กิจกรรมสำนักงานโครงการอันเื่นื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ภูมิปัญญาที่จับต้องได้ทางวิทยาศาสตร์.........ใน “ค่ายวิทยาศาสตร์กับวิถีชีวิตพอเพียง “

ภูมิปัญญาที่จับต้องได้ทางวิทยาศาสตร์.........ใน  "ค่ายวิทยาศาสตร์กับวิถีชีวิตพอเพียง "

               

            ชุมชนท้องถิ่นในชนบทโดยเฉพาะภาคอีสาน วิถีการดำเนินชีวิตที่มีมาแต่อดีต เกิดจากการเรียนรู้และปรับตัว ก่อเกิดเป็นประสบการณ์ความชำนาญ สั่งสมมาเป็นภูมิปัญญา กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการเอาตัวรอด เพื่อเลี้ยงชีพเป็นหลัก วิถีคนท้องถิ่นที่มีวิถีเรียบง่าย พึ่งพากัน มีวัฒนธรรมที่ดีงามผ่านการปลูกฝังและถ่ายทอดรุ่นต่อรุ่น ทรัพยากรท้องถิ่นคือฐานชีวิตที่สำคัญต่อการตั้งรกราก และก่อเกิดเป็นหมู่บ้านชุมชน ฐานทรัพยากรด้านต่างๆคือสายเลือดที่หล่อเลี้ยงคนท้องถิ่น สายน้ำ  ผืนป่า เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตได้อย่างลงตัว เป็นนิเวศน์ที่แยกขาดกันไม่ได้ ทุกอย่างต่างพึ่งพาอาศัยกัน ทำให้คนชนบทมีวิถีการดำเนินชีวิตที่หลากหลาย และแตกต่างตามบริบทของชุมชนนั้นๆ กิจกรรมที่ทำเพื่อดำรงชีพและการคงอยู่ของวัฒนธรรมท้องถิ่น  เช่นการทำนา ประมงพื้นบ้าน การปลูกพืชผัก ฯ วิถีการหาอยู่กินเหล่านั้นของคนในชุมชน  เป็นกระบวนการเรียนรู้และการแก้ปัญหา จนก่อเกิดเป็นองค์ความรู้ของชุมชน ที่ไม่สามารถอธิบายเป็นหลักทางวิทยาศาสตร์ได้  ปรากฏการณ์การดำเนินชีวิตของคนท้องถิ่นอีสานยังเป็นที่ยอมรับและเข้าใจยากในสายตาคนเมืองและโดยเฉพาะ นักวิทยาศาสตร์  ความคุ้นชินที่เกิดจากการสั่งสมของระยะเวลาและจากการปฏิบัติซ้ำๆ นั่นคือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือไม่....มีคำตอบ....

            เมื่อวันที่ 24-25 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นเจ้าภาพการเข้าค่ายภาคฤดูร้อนครั้งที่ 21 ของนักศึกษาที่ได้รับทุน พอสว.จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศจำนวน กว่า 300 คนได้มีกิจกรรมเรียนรู้ชุมชนภายใต้กิจกรรม ค่ายวิทยาศาสตร์กับวิถีชีวิตพอเพียง ที่ลงไปใช้ชีวิต ในหมู่บ้าน เพื่อเรียนรู้และซึมซับวิถีท้องถิ่น โดยการเข้าค่ายในหมู่บ้านครั้งนี้ได้มีการประสานงานร่วมกับ สำนักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เป็นผู้ประสานและจัดเตรียมชุมชนเพื่อเป็แหล่งเรียนรู้ของนักศึกษา จากกิจกรรมที่หลากหลายในแต่ละหมู่บ้าน ได้ก่อเกิดมุมมองต่างๆนาๆ ทั้งกับตัวนักศึกษาเองและตัวชาวบ้าน  บางคนที่มาจากสังคมเมือง ไม่รู้จักควาย  ไม่รู้จักต้นข้าวโพดก็มี ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก เพระยุคสมัยที่สังคมเมืองกับชนบทมีช่องว่างห่างกันมากเหลือเกิน แม้เทคโนโลยีจะพยายามทำให้ดูเหมือนจะใกล้เคียงกัน แต่ดูแล้วก็ทำให้ดูยิ่งห่าง ด้วยวิถีที่ต่างกัน จากกรอบคิดที่นักศึกษาติดตัวลงชุมชนเป็นกรอบคิดทางวิทยาศสตร์ เมื่อเขาเจอหรือได้สัมผัสอะไรในชุมชน เข้าก็เลยเอาหลักวิทยาศาสตร์มาจับและวิเคราะห์ ตามความรู้ที่เรียนมา ทำให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้นมา นักวิทยาศาสตร์น้อย สามารถอธิบายวิถีชีวิตและกิจกรรมที่ชาวบ้านทำกันทั้งเพื่อพึ่งตนเองและเป็นไปเพื่อก่อเกิดรายได้  วิถีเหล่านั้นอธิบายเป็นหลักวิทยาศาสตร์ได้ชัดเจน ทำให้วิทยาศาสตร์กับวิถีชีวิตเป็นเรื่องเดียวกัน สมัยก่อนเรามองหลักวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่เหนือการทำความเข้าใจ เพราะโดยหลักการและการอธิบายมันช่างสลับซับซ้อนซะเหลือเกิน  จากการจัดค่ายทำให้เกิดการบูรณาการความรู้ องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างลงตัว ทำให้เกิดการตอกย้ำได้ว่าชาวบ้านคือนักวิทยาศาสตร์ หากแต่เป็นนักปฏิบัติการโดยตรง เช่นการทำนาคือหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ชาวบ้านมีวิธีการ เรียนรู้ ทดลองปฏิบัติการ สังเกตุ และแก้ปัญหา และปรับเปลี่ยน นี่คือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  และองค์ความรู้ในการทำเกษตรปลอดสาร ต่างๆเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งนั้น  จากการเข้าค่ายของนักศึกษาครั้งนี้ทำให้ ภูมิปัญญามันจับต้องได้ทางวิทยาศาสตร์  จากการสรุปผู้ที่เข้าค่าย ได้มีคำที่นักศึกษาได้สรุปทิ้งท้ายไว้ว่า วิทยาศาสตร์ต้องเกื้อหนุนกับการพัฒนาสังคม ชุมชน นักวิทยาศาสตร์ต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ และเรียนรู้ภูมิปัญญาของชุมชนเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนา ที่ยั่งยืนสืบไป .....
หมายเลขบันทึก: 127069เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2007 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 22:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thank you for your article... You are a pretty Thai Lady with a good thought person..

Thai like to talk to make themselve look good and they don't like to walk.  They are looking for a shortcut for a temporary short time solution. Thailand has a lot of educated people but why Thailand are moving very slowly in development the rural area.. There are some wrong in our education and learning concept in our Thai society.

They got B.S. degree in four years  but they can't figure out how to make a leaving. So, they do to school some more to find a solution then get a M.S. degree.in another 2 more years.....

 Still couldn't figure out to earn a good living.... Back to school again, hoping a Ph.D degree will help them to find an answer in life.. Nope, they are wrong again...Oh.. my god .. I am already 32 years with Ph.D.... Half of my life is gone, I still don't know how to earn a good living to support family.. I got a job as and Education Expert in the Goverment agency.. ha.. ha.. I am very stupid to understand a return on investment in economy.. I spent too much time in school to show the public that I am one of the best Professional Student with Ph.D.

RESUME' in Education

B.S. = Best Satisfaction

M.S. = Mental Scikness

Ph. D. = Permanent head Damaged... and waste your resources if you are not one of the best. ( Human does not have a same ability. Pick what you can do the best for yourself.)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท