บางเสี้ยวของข้อมูลไทยกับปัญหาพลังงานและปัญหาโลกร้อน (2) - ไทยกับพิธีสารเกียวโต


ตามพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ไทยยังไม่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายหลักที่ต้องรีบลดก๊าซเรือนกระจก เพราะเป็นกลุ่มประเืทศ "กำลังพัฒนา" ในยุคที่ลงนามนั้น  ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ต้องเทียบว่า ตัวเองลดการปล่อยก๊าซได้ดีแค่ไหน เมื่อเทียบกับปี 1990 (ดูข้อมูลประกอบด้านล่าง)

[1990 คือ พ.ศ.2533 ซึ่งเป็นยุค รสช]

สมมติว่าไทยก็เข้าไปเบียดเสียดประเทศพัฒนาแล้วตั้งแต่ต้น เราทำได้ดีแค่ไหน ?

ข้อมูลต่อไปนี้  เทียบว่า เมื่อปี 2547 เทียบกับปี 2533 แต่ละประเทศ ปล่อยก๊าซออกมากกว่าเดิม หรือน้อยกว่าเดิม แค่ไหน...

กลุ่มโดนบังคับ

  • Spain +49%
  • Portugal +41%
  • Canada +27%
  • Greece +27%
  • Ireland +23%
  • New Zealand +21%
  • Norway +10%
  • Japan +6.50%
  • France -0.80%
  • EU-15 -0.80%
  • United Kingdom -14%
  • Germany -17%

กลุ่มไม่ได้เซ็น

  • *Australia +25%
  • *United States +16%

*แต่ออสเตรเลียและสหรัฐ ไม่โดนบังคับ เพราะไม่ยอมลงนาม...

มีข้อมูลของประเทศรอบบ้านเรา ให้ดูด้วย (ข้อมูลอีกแหล่ง จะใส่ link ให้ทีหลัง)

  • Vietnam +331%
  • Hong Kong 162%
  • China 151%
  • Bangladesh 138%
  • Sri Lanka 127%
  • Thailand 109%
  • Bhutan 102%
  • Singapore 102%
  • India 91%
  • Indonesia 84%
  • Malaysia 83%
  • Taiwan 79%
  • Laos 76%
  • Korea, South 70%
  • New Zealand 50%
  • Pakistan 47%
  • Philippines 37%
  • Cambodia 23%
  • *Australia 23%
  • Japan 0%
  • ข้อมูลของ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ต่างจากข้างต้นนิดหน่อย เพราะมาจากต่างแหล่งกัน แต่ไม่มาก พอจะพูดรวม ๆ กันไปได้

แสดงว่า ไทยไม่น้อยหน้าคนอื่นเท่าไหร่ เพราะ "ผลิตภาพคาร์บอน" เพิ่มขึ้นถึงเท่าตัว ... แสดงว่า เศรษฐกิจฟื้นจากปี 2540 แล้วจริง

ล่าสุด ข่าว กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ลงว่า

ปี 2549 คาร์บอนฯ ถูกปล่อยเกือบ 1 หมื่นล้านตันเพิ่ม 35 % เทียบกับปี 2533 จากการเติบโตทางเศรษฐกิจมีมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ 

ตัวจริงต้นตอข่าว มาจาก

Michael R. Raupach, Gregg Marland, Philippe Ciais, Corinne Le Quéré, Josep G. Canadell, Gernot Klepper, and Christopher B. Field. Global and regional drivers of accelerating CO2 emissions. PNAS, June 12, 2007, vol. 104 (24), p 10288-10293.

โดยมีผู้ศึกษาว่า

  • 2 ใน 3 ของคาร์บอน มาจาก การเติบโตทางเศรษฐกิจ
  • 1 ใน 6 มาจากความไม่มีประสิทธิภาพของการสันดาป (ฝีมือคน)
  • 1 ใน 6 มาจากการตกต่ำของการที่ธรรมชาติสามารถดูดคืน

ซึ่งส่อว่า ปัญหานี้ ไม่มีพัฒนาการของภาพรวมเลย

หมายเลขบันทึก: 126680เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2007 23:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 11:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท