฒนาต่อยอด

5.             กระบวนการวัดประเมินผลตามสภาพจริง และ กระบวนการ AAR.  (  After Action Review  )   จะทำให้ระบบการวัดผลประเมินผลคุณภาพการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อที่จะนำไปเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาจัดการศึกษา และ เผยแพร่แก่โรงเรียนทั่วไป

ปัจจัยเกื้อ                ผู้บริหารทุกระดับ ใน สพท.ลำพูน 1 ได้ตระหนักและสนับสนุนการจัดการความรู้  และโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้รับงบประมาณสนับสนุนกิจกรรม

ผลที่ได้รับ                โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ที่ตระหนักและได้นำกระบวนการการจัดการความรู้เข้าสู่การบริหารองค์กร เป็นผลให้คุณภาพของบุคลากร คุณภาพของงานด้านการเรียนรู้ และคุณภาพขององค์กรโรงเรียน ดีขึ้น

 

หมายเลขบันทึก: 129970เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2007 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สาธุ...ขอให้การจัดการความรู้ สพท.ลำพูน 1 เฟื่องฟู เต็มพื้นที่ ...เป็นกำลังใจให้จ้ะ...

ขอบคุณครับ ที่เป็นกำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท