หลัก"ธรรมาภิบาล" กับระบบราชการไทยตอนที่ 3


"การบริหารราชการแผ่นดินต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน..."

 หลัก"ธรรมาภิบาล" กับระบบราชการไทยตอนที่ 3

อย่างไรก็ตาม ในการปฏิรูประบบราชการที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และสำคัญอยู่ตรงที่ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ที่ได้มีการเพิ่มเติมสาระสำคัญเรื่อง หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือธรรมาภิบาลเข้าไปไว้เป็นความใสมาตรา 3/1 ในพระราชบัญญัติดังกล่าว  ซึ่งมีเจตนารมณ์คือ "การบริหารราชการแผ่นดินต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน..." ความดังกล่าวนี้ก์ถือว่าเป็นการเจริญรอยตามพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" นั่นเอง

ภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ โดยมีผู้รับผิดชอบตอผลของงาน การจัดสรรงบประมาณและการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่  ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถึงความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน  การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน...ติดตามตอนที่ 4 ครับ

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมาภิบาล
หมายเลขบันทึก: 127831เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2007 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท