การรักษาสมดุลชีวิต


ทฤษฎีการรักษาสมดุลชีวิตอธิบายถึงการปรับตัวของมนุษย์ทั้งร่างกายและพฤติกรรมเพื่อรักษาดุลยภาพของชีวิตท่ามกลางความไม่หยุดนิ่งของสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงและแปรปรวนอยู่ตลอดเวลาทั้งภายในและภายนอกร่างกาย โดยความจำเป็นพื้นฐานได้รับการตอบสนองอย่างพอเพียง และทุกมิติแห่งการดำเนินชีวิตมีความแข็งแกร่ง
ทฤษฎี การรักษาสมดุลชีวิต (Maintaining the Balance of Life)
การเดินทางต้องมีแผนที่และเข็มทิศนำทางฉันใด การดำเนินชีวิตหรือกิจการงานก็ต้องมีทฤษฎีเป็นเครื่องนำทางฉันนั้น ทฤษฎีเป็นการอธิบายเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งๆ ที่คนเราใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเพื่อปฏิบัติสิ่งต่างๆ ตลอดเวลาที่เราดำเนินชีวิต ดร.แก้ววิบูลย์ แสงพลสิทธิ์ ได้พัฒนาทฤษฎี การรักษาสมดุลชีวิตมาตั้งแต่ พ.ศ. 2537 จากกรอบแนวคิด “พลวัตสมดุล (The Homeodynamics) เพื่ออธิบายความสมดุลของชีวิตที่ต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจดำเนินชีวิตให้มีความผาสุก มีสุขภาพแข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีความเชื่อว่าเป้าหมายของการมีชีวิตคือความต้องการการคงอยู่ (Existing) จึงทำให้มนุษย์มีความ สามารถของตัวเองทั้งด้านร่างกายและพฤติกรรมในการสร้าง ปรับ และควบคุมตัวเอง เพื่อตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต (Basic needs) ให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความผาสุก (Well-being) จนหมดอายุขัย ทฤษฎี การรักษาสมดุลชีวิต จึงช่วยให้บุคคลสามารถรักษาความสมดุลของชีวิต โดยการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาคำว่า พลวัต หมายถึงความไม่หยุดนิ่ง ทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนแปรเปลี่ยนไปตามการหมุนของโลก วันนี้ย่อมไม่เหมือนเมื่อวาน ร่างกายของเราแก่ลงไปอีกวันหนึ่ง เด็กมีการเจริญเติบโต ส่วนผู้ใหญ่แก่ลงไปเรื่อยๆ จนร่างกายหมดสภาพตายไป สิ่งแวดล้อมภายในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงทุกวินาทีตามอายุขัย ตามสภาพฮอร์โมนในแต่ละวัย และตามการตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากภายนอกร่างกาย ซึ่งสิ่งแวดล้อมภายนอกตัวเราก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีของตัวเองเช่นกันคำว่า สมดุลชีวิต หมายถึงความจำเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต (Basic needs) ได้รับการตอบสนองอย่างพอเพียง คำว่า ความจำเป็น หมายถึงขาดไม่ได้ ส่วนคำว่า พอเพียง หมายถึงพอดี ไม่ขาดไม่เกินคำว่า สมดุลชีวิตที่เป็นพลวัต จึงหมายถึง ความจำเป็นพื้นฐานของชีวิตนั้นขาดก็ไม่ได้เกินก็ไม่ดี ไม่ว่าชีวิตจะปรับเปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมอย่างไรก็ตามทฤษฎีการรักษาสมดุลชีวิตอธิบายถึงการปรับตัวของมนุษย์ทั้งร่างกายและพฤติกรรมเพื่อรักษาดุลยภาพของชีวิตท่ามกลางความไม่หยุดนิ่งของสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงและแปรปรวนอยู่ตลอดเวลาทั้งภายในและภายนอกร่างกาย โดยความจำเป็นพื้นฐานได้รับการตอบสนองอย่างพอเพียง และทุกมิติแห่งการดำเนินชีวิตมีความแข็งแกร่งทฤษฎีการรักษาสมดุลชีวิตประกอบไปด้วยแนวคิดพื้นฐาน 4 ประการคือแนวคิดเกี่ยวกับการมีชีวิต (Human Being)มนุษย์เป็นระบบย่อยในระบบครอบครัว กลุ่มคน ชุมชน และสังคม เป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นระบบเปิดและระบบย่อยภายในร่างกายมีทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว มนุษย์จึงมีความเป็นองค์รวมประกอบไปด้วยมิติร่างกาย มิติจิต มิติใจ มิติอารมณ์ มิติสังคม และมิติจิตวิญญาณที่มีความเกี่ยวข้องกันและส่งผลต่อกันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งความเป็นองค์รวมของมนุษย์ทำให้คนประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นร่างกาย (Biological structure) และพฤติกรรม (Behavioral repertoire) ซึ่งทั้ง 2 องค์ประกอบนี้มีความสามารถของตัวเองที่เรียกว่า อัตพิสัย (Self-capabilities) 3 ประการ คือ การสร้าง การปรับ และการควบคุมตัวเอง กล่าวคือร่างกายสามารถสร้างสิ่งจำเป็นขึ้นมาเอง เช่น เซลล์ เม็ดเลือด ฮอร์โมน มีการกำกับควบคุมให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานอย่างสอดคล้อง ประสาน และร่วมมือกัน รวมทั้งสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ความสามารถเหล่านี้คือระบบคุ้มกันและระบบรักษาตัวเอง เมื่อเกิดมาแล้วมนุษย์จึงไม่ตายลงง่ายๆ ร่างกายจะใช้ความสามารถทั้ง 3 นี้จนสุดฤทธิ์เพื่อรักษาความสมดุลเพื่อความอยู่รอด ความ สามารถเหล่านี้จะทำให้การมีชีวิตเป็นไปได้ด้วยดีก็ต่อเมื่อผู้เป็นเจ้าของชีวิตทำให้มันมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือพฤติกรรมการดูแลตัวเองนั่นเอง พฤติกรรมเป็นเรื่องที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ จิตคือการรู้ เข้าใจ และคิด ส่วนใจเป็นเรื่องของความรู้สึกชอบไม่ชอบ อยากไม่อยาก สนใจหรือไม่สนใจ มีทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับข้อมูลความรู้ที่ได้รับรู้อย่างไร ถ้าอำนาจจิตกับอำนาจใจไม่สมดุลกันก็จะปรากฏออกมาเป็นพฤติกรรมที่เราพบเห็นอยู่มากมายในสังคมไทย เช่น รู้ก็รู้ว่าบุหรี่เป็นพิษภัย แต่แพ้ใจที่หงอยเหงาเศร้าสร้อย หดหู่ไม่มีความสุข วิตกกังวลเครียด ก็เลยสูบบุหรี่ เมื่อพฤติกรรมเป็นแบบนี้อัตพิสัยก็ลำบากหน่อย ทำงานให้มีประสิทธิภาพยากมาก เพราะถึงแม้ร่างกายจะเก่งสารพัด มีความสามารถเยียวยา ปกป้องรักษาทำให้ตนเองรอดชีวิต แต่เสพสารพิษเข้าไปบ่อยๆ ร่างกายก็คงหมดแรง เสื่อมสภาพ เกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย อาจจะทำต่อไปไม่ไหวล้มตายไป หรืออยู่ต่อไหวแต่ก็ไม่มีความสุขการมีชีวิตต้องการพลังงาน (Energy) เพื่อการอยู่รอด เจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และต้องการข้อมูล (Information) ความรู้ ตลอดจนสิ่งดีๆ เพื่อการเรียนรู้เพื่อสร้าง ปรับ และควบคุมพฤติกรรมของตนเอง ดังนั้น จึงมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตลอดเวลา ร่างกายของมนุษย์เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วก็จะเริ่มเสื่อม สภาพและสิ้นอายุขัยในที่สุด ช่วงชีวิตของมนุษย์จึงเริ่มตั้งแต่วัยก่อนคลอด วัยแรกเกิด วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ แต่ละวัยของชีวิตมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันไปตามปริมาณของการเรียนรู้ ธรรมชาติของการรอดชีวิตนั้น อวัยวะของระบบต่างๆ ในร่างกายจะต้องทำงานประสานกันเพื่อรักษาสมดุลไว้ตลอดเวลาที่ร่างกายมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง เรียกว่าพยายามที่จะรักษาสมดุลชีวิต ตลอดเวลาด้วยระบบประสาทอัตโนมัติ มนุษย์จึงต้องตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานเพื่อการรอดชีวิต เพื่อการพัฒนา เพื่อซ่อมแซม และเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ความจำเป็นพื้นฐานของการมีชีวิต (Basic Needs)1.       ความจำเป็นด้านร่างกาย (Physiological needs) การทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายต้องทำงานอย่างสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อรักษาพลวัตสมดุลของชีวิตให้มีชีวิตรอด เจริญเติบโต และดำรงเผ่าพันธุ์ ความจำเป็นพื้นฐานนี้เป็นความจำเป็นด้านกายภาพ เป็นเรื่องของโครงสร้าง อวัยวะ และเนื้อหนังมังสา ซึ่งจำเป็นต้องใช้พลังงานจากอาหาร อากาศ และน้ำ ต้องมีการเคลื่อนไหว พักผ่อน สร้างภูมิคุ้มกัน และสืบพันธุ์ ชีวิตเริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิ ร่างกายจะเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ อวัยวะต่างๆ จะถูกพัฒนาทั้งด้านรูปร่างและการทำงาน เมื่อเกิดมาแล้วแม้ว่าความสามารถในการทำหน้าที่ต่างๆ ของอวัยวะจะมีความพร้อมที่จะใช้พลังงานจากภายนอกตัวของแม่ แต่การเจริญเติบโตยังไม่สมบูรณ์ เด็กจึงต้องเจริญเติบโตต่อไปอีก โดยเฉพาะอวัยวะ กล้ามเนื้อ และกระดูกในขณะที่ร่างกายจะต้องแปรสภาพเชื้อเพลิงที่ได้รับเข้าไปให้เป็นพลังงาน และขณะที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย จะมีการทำลายเกิดขึ้นที่ระดับเซลล์ด้วย แต่ในเด็กอัตราการเจริญเติบโตมีมากกว่าร่างกายจึงเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ เมื่อโตเต็มที่แล้ว อัตราการสร้างจะเริ่มกว่าอัตราการทำลาย ความเสื่อมของร่างกายจึงเริ่มปรากฏให้เห็นและเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนหมดอายุขัย ทั้งอัตราการเจริญเติบโตและอัตราการทำลายของร่างกายจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองของผู้เป็นเจ้าของร่างกาย ส่วนคนที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ เช่น เด็กอ่อน ผู้ป่วยหนัก และคนแก่มากๆ ก็ขึ้นอยู่กับผู้ที่ดูแลช่วยเหลือว่าจะดูแลร่างกายของคนเหล่านี้ให้เป็นอย่างไร        จะเห็นได้ว่าการตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานด้านร่างกายก็คือการทำให้ร่างกายได้รับเชื้อเพลิงเข้าไปเป็นพลังงาน การช่วยให้การทำงานของระบบต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การทำให้ร่างกายได้ปลดปล่อยทั้งสิ่งที่มีประโยชน์อันเกิดจากการทำงานของร่างกาย เช่น กำลังแรง กำลังสมอง และได้ปลดปล่อยสิ่งที่เป็นของเสียต่างๆ ออกจากร่างกาย ได้แก่ อุจจาระ ปัสสาวะ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น ความจำเป็นพื้นฐานตัวนี้เป็นรากฐานสำคัญของมิติร่างกายแห่งการดำเนินชีวิต2.       ความจำเป็นที่ต้องรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและได้รับการยอมรับ (Self Esteem and Recognition needs) คือการที่บุคคลรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ได้รับการยอมรับ และได้รับการยกย่องให้เกียรติ อย่างน้อยที่สุดในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ความจำเป็นนี้เป็นความจำเป็นด้านความรู้สึก ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมที่เป็นคน คนที่สำคัญคนแรกของชีวิตคือพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด ความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นในจิตใต้สำนึกคือ เขามีคุณค่าที่ได้เกิดมาเป็นคน ความรู้สึกนี้จะได้รับการส่งเสริมจากความรัก ความเอาใจใส่ และการเลี้ยงดูที่อบอุ่นของพ่อแม่ หากเด็กได้รับสิ่งนี้อย่างพอเพียงความรู้สึกคุณค่าในตนเองจะเป็นพื้นฐานที่แข็งแกร่งของมิติใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ3.       ความจำเป็นที่ต้องมีความรักและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง (Love and Sense of Belonging needs) การที่บุคคลรู้สึกว่าถูกรัก มีความรัก รู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง เป็นเจ้าของใครและสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความจำเป็นนี้เป็นความจำเป็นด้านความรู้สึก ซึ่งเป็นกลไกอัตโนมัติของร่างกายที่ต้องการความรู้สึกดีๆ เป็นการทำงานของระบบประสาทผ่อนคลาย (Parasympathetic Nervous System) เพื่อผ่อนการทำงานของระบบประสาทเร่งเร้า (Sympathetic Nervous System) ในการรักษาสมดุลของการทำงานในร่างกาย และยังเป็นความรู้สึกที่ส่งเสริมความจำเป็นพื้นฐานด้านคุณค่าในตัวเองและด้านความรู้สึกมั่นคงในตัวเอง และเช่นเดียวกันที่คนสำคัญคนแรกคือพ่อแม่ หากเด็กได้รับความรักจากพ่อแม่อย่างพอเพียงความจำเป็นพื้นฐานนี้ก็จะเป็นพื้นฐานที่แข็งแกร่งของมิติใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ4.       ความจำเป็นที่ต้องมีความรู้สึกสุนทรีย์ (Aesthetic needs) คือการได้รับรู้และรู้สึกถึงสิ่งดีๆ สวยๆ งามๆ จากประสาทรับรู้ต่างๆ กระแสประสาทจะวิ่งเข้าสู่ศูนย์แห่งความพอใจในสมอง (Pleasure Center ซึ่งอยู่ที่บริเวณ Amygdala ใน Hypothalamus) ขณะที่เราชอบใจนั้นการทำงานของระบบประสาทเร่งเร้า ซึ่งทำให้ร่างต้องตะลุยทำงานและต่อสู้กับสิ่งต่างๆ เพื่อการรอดชีวิตจะได้พัก และประสาทอัตโนมัติที่มีหน้าที่ตรงข้ามกันคือระบบประสาทผ่อนคลายจะได้ทำงาน ยามนี้สารสุขหรือฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินจะถูกกระตุ้นให้หลั่งออกมา ทำให้เรารู้สึกเคลิบเคลิ้ม สบายอารมณ์ มีความสุข ซึ่งเป็นกลไกอัตโนมัติในการรักษาสมดุลของการทำงานในร่างกาย ความจำเป็นพื้นฐานนี้เป็นความจำเป็นด้านความรู้สึกอีกตัวหนึ่งที่จะเป็นพื้นฐานที่แข็งแกร่งของมิติใจและมิติอารมณ์ของการดำเนินชีวิต5.       ความจำเป็นที่ต้องรู้สึกมั่นคงปลอดภัย (Safety and Security needs) คือการที่บุคคลรู้สึกว่าตนเองมีความมั่นคงและปลอดภัย เพราะเป้าหมายในชีวิตคือความต้องการคงอยู่ ความจำเป็นพื้นฐานนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับสิ่งแวดล้อมและจิตวิญญาณ เพราะความรู้สึกกลัว วิตกกังวล และไม่รู้ไม่เชื่อมั่นนั้นสั่นสะเทือนความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ทั้งในเรื่องร่างกาย คุณค่าในตัวเอง และความรัก ทำให้ต้องแสวงหาสิ่งยึดเหนี่ยว สิ่งที่ช่วยยืนยันว่าตนเองมีคุณค่า มีความหมาย จนกลายเป็นความเลื่อมใส ศรัทธา เชื่อมั่น และเชื่อฟังในสิ่งที่ตนเองรู้และเชื่อ6.       ความจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ (Learning needs) คือการได้รู้และมีความเข้าใจในข้อมูลความรู้ที่จำเป็น มนุษย์จะเรียนรู้ตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย เป็นการทำงานของประสาทรับรู้ทั้งห้า คือการมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส และการสัมผัส ข้อมูลที่ได้จากประสาทรับรู้เหล่านี้จะวิ่งเข้าสู่สมอง แล้วถูกประมวลกันเข้าทำให้เรารู้และเข้าใจ และกลายเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของพฤติกรรม โดยเฉพาะพฤติกรรมในการดูแลตนเองที่ทำให้ความจำเป็นพื้นฐานด้านร่างกายมีความปลอดภัย ความจำเป็นพื้นฐานตัวนี้จึงเสริมความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย และเป็นรากฐานสำคัญของมิติจิตหรือมิติแห่งสติปัญญา และเกี่ยวกับมิติอารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณด้วย  7.       ความจำเป็นที่ต้องรู้จักตนเองและเป็นตัวของตัวเอง (Self Actualization needs) บุคคลต้องรู้จักตัวตนของตนเอง มีความเข้าใจตนเอง มีความเป็นตัวของตัวเอง มีอิสระ โดยเฉพาะอิสระในการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเอง เป็นความจำเป็นที่มนุษย์ต้องการจะควบคุมตนเอง สามารถแสดงตัวตนและคุณค่าของตัวเองออกมาให้ได้รับการยอมรับ ความจำเป็นพื้นฐานนี้จึงต้องอาศัยความเชื่อมั่นในคุณค่าของตัวเอง การเข้าใจและเรียนรู้ การตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานนี้เกี่ยวข้องกับทุกมิติของการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นร่างกาย จิต ใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (Environment)สิ่งแวดล้อมคือสิ่งต่างๆ ทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกเครื่องห่อหุ้มร่างกาย สิ่งแวดล้อมภายในคืออินทรีย์สาร ได้แก่ เซลล์ เนื้อเยื่อ และอนินทรีย์สาร ได้แก่ ส่วนประกอบของกระดูกและฟัน รวมทั้งสารประกอบทางชีวเคมี ทั้งหมดนี้รวมตัวกันเป็นอวัยวะของระบบต่างๆ ที่มีการติดต่อประสานงานกันเองและกับสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตราย มีทั้งคน พืช สัตว์ สิ่งของ น้ำ อากาศ ธาตุ สภาพทางเคมีและกายภาพ เช่น ลม ความกดดัน อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง ฯลฯ ซึ่งวิถีของสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ไม่มีการหยุดนิ่งเพราะเป็นไปตามการหมุนของโลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวนพเคราะห์อื่นๆ ทำให้มนุษย์ต้องปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติแวดล้อม มนุษย์มีหลากหลายเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ มีความรู้สึกนึกคิด มีความชอบ ความสนใจ ความเชื่อ และความรู้ ต่างอยู่รวมกันอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่ระดับครอบครัว สังคม สถาบัน และประเทศ ซึ่งแต่ละระบบจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ระบบของการอยู่ร่วมกันของมนุษย์นำมาซึ่งระเบียบ กฎ และกติกา ทำให้มนุษย์แต่ละคนมีบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบต่างๆ กันไป วิถีชีวิตของมนุษย์แต่ละคนที่อยู่ร่วมกันทำให้เกิดวิถีชีวิตของส่วนรวม ซึ่งทำให้เกิดเป็นค่านิยม วัฒนธรรม และประเพณี นอกจากนี้ สิ่งแวดล้อมภายนอกตัวเรายังประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้แก่ สัตว์และพืชสารพัดสารพันชนิด ซึ่งต่างก็มีความสัมพันธ์และมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ในส่วนนี้เราเรียกว่าระบบนิเวศ สิ่งทั้งหมดเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นระบบของคน ระบบนิเวศ และสภาพทางเคมีและกายภาพ ล้วนเป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลงตามวิถีของตนเอง และคือแหล่งข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ ที่เป็นทั้งสิ่งเร้าและสิ่งกระตุ้นให้ร่างกายของมนุษย์แต่ละคนมีปฏิกิริยาตอบสนอง แนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต (Quality of Life)คุณภาพชีวิตคือสภาพชีวิตของมนุษย์ที่ดำเนินไปตั้งแต่เกิดจนกว่าจะสิ้นอายุขัย เป็นผลลัพธ์จากการมีปฏิสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมภายในตัวเรากับสิ่งแวดล้อมภายนอกอย่างเป็นองค์รวมที่ประกอบด้วยมิติร่างกาย จิต ใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ ทั้ง 6 มิตินี้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันแยกกันไม่ออก มิติแห่งการดำเนินชีวิต (Dimensions of Living)1.       มิติร่างกาย (Physiological dimension) คือสภาวะของเซลล์ เลือด เนื้อ กระดูก เอ็น และอวัยวะต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันประสานกันอย่างเป็นระบบ เซลล์จึงเป็นแหล่งผลิตพลังงานให้ทุกส่วนของร่างกายให้สามารถทำงานได้ เคลื่อนไหวได้ กล่าวง่ายๆ คือมีชีวิต มีการเจริญเติบโต มีพัฒนาการ มีการเสื่อมสภาพ ร่างกายที่แข็งแกร่งคือร่างกายที่ได้รับการดูแลจนมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง ทนทาน คล่องแคล่ว กระฉับ   กระเฉง กระปรี้กระเปร่า สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ได้เหมาะสมกับวัย และปรับตัวได้ดีในสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น ในสภาพที่มีอากาศแตกต่างกัน2.       มิติจิต (Cognitive dimension) คือสภาพของสติปัญญา เป็นเรื่องของการคิด เป็นผลจากการตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานด้านการรับรู้และเรียนรู้ เป็นการใช้ข้อมูลต่างๆ ที่ร่างกายได้รับและเก็บไว้ในสมองเพื่อการแก้ปัญหา จินตนาการ และสร้างสรรค์ ข้อมูลและความสามารถในการใช้ข้อมูลของสมองเป็นเสมือนแหล่งข้อมูลที่มนุษย์เก็บไว้ใช้ในการตัดสินใจ ทั้งข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม จิตที่แข็งแกร่งคือการที่จิตได้รับการพัฒนา การมีสติ การรู้จักกาลเทศะ เฉลียวฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ แก้ปัญหาได้ มีความเข้าใจ รู้จักวิเคราะห์ ประเมิน มีเหตุผล หาเหตุผล และใช้เหตุผล รู้จักคิดวางแผน ริเริ่มและสร้างสรรค์ ปรับตัวได้ทันต่อความก้าวหน้าของข้อมูลความรู้และเทคโนโลยีของข้อมูล3.       มิติใจ (Affective dimension) คือสภาพของความรู้สึกที่ถูกวางรูปแบบมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิเป็นผลจากการตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานด้านความรู้สึกต่างๆ ทั้งด้านความรัก คุณค่าของชีวิต ความสุนทรีย์ ความมั่นคงปลอดภัย และความเป็นตัวของตัวเอง ที่หลอมรวมกันเป็นกำลังใจของบุคคล เป็นขุมพลังที่จะผลักดันให้บุคคลตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ ใจที่แข็งแกร่งคือกำลังใจในตัวเอง ไม่มีปมด้อย (หรือมีปมด้อยน้อยที่สุด) และมีมโนธรรม ทั้งคุณธรรม ศีลธรรม เมตตาธรรม มนุษยธรรม จริยธรรม และความยุติธรรมต้องมีอยู่ในใจตลอดเวลาเพื่อเป็นพื้นฐานในการพินิจพิจารณาก่อนการตัดสินใจในเรื่องใดๆ ซึ่งรวมไปถึงความมีวินัยและความรับผิดชอบ ที่จะต้องมีความยับยั้งชั่งใจ อดกลั้น และอดทนอย่างเหมาะสม สามารถปรับตัวได้ในสถานการณ์ต่างๆอย่างมีความสุข หรือจัดการกับความทุกข์ได้4.       มิติอารมณ์ (Emotional dimension) คือสภาวะของความรู้สึกในขณะที่เผชิญกับสิ่งเร้าสิ่งกระตุ้น ทั้งจากภายในและภายนอกร่างกาย สิ่งเร้าสิ่งกระตุ้นภายในร่างกายได้แก่ฮอร์โมน กระบวนการทางชีวเคมีและฟิสิกส์ของเซลล์ทั้งหลาย รวมทั้งข้อมูลที่เก็บไว้ในสมอง ตัวอย่างเช่นพอคิดถึงเรื่องบางเรื่องก็โกรธติดหมัดขึ้นมา เมื่อกี้ยังเห็นดีๆ อยู่แต่ตอนนี้หงุดหงิดจนใครเข้าหน้าไม่ติด ซึ่งบางทีคนรอบข้างก็ไม่เข้าใจว่าคุณเป็นอะไร กำลังคิดอะไรอยู่ ดังนั้น นอกเหนือจากข้อมูลที่ได้จากสิ่งแวดล้อมภายนอกแล้ว ข้อมูลในสมองที่เราเก็บไว้แล้วเอามาคิดต่างๆ นานาก็ก่อให้เกิดอารมณ์ได้ คิดดีก็สุขนั่งยิ้มอยู่คนเดียว คิดไม่ดีก็ทุกข์จนคนข้างๆ ต้องทุกข์ไปด้วย เมื่ออยากมีความสุขก็ต้องลืมสิ่งที่ไม่ดีและเลิกคิดถึงเรื่องที่ทำให้อารมณ์ขุ่นมัวเสียบ้างอารมณ์เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าสิ่งกระตุ้นซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมิติร่างกายและมิติใจ หากมีสุขภาพร่างกายดี มีกำลังใจ ไม่มีปมด้อยมากจนเกินไปก็จะมีความสมดุลระหว่างฉนวนและตัวรับสิ่งเร้าสิ่งกระตุ้น (คือกั้นสิ่งที่ไม่ดีไม่ชอบและรับสิ่งที่ดีๆ ที่ชอบ) และทั้งสองสิ่งนี้ก็จะมีคุณภาพที่ดีด้วย การที่กล่าวว่าไม่มีปมด้อยมากเกินไปก็เพราะคนเรามักมีปมด้อยไม่มากก็น้อย ยังไม่เคยเห็นใครผ่านวัยเด็กขึ้นมาอย่างสมบูรณ์เพียบพร้อมทุกด้าน ส่วนใหญ่ก็ขาดๆ เกินๆ ในเรื่องความจำเป็นพื้นฐานบางอย่าง ดังนั้น ถ้าเราจะสร้างเสริมป้องกันสุขภาพจิตและใจจึงต้องทำกับเด็ก ส่วนคนที่โตแล้วต้องแก้ไข บำบัดรักษา หรือฟื้นฟู ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก        มิตินี้เกี่ยวข้องกับความเคยชินของการแสดงออกและประสบการณ์การจัดการกับสิ่งเร้าสิ่งกระตุ้น ตัวอย่างเช่น เคยถูกตามใจมามาก ใครขัดใจไม่ได้ แสดงอารมณ์ออกมาอย่างไรก็ไม่เคยมีใครท้วงติง หรือความถี่ของความคับข้องใจมีมาก ซึ่งความเคยชินของการแสดงออกทางอารมณ์และการจัดการกับอารมณ์ของตนเองเป็นหัวใจสำคัญของบุคลิกภาพของบุคคลอารมณ์ที่แข็งแกร่งคืออารมณ์เป็นสุข อารมณ์ดี อารมณ์ขัน อารมณ์สนุก รู้สึกชื่นชม ชื่นชอบ ซาบซึ้ง ประทับใจ สามารถจัดการกับอารมณ์หรือปรับอารมณ์ของตนได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งควบคุม ยับยั้ง และมีการแสดงออกของอารมณ์อย่างสมเหตุสมผล สามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.       มิติสังคม (Social dimension) คือสภาวะที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งรวมทั้งคน สัตว์ พืช และทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา สังคมระดับพื้นฐานที่สุดและใกล้ตัวที่สุดคือครอบครัวของเราเอง ได้แก่ พ่อ แม่ พี่ น้อง สามี ภรรยา และลูก ไกลออกไปก็คือเครือญาติ เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมโรงเรียน ร่วมที่ทำงาน ร่วมประเทศ และร่วมโลก มิตินี้เป็นมิติเชื่อมต่อระหว่างความเป็นตัวเรากับสิ่งแวดล้อม เป็นมิติที่เราต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลและพลังงานกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ครอบครัวเราจึงมีอิทธิพลต่อมิตินี้ของเรามากที่สุด เป็นพื้นฐานที่เราจะก้าวไปสู่สังคมที่ไกลตัวเราออกไป เป็นแหล่งที่หล่อหลอมข้อมูลความรู้ความเชื่อจนกลายเป็นทัศนคติ ค่านิยม และวัฒนธรรมหรือวิถีการดำเนินชีวิตของเรา เช่น ครอบครัวของคนพุทธ คริสต์ อิสลาม ก็มักจะมีแนวทางอย่างศาสนานั้นๆมิติสังคมทุกระดับ ตั้งแต่ครอบครัว เพื่อน ชุมชน องค์กร ประเทศ และต่างประเทศมีอิทธิพลต่อการตอบสนองต่อทุกความจำเป็นพื้นฐานของคนเรา มิติสังคมเป็นมิติที่กำหนดบทบาท คาดหวังต่อบทบาท รวมทั้งตัดสินความเหมาะสมและคุณค่าของบทบาทของผู้คนในสังคม ก็เพราะมิตินี้คนเราจึงต้องมีการกำหนดกฎ กติกาต่างๆ ขึ้นมาเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ไม่ว่าจะเป็นกฎกติกาในบ้านท ในกลุ่ม ในชุมชน ในที่ทำงาน หรือกฎหมายของประเทศ        ความแข็งแกร่งทางด้านสังคมคือความสามารถในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีคุณภาพเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่เกิดการเข้าใจผิด มีมนุษยสัมพันธ์ เข้ากับผู้อื่นได้ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สามารถแสดงบทบาทและปรับบทบาทของตนได้อย่างเหมาะสม เช่น อธิบดีสมชายอาจเป็นผู้บังคับบัญชาในกรม กลับไปบ้านก็เป็นสามีของภรรยา เป็นพ่อของลูก เป็นลูกของพ่อแม่ ท่านอธิบดีก็ควรแสดงแต่ละบทบาทให้เหมาะสมกับสถานที่และเวลา และระดับของสังคม หวังว่าท่านจะไม่แสดงบทบาทของผู้บังคับบัญชากับภรรยาและลูก หรือแสดงบทบาทของสามีกับผู้ใต้บังคับบัญชาในกรม เพราะสังคมมันจะยุ่งเหยิง6.       มิติจิตวิญญาณ (Spiritual dimension) คือสภาวะของจิตและใจที่ตอบสนองความกลัวและความวิตกกังวล รวมทั้งความปรารถนาที่จะบรรลุเป้าหมาย ซึ่งมักเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิต การเกิด การตาย การเผชิญชีวิต ความสำเร็จ ความล้มเหลว และการคงอยู่ของวิญญาณ จึงเป็นเรื่องของการแสวงหาสิ่งยึดเหนี่ยวเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น มั่นใจ มีความหวัง และเป็นกำลังใจจากภายนอกตัวเรา นำมาซึ่งความเชื่อ ความศรัทธาเลื่อมใส ความนิยมชมชอบ และปลูกฝังกลายเป็นค่านิยมและทัศนคติมิติจิตวิญญาณเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมิติสังคมและมิติอื่นๆ เพราะเป็นมิติที่ตอบสนองความ
หมายเลขบันทึก: 129695เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2007 19:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท