parn
นางสาว ชญานิษฐ์ มิ่งแก้ว

กฏแห่งกรรม


ได้รับเมลล์นี้มาค่ะ  หลายคนอาจจะอ่านมาแล้ว แต่ว่า เอามาลงไว้เผื่อใครยังไม่เคยอ่าน ลองอ่านดูนะค่ะ  (ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่าค่ะ)

กฏแห่งกรรม

 1. เหตุใดคุณมีเสื้อผ้าแพรพรรณอันงดงามสวมใส่มากมาย 
เพราะชาติก่อนคุณเคยถวายจีวรแด่พระสงฆ์
 

2. เหตุใดชาตินี้คุณมีอาหารดีดีรับประทานอยู่เสมอ  เพราะชาติก่อนคุณเคยทำทานอาหารแก่คนยากจนในชาติก่อน

3. เหตุใดชาตินี้คุณอดอยากยากจนไม่มีเสื้อผ้าดีดีสวมใส่ เพราะคุณตระหนี่ขี้เหนียวไม่ยอมทำทานคนจนในชาติก่อน
 

4. เหตุใดชาตินี้คุณมีบ้านเรือนใหญ่โต เพราะคุณเคยถวายข้าวสารเข้าวัดในชาติก่อน
 

5. เหตุใดชาตินี้คุณมีความเจริญรุ่งเรืองและมีความสุขมาก  เพราะคุณเคยถวายเงินสร้างวัดในชาติก่อน
 

6. เหตุใดชาตินี้คุณเปนคนสวยและรูปงาม เพราะคุณเคยถวายดอกไม้สดบูชาพระด้วยความเคารพในชาติก่อน

7. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นคนฉลาดปราดเปรื่องมีปัญญาดี เพราะคุณเคยเป็นพุทธมามกะและทานมังสวิรัติในชาติก่อน
 

8. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นที่รักของทุกๆคนและมีเพื่อนมากมาย เพราะคุณเคยสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อทุกคนในชาติก่อน
 

9. เหตุใดชาตินี้คุณมีพ่อแม่อยู่พร้อมหน้า เพราะคุณเคารพและช่วยเหลือไม่ดูแคลนคนไร้ญาติในชาติก่อน
 

10. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นเด็กกำพร้า เพราะคุณเคยยิงนกตกปลาและพรากสัตว์ในชาติก่อน
 

11. เหตุใดชาตินี้คุณมีอายุยืนแข็งแรง เพราะคุณเคยปล่อยนกปล่อยปลาสิ่งมีชีวิตในชาติก่อน
 

12. เหตุใดชาตินี้คุณอายุสั้น เพราะชาติก่อนคุณเคยฆ่าสัตว์มากมายในชาติก่อน
 

13. เหตุใดชาตินี้คุณเป็นคนรับใช้  เพราะชาติก่อนคุณเคยดูถูกเหยียดหยามคนจน
 

14. เหตุใดชาตินี้คุณมีดวงตาสดใส เพราะชาติก่อนคุณเคยเติมน้ำมันตะเกียงและจุดไฟบูชาพระ

15. เหตุใดชาตินี้คุณโง่ปัญญาอ่อนและหูหนวก เพราะชาติก่อนคุณเคยด่าว่าและหยาบคายต่อหน้าพ่อแม่

หมายเลขบันทึก: 129837เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2007 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ในเมื่อเราพอรู้กฏแห่งกรรมอย่างนี้แล้วเราก็ควร รีบทำแต่ กุศลธรรม นำแต่ความดี แล้วผลของความดีนั้นก็จะจัดสรร กรรมและทำให้มนุษย์ ไปเกิดในสุขติ และมนุษย์เป็นภูมิเดียวเท่านั้น ที่จะสามารถเลือกเส้นทางเกิดได้โดยสะดวกที่สุด โดยพิจารณา จากการปฏิบัติตนขณะมีชีวิตว่า เมื่อตายแล้วจะไปไหน คือ

-         ทางไปที่เกิดเป็นสัตว์นรก ด้วยอำนาจความโกรธ ความแค้น ความหมองใจ ทรมานใจ

-         ทางไปเกิดเป็นเปรตอสูรกาย ด้วยอำนาจความโลภ

-         ทางไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ด้วยอำนาจโมหะ คือ ความหลง ความหลงผิด เช่น ไม่มีบุญมีบาป

-         ทางไปเกิดเป็นมนุษย์โดยการรักษาศีล 5 และกุศลกรรมบถ 10 ได้แก่ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจอ

-         ทางไปเกิดบนสวรรค์ คือ การให้ทาน รักษาศีล  และเจริญภาวนา

-         ทางไปสู่พรหมโลก คือ การปฏิบัติสมถกรรมฐาน

-         ทางไปสู่นิพพาน คือ วิปัสสนากรรมฐาน และปฏิบัติตามมรรค 8

ดังนั้นพุทธศาสนิกชนทั้งหลายจงเชื่อมั่นในความจริงที่ว่าตายแล้ว เกิดโดยสุดแต่กรรมจะชักนำไป เพราะสิ่งนี้คือ หลักสำคัญของพระพุทธศาสนา คือ การเวียน ว่าย ตาย เกิด หรือการ เกิดดับ ไม่มีที่สิ้นสุด จนพระพุทธองค์สามารถทำพระองค์ให้หลุดพ้นจากการเกิด ดับได้คือปรินิพพาน สามารถหลุดพ้นสู่นิพพาน คือ ไม่กลับมาเวียนว่ายตาย เกิดอีกต่อไป

 

แรงผลักดันของตัณหา ส่วนจะเกิดเป็นอะไรก็ได้สุดแต่ กรรม ที่จะนำไปในขณะที่จิตระดับ ที่เรียกว่าจุติวิญญาณ ถ้าจิตขณะนั้นดีมีกุศลกรรมที่ดีก็จะนำไปเกิดในภพภูมิที่ดี และตรงกันข้ามถ้าจิตขณะดับเป็นอกุศลก็จะนำไปสู่ภพภูมิที่ต่ำ จะมีการต่อเนื่องจากจุติวิญญาณไปเป็น ปฏิสนธิวิญญาณ นอกจากนี้จิตขณะจะดับอาจจะถูกชักนำด้วยกรรมนิมิตดีหรือชั่วที่ทำมาก่อนในชาตินั้น ด้วยเหตุนี้ไม่ว่าในศาสนาใดก็ตาม มักจะแนะนำให้ผู้ใกล้ตายคิดถึงสิ่งดีๆเช่น คิดถึงพระสงฆ์ นึกแต่สิ่งที่ดีๆๆที่เราเคยทำไว้ ฉะนั้นเราควรนึกถึง คำสั่งสอน ที่ว่า

เรามีความแก่เป็นธรรมดา เราจะพ้นความแก่ไปไม่ได้

เรามีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา เราจะพ้นความเจ็บป่วยไปไม่ได้

เรามีความตายเป็นธรรมดา เราจะพ้นความตายไปไม่ได้

 ซึ่งจะทำให้เราเป็นคนไม่ประมาท เร่งทำแต่ความดี และทำทุกอย่างที่ควรทำในโอกาสแรกที่สุด เพราะไม่แน่ว่าเราจะหมดโอกาสเมื่อไร ผู้ที่เจ็บป่วยควรนึกถึงสัจธรรมข้อนี้ไว้เสมอ โดยเฉพาะข้อ มรณานุสติ เพราะจะช่วยทำให้สามารถระงับความเศร้าโศกเสียใจได้บ้าง ช่วยให้ปลงตกได้

 ความดี

เรื่องความดีความชั่วจัดเป็นเรื่องยากเรื่องหนึ่ง ที่จะรู้และเข้าใจ เมื่อรู้และเข้าใจแล้วก็ยังยากที่จะปฏิบัติการเว้นจากความชั่ว ทำความดีให้สมบูรณ์ได้ ทั้งนั้นเพราะมีองค์ประกอบหลายอย่างที่ทำให้ปฏิบัติไม่ได้ สมความต้องการและปฏิบัติไม่ได้เสมอไป

                ตามหลักพุทธศาสนา ถือว่า การกระทำ คำพูดหรือความคิดที่เป็นไปเพื่อไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนและมีประโยชน์ ถือว่าเป็นคนดี ที่ตรงกันข้ามเป็นความชั่ว ที่กล่าวมานี้เป็นหลักกว้างๆ อาจมีข้อปลีกย่อยอื่นๆอีกที่ต้องทำความเข้าใจพิเศษอำมากมาย

 ในองค์ประกอบดังกล่าวข้างต้นนั้นถือเอาประโยชน์เป็นจุดยืนที่สำคัญ คือเมื่อพิจารณาเล็งถึงประโยชน์ แล้วแม้ตนเองจะต้องเดือดร้อนบ้าง ผู้อื่นเดือดร้อนบ้างก็ถือว่า เป็นความดี เช่นพ่อแม่ต้องเดือดร้อนเหนื่อยยากในการทำมาหาทรัพย์เพื่อให้ลูกได้ศึกษาเล่าเรียน****

เราอาจพิจารณาตามหลักที่สูงขึ้นไปสักหน่อย มาตรฐานแห่งความดี ความชั่ว เราก็ถือเอาว่า ความโลภ โกรธ หลง และไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เป็นหลักพิจารณา คือกรรมใดที่ทำเพราะโลภ โกรธ หลง เป็นมูล จัดเป็นกรรมชั่ว ถ้าทำด้วยความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เป็นมูล คือทำด้วยเหตุผลบริสุทธิ์จัดเป็นกรรมดี โลภ โกรธ หลง เป็นอกุศลมูล รากเหง้าของอกุศล ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เป็นกุศลมูล รากเหง้าของกุศล ท่านว่าเมื่ออกุศลเกิดขึ้นแล้ว กุศลอย่างอื่นที่ยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็เจริญยิ่งขึ้น ฝ่ายอกุศลมูลก็เช่นเดียวกัน

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท