ศึกษาต่อมหาวิทยาลัย


เพื่อนผมเล่าให้ฟังว่า บางทีลูกสาวร้องไห้สับสน ตัดสินใจไม่ถูก...

ศึกษาต่อมหาวิทยาลัย  เหมาะกับสาขาวิชาหรือคณะนั้นไหม

การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ทุกคนรู้ว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ สำหรับชีวิตใหม่ ที่จะเลือกเส้นทางชีวิตเป็นครั้งแรก  ที่สำคัญคือจะได้ไม่หลงทางไปกับสิ่งที่ตนไม่ชอบ นอกจากจะเสียเงินยังจะเสียเวลาด้วย (เงินยังมีโอกาสหาใหม่ แต่เวลานั้นไม่มีขาย)   สมัยเป็นผู้บริหารเคยฝากบอกอาจารย์ที่เป็น กรรมการสอบสัมภาษณ์ให้ช่วยชี้แจงหลักสูตรให้นักเรียนที่มาสอบให้เข้าใจก่อนที่จะตัดสินใจมาลงทะเบียนเรียน

 

ในฐานะที่เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ก็มักจะถูกถามความคิดเห็น สาขานั้นดีไหม มหาวิทยาลัยนั้นดีไหม โดยเฉพาะในช่วงเวลาก่อนการสอบ

 

พื่อนผมเล่าให้ฟังว่า บางทีลูกสาวร้องไห้ สับสน ตัดสินใจไม่ถูก ไม่รู้ว่าตนเองจะเหมาะกับวิชาชีพใด จะเลือก แพทย์ ทันตแพทย์ (ส่วนเภสัชฯ ตัดได้เลยเนื่องจากไม่สันทัดกับวิชาท่อง) ดีไหม หรือว่า จะเหมาะกับ วิศวกรรมการแพทย์ หรือ นาโนเทคโนโลยี คุยไปคุยมาก็เริ่มจะเอนเอียงไปทางสายวิศวกรรม เนื่องจากเก่งคำนวณมากกว่า

 

อันนี้เป็นตัวอย่างของคุณพ่อที่ดีทีเดียวที่ช่วยเตรียมที่จะหาข้อมูล เพื่อให้ลูกค้นหาว่าตนเองเหมาะกับงานในอนาคตอะไร (และตรงนี้ ก็แตกต่างจากเมื่อสองปีก่อนที่เคยสอบสัมภาษณ์นิสิตปริญญาตรีที่เข้ามาเรียน พบว่ามีคนที่ไม่เข้าใจในหลักสูตรที่ตนเองเลือกเข้ามา  ก็สงสัยเหมือนกันว่า นิสิตไม่สนใจเอง หรือไม่มีแหล่งค้นหา หรือไม่รู้จะเริ่มอย่างไร)

 

            ถามผมมา ก็ต้องแนะนำตามความความคิด ประสบการณ์ เพื่อให้เกิดภาพชัดเจนมากขึ้นก็ได้แนะนำการค้นทางอินเตอร์เน็ต ก็น่าจะทำให้เข้าใจดีขึ้น เช่น ใน GoToKnow ด้วยคำว่า วิศวกรรมชีวการแพทย์ จะพบบลอกที่เกียวข้อง บางบลอกเพียงแต่ประชาสัมพันธ์การประชุมวิชาการ แต่บลอกที่พูดถีง หุ่นยนต์กู้ภัย หุ่นยนต์การแพทย์ (คำสำคัญ วิศวกรรมชีวการแพทย์) โดย ศ.วิจารณ์ พานิช  20 สิงหาคม 2550 [1] ก็ทำให้ได้รู้ว่าตอนนี้ เขาสนใจวิจัย หรือทิศทางอย่างไรในสาขานี้

 

            ถ้าค้น Google ก็จะพบความหมายในสารานุกรมเสรีว่า  วิศวกรรมชีวเวช หรือ วิศวกรรมชีวการแพทย์ (biomedical engineering) หรือ วิศวกรรมการแพทย์ (medical engineering)

-          เป็นสาขาวิชาที่นำเอาความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์การแพทย์ มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ซึ่งตอนท้าย มีขยายความว่า สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นสาขาวิชาที่บูรณาการศาสตร์ต่างๆ ต่อไปนี้ วิศวกรรม (ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ เครื่องกล อิเล็กทรอนิกส์ นาโนเทคโนโลยี วัสดุ และวัสดุศาสตร์) แพทยศาสตร์ ชีววิทยา เคมี และเทคโนโลยีสารสนเทศ   

-          เพื่อออกแบบ สร้างหรือพัฒนา ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน สามารถใช้งานได้จริง

-          รวมถึงการศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีความซับซ้อน และต้องการขั้นตอนการผลิตที่มีมาตรฐาน และ ประสิทธิภาพสูง เช่น เทคโนโลยีในเครื่องมือผ่าตัด เครื่องส่องดูอวัยวะในร่างกาย อุปกรณ์จ่ายยาอัตโนมัติ ข้อต่อหรืออวัยวะเทียม เครื่องวิเคราะห์สัญญาณหัวใจหรือสมอง อุปกรณ์ตรวจสอบระบบน้ำตาลในเลือด และระบบผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เป็นต้น [2]

          ซึ่งเปิดสอนเพียง 3 สถาบัน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.มหิดล ม.สงขลา ซึ่งมหาวิทยาลัย มหิดล และสงขลา เท่านั้นที่เปิดระดับปริญญาตรี

            ซึ่งจะมี link ไปยังสถาบันดังกล่าว หน้าหลักของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.มหิดล กล่าวถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักข้อหนึ่ง ว่า เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ทางวิศวกรรมที่จำเป็นสำหรับแก้ปัญหา ชีวการแพทย์ [3] ถ้าต้องการดูรายละเอียดหลักสูตรของปริญญาตรี ก็ไปที่หน้าหลักของหลักสูตรปริญญาตรี [4] มาถึงตรงนี้ก็มีข้อมูลมากพอแล้วที่จะติดสินใจ

สำหรับลักษณะงานในปัจจุบัน ก็จะเห็นว่ามี กอง กรม หรือ ฝ่ายต่างๆทางวิศวกรรมชีวการแพทย์ ปรากฏอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะสถาบัน หรือโรงพยาบาลใหญ่ๆ

 

 

ที่มา

  1. http://gotoknow.org/blog/council/125174
  2. วิกิพีเดีย
  3. http://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egbio/intro.html
  4. http://www.eg.mahidol.ac.th/dept/egbio/New%20Folder/Bachelor%20of%20Engineering%20Program%20in%20Biomedical%20Engineering.htm
หมายเลขบันทึก: 127060เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2007 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จริงค่ะอาจารย์ นอกจากโฆษณาหลักสูตรแล้ว ควรบอกนักเรียนด้วยว่า จะมาเรียนและไปทำมาหากินโดยใช้วิชานี้ ควรจะมีคุณสมบัติพื้นฐานอะไรบ้าง ที่สำคัญ ดิฉันคิดว่า เราควรเรียนในสิ่งที่ชอบและมีความสุข เป็นเหตุผลแรกที่ดิฉันเลือกคณะในการสอบมหาวิทยาลัยค่ะ แล้วก็ไม่เคยผิดหวัง คนเราหากชอบเสียอย่างสักวันมันต้องได้ดีเข้าจนได้ค่ะ (มุมมองส่วนตัวน่ะค่ะ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท