การถือศิลอด โดย ศูนย์อิสลามศึกษา โรงเรียนบ้านราโมง


การถือศิลอด

การถือศิลอด ( อัศ-ศิยาม) 

               การถือศิลอด เป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺอย่างหนึ่งด้วยการละเว้นทุกอย่างที่ทำให้การศิลอดเป็นโมฆะ ตั้งแต่รุ่งอรุณจนตะวันลับฟ้า   การถือศิลอดในเดือนรอมฎอนเป็นหลักการท่สำคัญอย่างหนึ่ง ดังคำกล่าวของท่านรสูลลุลลอฮฺ (ซ.ล.) ความว่า ศาสนาอิสลามวางอยู่บนพื้นฐานหลัก 5 ประการ คือ การปฏิญาณตนว่า ม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ ท่านนบีมูฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ  ดำรงการละหมาด จ่ายซากาต ถือศิลอดในเดือนรอมฎอน และประกอบพิธีฮัจย์  บัยตุลลอฮฺ (รายงานโดยบุคอรี และมุสลิม) ใครบ้างที่ต้องถือศิลอด 1.     ผู้ที่เป็นมุสลิม/ มุสลีมะฮ์ มีสติปัญญา บรรลุนิติภาวะ มีความสามารถ และมิได้อยู่ในสภาพมุซาฟิรฺ (เดินทาง)2.     กาฟิรฺ (ผู้ปฏิเสธ) ไม่ต้องถือศิลอดและไม่จำเป็นต้องชดตลอดระยะเวลาที่เป็นกาฟิรฺ หากเข้ารับอิสลาม3.     เด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไม่ต้องถือศิลอด แต่ควรส่งเสริมและฝึกฝนให้มีการถือศิลอด4.     ผู้วิกลจริตไม่ต้องถือศิลอด และไม่ต้องจ่ายอาหารเพื่อเป็นการชดแม้อายุจะมากแล้วก็ตาม 5.     ผู้ไร้ความสามารถ (ในการถือศิลอด)อันเนื่องจากเป็นโรคเรื้อรัง และมีโอกาสที่จะหายจากโรคนั้นได้ หรือมีอายุมาก แต่ต้องชดด้วยการจ่ายอาหารทุกวันแก่ผู้ยากจน6.     ผู้อยู่ในช่วงรักษาโรค ซึ่งหากมีความลำบากหรือไม่สะดวกในการถือศิลอด ก็อนุญาตให้ละศิลอดได้แต่ต้องชดหลังจากการรักษาแล้ว7.     สตรีอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ หรือ ให้นมลูกและระแวงต่อสุขภาพของลูก ก็อนุญาตให้ละศิลอดได้แต่ต้องชดเมื่อหมดความระแวงแล้ว8.     ไม่อนุญาตให้สตรีที่อยู่ในช่วงประจำเดือนหรือมีเลือดนิฟาสถือศิลอดแต่ต้องชดในภายหลัง9.    

 วารสารราโมงสัมพันธ์   46

อนุญาตให้สตรีละศิลอดได้ สำหรับผู้ที่ช่วยเหลือคนจมน้ำ ถูกไฟไหม้ แต่ต้องชดในภายหลัง10. ผู้ที่อยู่ช่วงการเดินทางมีสิทธิ์เลือกระหว่างจะถือหรอจะละ แต่ต้องชดในภายหลังทั้งที่การเดินทางนั้นจะใช้ระยะเวลาอันสั้น เช่น เดินทางเพื่อประกอบพิธีอุมเราะฮ หรือการเดินทางที่เป็นประจำหรือบ่อยครั้ง 8 ประการที่ทำให้การถือศีลอดเป็นโมฆะ      1.ผู้ที่ถือศีลอดมีการร่วมประเวณีในตอนกลางวันเดือนรอมฎอน ข้อตัดสินคือ ต้องชดพร้อมกับจ่ายกิฟาเราะฮและปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระ 1 คนหากไม่มีความสามารถก็ต้องถือศีลอด จำนวน 60 วันติดต่อกัน และหากไม่มีความสามารถอีกก็ต้องจ่ายอาหารแก่ผู้ยากจนจำนวน 60 คน     2.เจตนาทำให้อสุจิหลั่ง ทั้งที่หลั่งออกเองหรือเนื่องจากสัมผัส แตะต้อง หรือกอดจูบสตรี เป็นต้น3.รับประทานดื่มหรือเสพสิ่งเสพติดต่างๆทั้งที่มีประโยชน์หรือมีโทษ เช่น การสูบบุหรี่ เป็นต้น4.ฉีดสารที่ทำให้อิ่มเข้าไป แม้จะไม่ใช่ประเภทอาหารก็ตาม เพราะถือว่าเป็นการดื่มหรือรับประทานหากสารนั้นไม่ทำให้เกิดความอิ่มก็ถือว่าเป็นโมฆะ ทั้งที่วิธีใช้โดยผ่านเส้นเลือด หรือผ่านลำคอก็ตาม5.ให้โลหิต อย่างเช่น ผู้ถือศีลอดเสียเลือดมากก็จำเป็นต้องให้โลหิต6.มีประจำเดือนหรือมีนีฟาส7.เจตนาให้เลือดออก หากออกเอง ไม่ถือว่าเป็นโมฆะ8.เจตนาทำให้อาเจียน สิ่งที่ไม่ทำให้ถือศีลอดเป็นโมฆะรับประทานหรือดื่มในสภาพที่ถูกบังคับ ไร้ความรู้สึก หรือลืม อาศัยคำตรัสของอัลลอฮฺความว่าโอ้พระผู้เป็นเจ้า ได้โปรดอย่าถือความผิดของเราเลยหากปฏิบัติในสภาพที่เราลืมหรือไร้ความรู้และคำตรัสของพระองค์อีกว่าไม่ถือว่าเป็นความผิด(บาป)หากเจ้าปฏิบัติในสภาพไร้ความรู้ แต่ถือว่าเป็นความผิดนั้นเมื่อเจ้าปฏิบัติด้วยใจอันมีเจตนาดังนั้นผู้ที่ถือศีลอดแล้วมีการรับประทานหรือดื่มอันเนื่องมาจากสาเหตุเหล่านี้ไม่ถือว่าเป็นโมฆะและหากรับประทานหรือดื่ม ในสถานการณ์ที่เขามีความเชื่อมั่นว่าดวงตะวันได้ลับขอบฟ้าแล้วหรือมีความเชื่อมั่นว่ารุ่งอรุณยังไม่เกิดขึ้น ก็ถือว่าเป็นโมฆะเพราะเกิดจากสาเหตุไร้ความรู้หากเขาบ้วนปากแล้วมีน้ำซึมเข้าไปในลำคอ ก็ถือว่าไม่เป็นโมฆะเพราะเขามิได้เจตนา และถ้าเกิดฝนเปียกในขณะที่เขาหลับ ก็ถือว่าไม่เป็นโมฆะเช่นกันเพราะมิใช่ทางเลือกสำหรับเขา สิ่งที่ควรทราบ 1.ถือว่าไม่เป็นความผิด หากตั้งใจ /นิยะฮฺ ถือศีลอดในสภาพที่มียุนุบ และมีการอาบน้ำหลังจากรุ่งอรุณ

 วารสารราโมงสัมพันธ์   47

2.สตรีหมดประจำเดือนหรือนิฟาส ก่อนรุ่งอรุณ นงก็ต้องถือศีลอดแม้ว่าจะยังไม่อาบน้ำก็ตาม ยกเว้นหากนางหมดประจำเดือนหรือนิฟาสหลังรุ่งอรุณ3.อนุญาตให้ผู้ถอนฟัน หรือมีบาดแผลหยดน้ำยา แม้จะหยดลงในดวงตาหรือในหูก็ถือว่าไม่เป็นโมฆะแม้จะรู้สึกรสของยาในลำคอก็ตาม4.อนุญาตให้แปรงฟันในเวลาเช้าหรือบ่ายเพราะการแปรงฟันนั้นเป็นวิถีชีวิตของผู้ถือศีลอดและผู้ที่ไม่ถือศีลอด5.อนุญาตให้กระทำการ ที่สามารถลดความร้อน หรือกระหายได้ เช่น อาบน้ำ อยู่ห้องแอร์ เป็นต้น6.ควรรับประทานอาหารสะหูร์ ใกล้เวลารุ่งอรุณและควรรีบละศีลอดทันทีที่ตะวันลับขอบฟ้าโดยเริ่มละด้วยผลอินทผลัมสุก หากไม่มีก็ด้วยผลอินทผลัมดิบ หากไม่มีอีกก็ด้วยน้ำสะอาด หากหาน้ำไม่ได้ก็ด้วยอาหารที่ฮาลาล และหากไมมีไรเลย ก็ตั้งใจ(นียะฮฺ)ละศีลอด7.ผู้ละศีลอด ควรปฏิบัติภารกิจที่เป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ และพยายามหลีกเลี่ยงในสิ่งที่เป็นการเนรคุณต่อพระองค์8.ผู้ที่ถือศีลอดต้องปฏิบัติในกิจการที่วาญิบ อาทิเช่น ละหมาดร่วมกันที่มัสยิดในเวลาต้นๆ และหลีกห่างในสิ่งที่หะรอม เช่น การพูดจาไร้สาระ พูดปด นินทา หลอกลวง เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย สรุปแล้วคือหลีกห่างจากการกระทำและพูดจาที่หะรอมทุกอย่าง ดังคำกล่าวของนบี ความว่า ผู้ใดที่ไม่หลีกเลี่ยงจากคำพูดที่ไร้สาระ และประพฤติในสิ่งเหล่านี้ หรือกระทำ ดั่งเช่น การปฏิบัติของผู้งมงาย แน่แท้อัลลอฮฺไม่ทรงประสงค์ให้ผู้นั้นอดอาหารและเครื่องดื่ม

 วารสารราโมงสัมพันธ์   48

 
คำสำคัญ (Tags): #มุมอิสลามศึกษา
หมายเลขบันทึก: 128307เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2007 12:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ข้อความนี้ดีมากเลย เก่ง จัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท