การบริหารทุนเชิงบูรณาการ


การบริหารทุนที่ทุน

วันนี้เป็นวันพระขึ้น 8 ค่ำเดือน10 ไปทำบูญใส่บาตรพระตอนเช้ารับศีล 8ตามปกติที่เคยปฏิบัติมาและได้สนทนาธรรมกับญาติธรรมว่าถ้าออกพรรษาแล้วผมจะหากฐินสามัคคีมาทอดที่วัด 1 กองและจะนำผ้าไตรจีวรไปถวายพระสงฆ์ที่วัดเมืองปากลาย แขวงไชยบุรีประเทศสาธรณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งอำเภอบ้านโคกมีพื้นที่ติดต่อกับเมืองปากลายอยู่แล้ว ขออนุโมทนาบุญให้กับญาติธรรมกรุงเทพฯที่มีจิตศรัทธานำผ้าไตรจีวรมาให้เป็นบุญกุศลอย่างหาที่สุดไม่ได้และขอให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป

วันนี้ขอเล่าเรื่องการบริหารทุนเชิงบูรณาการที่ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ได้ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรจัดอบรมขึ้นให้กับคณะกรรมการกลางหมู่บ้านสุมข้าม หมู่ที่ 4 ต.นาขุมและบ้านม่วงเจ็ดต้น หมู่ที่ 2,7 ต.ม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคก เป็นกิจกรรมที่กลุ่มเป้าหมายขอมาเนื่องจากกรรมการที่รับผิดชอบเงินกองทุนต่างๆมีความหนักใจที่สมาชิกกองทุนกู้เงินนำไปประกอบอาชีพส่วนใหญ่จะเป็นหนี้ถาวรคือกู้เงินจากกองทุนหนึ่งไปใช้อีกกองทุนหนึ่งเป็นวงจรอยู่อย่างนี้ทั้งปีเสียแต่ดอกเบี้ยผลผลิตที่ได้ขายไปก็ไม่คุ้มเงินต้นกับดอกเบี้ย ระยะเวลาในการกู้ก็สั้นแล้วยังมีนายทุนมาให้สินเชื่อเมล็ดพันธ์พืช ยาปราบวัชพืช ยาปราบศัตรูพืชในราคาสูงก่อให้เกิดปัญหาหนี้สินรุงรังไปหมด ดังนั้นศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอบ้านโคกจึงได้ปรึกษากับเครือข่ายพันธมิตรประกอบด้วยปกครองอำเภอบ้านโคก พัฒนาชุมชนอำเภอบ้านโคก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์และองค์การบริหารส่วนตำบลนาขุม ดำเนินการอบรมให้ความรู้กับคณะกรรมการกองทุนต่างๆที่มีในหมู่บ้านดังนี้

  1. กองทุนสงเคราะห์หมู่บ้าน
  2. กองทุนประปาหมู่บ้าน
  3. กองทุนกลุ่มเกษตรกรหมู่บ้าน
  4. กองทุนกลุ่มทอผ้าสตรี
  5. กองทุนอาสาพัฒนาป้องกันตนเอง(อพป.)
  6. กองทุนหมู่บ้าน(กทบ.)
  7. กองทุนแม่ของแผ่นดิน
  8. กองทุนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน(กขคจ.)
  9. กองทุนกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า
  10. กองทุน SML(โรงสีชุมชน)
  11. กองทุนกลุ่มสัจจะออมทรัพย์
  12. กองทุนกลุ่มพืชไร่
  13. กองทุนเงินสนับสนุนจาก UNICEF
  14. กองทุนเงินสำนักสงฆ์

วิธีการดำเนินการอบรมแบบกระบวนการกลุ่ม

แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมตามกองทุนแต่ละกองทุนที่คณะกรรมการกองทุนนั้นๆรับผิดชอบแล้วตั้งประเด็นปัญหาที่คณะกรรมการประสบอยู่คือ

ประเด็นคำถาม1. สภาพการบริหารจัดการกองทุนที่คณะกรรมการดำเนินการมีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง ให้ตัวแทนของแต่ละกองทุนออกมานำเสนอจากที่ได้ระดมความคิดในกลุ่ม สรุปได้ดังนี้บางกองทุนไม่มีระเบียบควบคุมที่ชัดเจน  รายรับไม่พอกับรายจ่าย กรรมการบางคนไม่ทำงาน การส่งเงินกู้ไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดทำให้การกู้ครั้งต่อไปต้องเลื่อนออกไปและการเก็บค่าบริการไม่ตรงกับค่าครองชีพในปัจุบัน วิทยากรจาก ธกส.สรุปให้ข้อเสนอแนะ ไม่ควรกำหนดจำนวนสมาชิกแต่ละกองทุนอยากให้ทุกคนเป้นสมาชิกทุกกองทุนและมีหุ้นในแต่ละกองทุนด้วยเพราะถ้าทุกคนเป็นสมาชิกทุกกองทุนแล้วสามารถกู้กองทุนไหนก็ได้ การบริหารจัดการในแต่ละกองทุนต้องมีเจ้าภ าพที่ชัดเจนและมีศูนย์กลางการบริหารที่ดี ควรมีการวางแผนการทำงาน โรงสีชุมชนอยากให้ตั้งปั๊มน้ำมัน(หลอด)เพื่อลดต้นทุนในการสีข้าวและจะมีผลกำไรเพิ่มขึ้นเพราะประชาชนในหมู่บ้านก็มีอาชีพการเกษตรอยู่แล้วที่มีความต้องการใช้น้ำมัน

ประเด็นคำถาม2. คณะกรรมการจะบริหารจัดการกองทุนให้เป็นระบบและบูรณาการกันได้อย่างไรบ้าง ตัวแทนฃองแต่ละกองทุนออกมานำเสนอ สรุปได้ดังนี้ประชุมคณะกรรมการและมอบหมายหน้าที่การงานให้ชัดเจน ให้สมาชิกส่งเงินต้นและดอกเบี้ย(ดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี)ให้ตรงตามเวลาแต่ละคุ้มให้มีตัวแทนรับผิดชอบเก็บเงินและเป็นคณะกรรมการกองทุนแต่ละกองทุนโดยเลือกจากในคุ้มไปเป็นคณะกรรมการ จัดระบบกองทุนต่างๆบริหารจัดการระบบเดียว ประชุมและแต่งตั้งคณะกรรมการกลางกองทุนทั้งระบบ(มาจากประธานกองทุนต่างๆ) แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ(มาจากรองประธานแต่ละกองทุน) ร่างระเบียบควบคุมให้ถูกต้องและหาแหล่งทุนเพิ่ม วิทยากรจากพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านโคกสรุปและให้ข้อเสนอแนะการบริหารทุนเชิงบูรณาการ ไม่ใช่เอาเงินแต่ละกองทุนมารวมกันแต่แจกแจงให้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพเช่น กู้เงินจาก กขคจ.ควรพิจารณาผู้ที่เข้าหลักเกณฑ์ก่อน ส่วนคนอื่นที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ให้ไปกู้ที่กองทุนอื่นที่จำกัดหลักเกณฑ์น้อยเราสามารถบูรณาการเงินกองทุนอื่นได้โดยมีเจ้าภาพที่รับผิดชอบที่ชัดเจน กฎระเบียบของแต่ละกองทุนควรจะสอดคล้องกันและให้ประชาชนสมัครสมาชิกทุกกองทุนเพื่อจะได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง ให้มีคณะกรรมการกลางบริหารเงินทุนและการทำสัญญาเงินกู้เป็นฉบับเดียวเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ

จากการที่ได้ดำเนินการอบรมไปแล้วทำให้คณะกรรมการกองทุนเข้าใจและสามารถรวมกลุ่มจัดซื้อเมล็ดพันธ์พืช ยาปราบวัชพืช ยาปราบศัตรูพืชโดยใช้วิธีการรวมกองทุนหลายๆกองทุนพอที่จะซื้อได้ การปล่อยกู้นั้นไม่ให้เป็นเงินแต่จะให้เป็นเมล็ดพันธ์หรือยาปราบศัตรูพืชตามความต้องการเท่านั้น ส่วนการส่งเงินคืนนั้นจะต้องส่งเป็นเงินสดหลังจากขายผลผลิตแล้วให้กับกรรมการประจำคุ้มที่รับผิดชอบ คิดดอกเบี้ยร้อยละ 4 ทำให้การบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพมาก ฉะนั้นการบริหารทุนที่ดีอยู่ที่ทุน(สังคม)

เกล็ดความรู้

วิทยาศาสตร์มองว่า สิ่งเร้าประสาทสัมผัสทั้งห้า รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสคือหัวใจสำคัญที่จะทำให้มนุษย์มีความสุข แต่ศาสนาพุทธกลับมองว่า รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส คือตัวการสำคัญที่ทำให้มนุษย์มีความทุข์ (จากหนังสือไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น ของทันตแพทย์สม สุจีรา)

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 129663เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2007 17:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
เงิน เงิน ทอง ทอง เป็นของบาดใจครับ

สวัสดีครับ...อาจารย์สถาพร

  • ผู้น้อยขออนุญาตแลกเปลี่ยนนะครับ...
  • บันทึกนี้เยี่ยมมากเลยครับ...
  • มองดูสภาพแล้วก็คงไม่ต่างกับที่นครศรีธรรมราชสักเท่าใหร่...
  • อาจารย์น่าจะส่งเสริมเรื่องเกษตรอินทรีย์ควบคุ่ไปด้วยก็น่าจะดีนะครับ...ชาวบ้านจะได้ลดต้นทุนในการผลิต...นำไปสู่การประหยัด...และอาจลดปัญหาหนี้สินลงได้บ้างครับ...
สวัสดีและขอขอบคุณครูราญเมืองคอน คนนอกระบบที่ให้คำแนะนำ งบประมาณ 51 คงต้องทำแน่นอนครับ

 P

- ขอชื่นชมความร่วมแรงร่วมใจในการแก้ไขปัญหาของทุกฝ่ายของอำเภอบ้านโคก .....จะเป็นตัวอย่างที่ดี...ของอีกหลายแห่งที่ยังแก้ปัญหาของบ้านตนเองไม่ได้....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท