ระบบเรียนรู้


Master Plan
โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ของจังหวัดสตูล    ตั้งอยู่ติดกับศาลากลางจังหวัดสตูล เลขที่ 11  หมู่ที่ 2 ถนนสตูลธานี   ตำบลพิมาน   อำเภอเมือง   จังหวัดสตูลก่อตั้งเมื่อปีการศึกษา   2520  ซึ่งมีนักเรียนเพียง  80 คน ครู 4 คน   จนปัจจุบันเป็นปีที่ 31 ช่วงเวลาที่ผ่านมา โรงเรียนได้พัฒนาจนได้รับรางวัลพระราชทาน โรงเรียนขนาดใหญ่ในปี 2542   ปีพ.ศ. 2546 ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน      และประเมินคุณภาพการศึกษาปีพ.ศ.  2548  ผ่านการประเมินให้เป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝัน   ปี พ.ศ. 2549 ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนยอดนิยมและโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงรองรับการกระจายอำนาจ (โรงเรียนนิติบุคคล) จนกระทั่งในปัจจุบันมีนักเรียนทั้งหมด 1,961 คนและมีครูทั้งหมด  98 คน  แบ่งเป็นฝ่ายบริหาร  5 คน  ครูปฏิบัติการสอน  82  คน  พนักงานราชการ 5 คน  ครูอัตราจ้าง  2 คน วิทยากรอิสลาม 3 คน   ครูชาวต่างประเทศ  6 คน  โรงเรียนมีโครงการส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านภาษาอังกฤษ โดยเปิดห้องเรียนพิเศษ  English   Program  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและโครงการส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี  เป็นปีแรก โดยเปิดทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย                สภาพสังคมและชุมชนของโรงเรียนเป็นชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสตูลที่มีขนาดเล็ก    บ้านเรือนตั้งอยู่หนาแน่นมีรายได้ปานกลาง  ประชากรมีอาชีพรับราชการ  ค้าขาย  เกษตรกรรม   การประมงและรับจ้าง  มีความตื่นตัวทางการศึกษา ให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษาเป็นอย่างดี มีภูมิปัญญาท้องถิ่นหลากหลาย  ได้แก่ขนมโรตี  การจักสานไม้ไผ่  การทำผ้าบาติก  การแกะหนังตลุง  การทำเครื่องมือจับสัตว์น้ำ  การทำไม้กวาดดอกหญ้า  การทำผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว ผลิตภัณฑ์สมุนไพร    แหล่งการเรียนรู้   ได้แก่ด่านศุลกากรตำมะลัง  ท่าเทียบเรือเจ๊ะบิลัง  อู่ต่อเรือเจ๊ะบิลัง       เขาโต๊ะพญาวัง  อุทยานนกน้ำ  พิพิธภัณฑ์คฤหาสน์กูเด็น  พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านละงู  คลองบำบัด  ป่าชายเลน    อุทยานแห่งชาติทะเลบัน  อุทยานหมู่เกาะเภตรา  การประมงชายฝั่งทะเล                จากการศึกษาความต้องการของครู นักเรียน และผู้ปกครอง พบว่า  อยากให้โรงเรียนมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล  ให้ความสำคัญกับความสำเร็จของนักเรียน การดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความพร้อมด้านเทคโนโลยี ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง    และจากการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา ปีการศึกษา 2549  หลังการใช้ครบ 3 ปี            (พ.ศ. 2546-  2548)  ของครูพบว่าผลการประเมินส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี  ยกเว้นด้านโครงสร้างของหลักสูตร ในส่วนของรายวิชาเพิ่มเติมตรงความต้องการของผู้เรียนและชุมชนอยู่ในระดับ ปานกลางด้านคุณภาพผู้เรียนของกลุ่มสาระ ในส่วนของความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของชุมชนอยู่ในระดับ ปานกลาง   และด้านสาระการเรียนรู้ เพื่อสนองความต้องการของผู้เรียน  ชุมชนและเป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน  นอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการได้เน้นคุณธรรมนำความรู้ การคิดวิเคราะห์  การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้   การจัดการความรู้และการทำวิจัย  โรงเรียนเห็นความสำคัญในประเด็นดังกล่าว จึงให้ครูจัดทำ Master Plan Of Teachers Project  เป็นคำรับรองหรือพันธกิจกับทางโรงเรียน เป็นพันธสัญญาว่า จะดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละรายวิชาตามพันธกิจ ด้านนักเรียน ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน  ด้านภาคีเครือข่ายและด้านการพัฒนาตนเองเพื่อให้บรรลุผลตามพันธกิจที่ตั้งไว้ โดยการจัดทำพันธกิจได้มีการวิเคราะห์จากผลการจัดการเรียนการสอนในภาคเรียน หรือปีการศึกษาที่ผ่านมา  มากำหนดเป็นพันธกิจจัดทำเป็น Master Plan Of Teachers Project ของรายวิชาที่ตนรับผิดชอบ   เมื่อจบภาคเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและจบปีการศึกษาสำหรับ      นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น มีการสรุปผลการพัฒนาคุณภาพเพื่อเปรียบเทียบผลกับเป้าหมาย นำมากำหนดแนวทางมาตรการในการพัฒนา / ปรับปรุงต่อไป 
หมายเลขบันทึก: 128145เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2007 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท