การสอนภาษาไทยสำหรับคนบนพื้นที่สูง


ภาษาไทยสำหรับคนบนพื้นที่สูง

การสอนภาษาไทยสำหรับคนบนพื้นที่สูง เป็นหน้าที่ของครู ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา"แม่ฟ้าหลวง" ซึ่งจังหวัดตาก มีครูมากถึง ๒๐๐ กว่าคน ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ ๕ อำเภอฝั่งที่ติดกับประเทศพม่า ในวันที่ ๑๖ - ๑๗ กันยายน ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา ศูนย์ กศน. ตาก ได้มีการจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้น เพื่อให้ครูทุกคน ได้มาสาธิตการสอนที่ละคน ภาพที่ได้คือ ครูที่สอนเด็กในวิชาภาษาไทย จะต้อง สอนโดยใช้กิจกรรมเพลง เกม นิทาน การละเล่น เป็นการนำเข้าสู่เนื้อหาบทเรียน เนื้อหาที่สอนต้องเป็นเนื้อหาที่สนุก มีการแสดงท่าทางประกอบ มีส่วนร่วมในการแสดงออกมากๆ โดยไม่ต้องเริ่มด้วย ก ข ค ก่อนก็ได้ แต่จะต้องเริ่มจากการสอนที่ง่าย ๆ ก่อน มี ๕ ขั้นตอน

๑. เริ่มจากการฟัง การเล่าเรื่องควรทำท่าทางประกอบไปด้วย

๒.ฝึกการพูด ให้ฝึกพูดสิ่งที่ใกล้ตัวก่อน เช่น ส่วนประกอบของร่างกาย มือ แขน ขา

๓.ให้ฝึกอ่าน โดยอ่านตามครู อ่านพร้อมกัน อ่านทีละคน

๔.ฝึกให้เขียน โดยเขียนตัวพยัญชนะที่คล้ายๆกันก่อน

๕.ฝึกให้คิด โดยวิธีเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตบนดอย แล้วให้ฝึกคิดตามเรื่องราวว่าสิ่งที่ครูเล่ามีเสียงอะไรบ้าง เสียงสูง เสียงต่ำ เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 129623เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2007 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 17:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท