ประเพณีการสู่ขวัญของภาคเหนือ


ประเพณีการสู่ขวัญของภาคเหนือ

 ประเพณีการสู่ข้าเอาขวัญของภาคเหนือคือใช้รับขวัญคนป่วย รับแขกบ้านแขกเมือง สมโภชน์ ใช้ในพิธีบวชนาค พิธีแต่งงาน

 ประเพณีทางเหนือนิยมที่จะมีการสู่ขวัญโดยใช้สายสิญจน์วนรอบบายศรีมีหมอขวัญทำพิธีสู่ขวัญแล้วเชิญผู้ใหญ่มาผูกข้อมือบ่าวสาวด้วยสายสิญจน์ ญาติผู้ใหญ่ก็มาร่วมให้ศีลให้พรแก่คู่บ่าวสาว พร้อมทั้งให้แก้ว แหวน เงินทอง เป็นเครื่องรับไหว้ บายศรีทางเหนือถ้าใช้ในพิธีแต่งงานมักจะทำตัวบายศรี ๖ ตัวในพานนั้น ส่วนตัวรองไม่จำกัดจำนวนส่วนใหญ่จะใช้เลขคู่ ใช้ภาชนะเป็นพานใหญ่ ๆ หรือเป็นพานแว่นฟ้าก็ได้ ข้างในใส่กระทงขนม ข้าว ผลไม้ เมี่ยง บายศรี ๖ ตัวนี้กะให้ได้ระยะห่างพอ ๆ กัน แล้วแต่งดอกไม้ระหว่างองค์บายศรี

การทำบายศรีการทำบายศรีนิยมทำเป็นจำนวนคี่ คือ ๑,,,,๙ บายศรีบวงสรวงเทวดาใช้ถึง ๑๖ ชั้น เป็นกรณีพิเศษที่ใช้จำนวนคู่ การใช้บายศรีกับการรับขวัญ เชิญขวัญหรือสู่ขวัญกับคนธรรมดามักทำ ๓ หรือ ๕ ชั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และแขกบ้านแขกเมือง ๗ ชั้น สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ใช้บายศรี ๙ ชั้นบายศรีเมื่อใช้ประกอบพิธีแล้วประมาณ ๗ วัน มักจะนำไปจำเริญหรือบางท่านอาจปล่อยให้แห้ง ให้คงสภาพเช่นนั้นตลอดไปจนกว่าจะเปลี่ยนใหม่ส่วนประกอบของบายศรี ๑. ไข่ขวัญหรือไข่ยอด เป็นไข่ต้มสุก อาจเป็นไข่เป็ดหรือไข่ไก่ก็ได้ ตามความนิยมของแต่ละท้องที่ ไข่ขวัญนี้จะให้ผู้รับทำขวัญกิน เช่น ทำขวัญคนป่วยจะให้คนป่วยกิน จะอยู่ส่วนบนสุดของบายศรี ซึ่งหมายถึงทำให้เกิดมงคลและเป็นเครื่องหมายแห่งการเกิด วิธีทำ คือ นำไข่เป็ดหรือไข่ไก่ เริ่มด้วย
นำไข่ใส่ในน้ำเย็นพอน้ำเริ่มร้อนให้ใช้ไม้พายคนไข่ที่ต้มตลอดเวลา เพื่อจะทำให้ไข่กลมไม่มีส่วนใดบุบเมื่อสุกแล้วยกลง
๒. ตัวแมงดาหรือเต่า คือส่วนที่วางระหว่างกลางตัวบายศรี บายศรีปากชามหนึ่งที่มีบายศรีสามตัว และมีตัวแมงดาสามตัว การทำตัวแมงดาใช้ใบตองกว้างประมาณ ๘-๑๑ ซ.ม. ใหญ่หรือเล็กตามขนาดของบายศรีตัดตามรูป เจาะทำให้เป็นลวดลายให้สวยงาม ข้อควรระวังบางครั้งจะทำให้ใบตองแตกควรใช้มีคม ๆ เจาะลาย ควรใช้ใบตองด้านแข็งอยู่ส่วนบน
๓. แตงกวา กล้วยน้ำ เป็นอาหารที่อยู่ภายในบายศรี โดยนำแตงกวา และกล้วยน้ำอย่างละ ๑ ผล แบ่งเป็น ๓ ซีกตามยาวของแตงกวาและกล้วย โดยไม่ปอกเปลือก เมื่อแบ่งได้เป็น ๓ ชิ้น จึงนำไปพนมเข้ากับกรวย

๔. กรวย คือที่บรรจุข้าวสุกปากหม้อ ใช้ใบตองตานีช่วงยาวไม่มีที่ตำหนิ กว้างประมาณ ๑๒ นิ้ว ใช้ใบตอง ๒ ทบ เอาด้านมันออกม้วนจากทางขวามือมาทางซ้ายมือให้เป็นรูปกรวย โดยกะขนาดปากกรวยลงระหว่างบายศรีทั้งสามพอดี ความสูงของกรวยจะต้องสูงกว่าบายศรีเล็กน้อยประมาณ ๑-๒ นิ้ว เมื่อม้วนกรวยแล้วใบตองที่อยู่ข้างนอกจะต้องเป็นสันตั้ง เมื่อได้ขนาดที่ต้องการให้นำเข็มหมุดกลัดไว้ และตัดปากกรวยทำดอกจันมอบปากกรวยให้เรียบร้อยแล้วนำข้าวสุกปากหม้อใส่ให้แน่น พยายามกดตรงยอดให้แน่น เพื่อกันเวลาเสียบยอดจะได้ไม่อ่อน เมื่อใส่ข้าวแน่นแล้ว ตัดใบตองกลมปิดปากกรวย ๒ ใบซ้อนกัน
๕. ไม้ไผ่สีสุก ๓ อัน ใช้ประกบบายศรีกันโงนเงน เป็นการยึดบายศรี หรืออาจ
หมายถึงบันไดที่จะไปสู่เขาไกรลาส
๖. ผ้าห่มบายศรี และยอดตอง ยอดตองสามใบควรเป็นยอดตองอ่อนใช้ห่มบายศรีหรือห่มขวัญ โดยจะห่มทั้งไม้ไผ่สามซีกที่รัดไว้กับบายศรี และใช้ผ้า เช่น ผ้าตาดทอง หรือผ้าลูกไม้ห่มอีกชั้นหนึ่ง แต่ในปัจจุบันต้องการโชว์บายศรีและอีกประการหนึ่งคงไม่สะดวกในการจะห่มองค์บายศรี เลยใช้ม้วนวางไว้ข้าง ๆ องค์บายศรี
๗. อาหารในบายศรี ควรจะเย็บกระทงใบเล็ก ๆ มอบปากให้เรียบร้อยใส่ในบายศรีสู่ขวัญ บายศรีบวชนาคจะมีอาหารใส่ อาหารอื่น ๆ เช่น กล้วยทั้งหวี มะพร้าวนั้นโดยมากจะใส่พานไว้ต่างหากเพราะไม่สามารถจะใส่ไว้ในบายศรีได้
๘. การครอบครูบายศรี ให้ใช้ดอกไม้ธูปเทียนเป็นการประสิทธิ์ประสาทวิชาของครูให้แก่ลูกศิษย์ เพื่อให้เกิดความมั่นใจและกำลังใจที่ศิษย์จะปฏิบัติต่อไป การครอบครูบายศรี ครูจะจับมือเข้าองค์บายศรี
 

 

 
หมายเลขบันทึก: 126990เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2007 08:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากจักว่าทำไมต้องมีการสูขวัญเมื่อเราไม่สบายสมาชิกกลุ่มที่ 4ช่วยตอบด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท