สังเคราะห์งานวิจัย


งานวิจัย
สังเคราะห์งานวิจัยแบบภาวะผู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษา 
 
                                                                                                                      จุฑาทิพย์  สกุลเพ็ชร์   รหัส  4920121206
  
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
                
                ภาวะผู้นำและคุณลักษณะของผู้บริหาร  มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของผู้บริหารอย่างมาก  กล่าวกันว่าผู้บริหารต้องมีความรู้ความสามารถเหนือคนอื่น และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีสามารถทำงานร่วมกับกลุ่มคนได้ ต้องมีเสน่ห์  บารมี  และคุณธรรมอันเป็นตัวอย่างได้แล้ว  รูปแบบการเป็นผู้นำยังเป็นผู้นำยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมการบริหารงานและพฤติกรรมในการทำงานของผู้ร่วมงานอย่างมากด้วย ผู้บริหารที่มุ่งงานมากเกินไปอาจต้องใช้พลังงานเพื่อสร้างความสัมพันธ์และสื่อความหมายมากไม่คุ้ม กับผลงานที่ได้รับ ( วิจิตร  วรตบางกร 2525:81 )  ดังนั้นประสิทธิภาพประสิทธิผลขององค์การ จึงขึ้นอยู่กับแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารให้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพได้มากน้อยเพียงไร แบบผู้นำของผู้บริหารแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งในด้านความรู้  ความสามารถ  บุคลิกลักษณะส่วนตัวและความเชื่อ จากสาเหตุเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละองค์การแตกต่างกันไป( วัชรินทร์  นุชนาคา2533:1 )
                การทำงานของผู้บริหารโรงเรียนอาจก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตได้จากสาเหตุ ได้แก่ การบริหารโรงเรียนท่ามกลางความขาดแคลนทรัพยากรทางการบริหารการศึกษา  การทำงานที่หนักเกินไป  การทำงานที่มีความรับผิดชอบสูง   การทำงานที่ซ้ำซากจำเจ  การไม่ได้รับความยุติธรรมในการถูกลงโทษและการให้รางวัล  การเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น  การทำงานตามระเบียบที่มีมากของทางราชการ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ผู้บริหารโรงเรียนเกิดความเครียดและทำให้สุขภาพจิตเสื่อมในที่สุด
                ในการดำเนินงานเพื่อการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา  ผู้บริหารสถานศึกษาจึงเป็นบุคคลที่สำคัญบุคคลหนึ่ง ที่จะทำให้การบริหารโรงเรียนประสบความสำเร็จ  ผู้บริหารหรือผู้นำสถานศึกษา ถือว่าเป็นผู้นำของบุคลากรในโรงเรียน  ซึ่ง ผู้นำหรือผู้บริหารนั้นจะต้องใช้ความพยายาม ความสามารถทางด้านการบริหารการศึกษาและการบริหาร ด้านต่างๆ  ตลอดจนใช้การเป็นผู้นำเป็นอย่างมากในการปฏิบัติหน้าที่ในการประสานงาน  ประสานความคิด  การสร้างขวัญกำลังใจ   การสร้างแรงจูงใจให้กับทีมงานหรือครูผู้ร่วมงานให้มีความร่วมมือ  ร่วมใจ  มีความพึงพอใจและมีความและมีความรักใคร่สามัคคี  ในหมู่คณะในการปฏิบัติงานทุกอย่าง  เพื่อไปสู่จุดหมายการประกันคุณภาพการศึกษา
                พฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ  เพราะพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนแต่ละโรงเรียนจะมีความแตกต่างกันซึ่งถือเป็นธรรมชาติของมนุษย์  พฤติกรรมภาวะผู้นำที่มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ของโรงเรียนย่อมส่งผลดีต่อโรงเรียน และ เช่นเดียวกัน หากผู้บริหารของโรงเรียนมีพฤติกรรมภาวะผู้นำที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ก็อาจส่งผลให้เกิด ความเสียหายต่อโรงเรียนได้เช่นกัน  ผู้บริหารโรงเรียนที่มีพฤติกรรมภาวะผู้นำเป็นไปในทางที่ไม่เหมาะสมนั้นได้แก่  การแสดงออกถึงเจตนาของผู้บริหารที่ต้องการให้งานของโรงเรียนนั้นมีประสิทธิภาพและสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
แต่ผู้บริหารบางโรงเรียนมิได้คำนึงถึงถึงผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ร่วมงานว่าพวกเขาเหล่านั้นมีความรู้สึกอย่างไรต่องานที่ได้รับมอบหมาย  พวกเขาเหล่านั้นไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้เลยถึงแม้จะมีความพึงพอใจ ก็ไม่สามารถชี้แจงอะไรได้ทั้งสิ้น  ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบแบบแผนของผู้บังคับบัญชาทุกอย่าง
ซึ่งมีลักษณะเช่นนี้ถือว่าเป็นการแสดงออกถึงพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารที่เน้นเอาแต่งานอย่างเดียว และในขณะเดียวกันก็มีผู้บริหารของโรงเรียนบางโรงเรียนที่บริหารงานโดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้า  ชอบทำงานแบบสบาย ๆ  ชอบให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนร่วมงานเป็นการส่วนตัวบ้าง  มีความเป็นมิตรกับผู้ร่วมงานเสมอ  พฤติกรรมเช่นนี้ถือว่าเป็นผู้นำที่มุ่งเอาความสัมพันธ์ด้านเดียวไม่ได้มีการสนใจคุณภาพหรือประสิทธิภาพของงานเลย  พฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารในลักษณะเช่นนี้ย่อมจะส่งผลให้การพัฒนางานของโรงเรียน และบุคลากรในโรงเรียน
 วัตถุประสงค์ 
1.       เพื่อศึกษาแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนตามทรรศนะของผู้บริหารโรงเรียนและครูเทศบาลในเขต
การศึกษา เขต  10  
2.       เพื่อศึกษาสุขภาพจิต ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี
3.       เพื่อศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามการรับรู้และตามความ
คาดหวังของครูโรงเรียนประถมศึกษา
4.       เพื่อเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำตามความคิดของเซอร์จิโอวานนี ใน 4 องค์ประกอบ
ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา  สังกัดกรมสามัญศึกษา  จังหวัดกาญจนบุรี ตามการรับรู้ของครู ในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน
  สมมติฐานการวิจัย  
1.       ครูเพศชายและครูหญิง  มีการรับรู้และการคาดหวังต่อพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน
ต่างกัน
2.       ครูที่มีประสบการณ์ในการสอนต่างกันมีการรับรู้และคาดหวังต่อพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหาร
โรงเรียนต่างกัน
3.       พฤติกรรมผู้นำมีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตในภาวะสุขภาพจิต  ด้านอาการ  ทางกาย ด้านอาการ
วิตกกังวล   ด้านความบกพร่องเชิงสังคม  และด้านอาการซึมเศร้ารุนแรง
 ระเบียบวิธีวิจัย                
                วิจัยเชิงสำรวจ
 ประชากร / กลุ่มตัวอย่าง  
                ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  ผู้บริหารและครูในโรงเรียนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา  และโรงเรียนที่ยังไม่ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 2,682  คน
                ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา  จังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2544   ประกอบด้วย  ผู้บริหารโรงเรียน  ตำแหน่ง  ครูใหญ่  อาจารย์ใหญ่  และผู้อำนวยการโรงเรียน   รวมจำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,086  คน 
กลุ่มตัวอย่าง
      -   ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา  จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 285  คน จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นดังนี้
1.       กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตาราง Krejcie  and  Morgan 
2.       แบ่งผู้บริหารโรงเรียน  ออกเป็น  25   สปอ. / ก แล้วสุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของสปอ./ก โดย
วิธีการสุ่มอย่างง่าย
-          ผู้บริหารและ  ครูโรงเรียนเอกชน จำนวน 336  คน
-          ผู้บริหารโรงเรียน  สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี  จำนวน 285  คน 
นิยามศัพท์
  
                ภาวะผู้นำ  หมายถึง  พฤติกรรมที่มีอิทธิพลในการจูงใจบุคคลอื่นในองค์การ  ให้ร่วมมือประสานงานกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้  โดยอาศัยกระบวนการสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์
สมาชิกในกลุ่ม
                ผู้บริหารโรงเรียน  หมายถึง   หัวหน้าสถานศึกษา  ได้แก่    อาจารย์ใหญ่    ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษา  สังกัดมัธยมศึกษา  จังหวัด กาญจนบุรี ปีการศึกษา  2544
                แบบภาวะผู้นำ   หมายถึง  แบบภาวะผู้นำตามแนวความคิดของแบสและอโวลิโอ  และพฤติกรรมภาวะผู้นำตามแนวคิดของเซอร์จิโอวานิ
                โรงเรียนประถมศึกษา  สังกัดกรุงเทพมหานคร  หมายถึง โรงเรียนประถมศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
                ครู  หมายถึง  ครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาปี 2544
              ประสบการณ์ในการสอน  หมายถึง  จำนวนปีที่ทำการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา                        โดยใช้จำนวนปี  ที่ทำการสอนของครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแบ่ง
                ขนาดของโรงเรียน   หมายถึง  จำนวนนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา  ซึ่งแบ่งเป็น 3 ขนาด
คือ  ขนาดกลาง  ขนาดเล็ก  ขนาดใหญ่
                พฤติกรรมภาวะผู้นำ  หมายถึง  การแสดงออกถึงลักษณะการเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
                การรับรู้  หมายถึง  กระบวนการที่ร่างกายรับสัมผัสสิ่งแวดล้อมแล้วแปลความหมายการสัมผัสที่ได้รับนั้น ๆ โดยใช้ความรู้  ประสบการณ์เดิม  เป็นเครื่องมือช่วยในการแปลความหมาย
                ความคาดหวัง  หมายถึง  ความคาดหวังความเป็นไปได้ของการได้มาซึ่งผลลัพธ์หรือรางวัลที่ต้องการ           
  
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  
-          แบบสอบถาม  แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5  ระดับ  จำนวน  51  ข้อ  มีความเชื่อมั่น .85
แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมภาวะผู้นำ ตามแบบ LBDQ 
-          Halpin
-          แบบสอบถาม  แบ่งออกเป็น 3  ตอน คือ
ตอนที่  1   เป็นแบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบ
สำรวจรายการ
ตอนที่  2   เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น เพื่อศึกษาแบบภาวะผู้นำ  ตามแนวคิดทฤษฏีภาวะผู้นำ
ของแบสและอโวลิโอ  เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  มีข้อคำถาม จำนวน  30  ข้อ  
ตอนที่  3  เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น  ความแตกต่างของระดับพฤติกรรมภาวะผู้นำตามแนวคิด
ของเซอร์จิโอวานนี   เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  มีข้อคำถามจำนวน  30  ข้อ 
  
การวิเคราะห์ข้อมูล
  
1.       ศึกษาระดับพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับสุขภาพจิต  ของผู้บริหารโรงเรียน  โดยใช้
ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2.       หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา
3.       หาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับสุขภาพจิตของผู้บริหาร
โรงเรียน  โดยการทดสอบไค  สแควร์
 สรุปผลการวิจัย  /  และข้อเสนอแนะ  
1.        ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี มีพฤติกรรมผู้นำมิติ
มุ่งงาน ร้อยละ 26  และมีพฤติกรรมผู้นำมิติมุ่งสัมพันธ์ ร้อยละ 74
2.       ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา  จังหวัดอุบลราชธานี มีภาวะสุขภาพจิต 
ปกติ ร้อยละ 73.70  และมีภาวะสุขภาพจิตมีปัญหาร้อยละ 26.30
3.       พฤติกรรมผู้นำกับสุขภาพจิตในภาวะสุขภาพจิต ด้านทางกาย  ด้านอาการวิตกกังวล  ด้านความ
บกพร่องเชิงสังคม  และด้านอาการซึมเศร้ารุนแรง  ไม่แตกต่างกัน
                4.    การเปรียบเทียบพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารตามการรับรู้ของครู พบว่า ครูที่สอนในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกันมีการรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารด้านกิจสัมพันธ์และพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารด้านมิตรสัมพันธ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ส่วนครูที่มี เพศต่างกัน และครูที่มีประสบการณ์ในการสอนแตกต่างกันมีการรับรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมภาวะผู้นำของ
ผู้บริหารด้านกิจสัมพันธ์และพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารด้านมิตรสัมพันธ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                5.  พฤติกรรมภาวะผู้นำด้านกิจสัมพันธ์ตามการรับรู้ของครู 3 อันดับแรก ได้แก่  การให้ความสำคัญเรื่องการทำงานให้ทันตามกำหนดเวลา  การส่งเสริมการปฏิบัติตามระเบียบในการทำงานและการแจ้งให้ผู้ร่วมงานทราบถึงความมุ่งหวังของหน่วยงานที่มีต่อผู้ร่วมงาน  ส่วนพฤติกรรมภาวะผู้นำด้านมิตรสัมพันธ์ตามการรับรู้ของครู ใน 3  อันดับแรก  ได้แก่  การไม่ยอมรับความคิดใหม่ ๆ  การปฏิเสธที่จะอธิบายถึงการปฏิบัติงานของตัวเอง และการหลีกเลี่ยงการคบหาสมาคมกับผู้ร่วมงาน
                
ข้อเสนอแนะ
1.        ควรมีการอบรมเกี่ยวกับพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง และควรมีการติดตาม
ผลการฝึกอบรมเกี่ยวกับพฤติกรรมภาวะผู้นำของผู้บริหาร
2.       ผู้บริหารต้องปรับพฤติกรรมในการบริหารให้เป็นที่ยอมรับแก่ครูในโรงเรียนและผู้บริหาร
เปิดโอกาสให้ครูได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อบกพร่องในการทำงาน
3.       ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม และการเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนใน
ระดับต่าง ๆ
4.       ควรวิจัยภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นข้อมูลในการพัฒนาผู้บริหารให้หน่วยงานบังคับ
บัญชาแก้ปัญหาตรงตามสภาพปัญหา
5.       ให้มีระบบการติดตามผลการปฏิบัติงานจากผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด เพื่อป้องกันการละทิ้ง
หน้าที่
6.       ควรจัดอบรมหรือจัดสัมมนาผู้บริหารเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิธีการบริหาร  วิธีแก้ปัญหา
ตลอดจนข้อเสนอแนะต่างๆเพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษาต่อไป
    
……………………………………………………..
  
คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 126536เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2007 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ่านแล้วได้ความรู้มากเลยค่ะ รูปสวยด้วย

ข้อมูลเยี่ยมมากอ๊อด ส่งอีกครั้งชอบมาก

                                       baelee

สวัสดีค่ะ ตอนนี้เมย์กำลังเรียนโทอยู่และต้องทำวัจัยส่งอาจารย์ เลยต้องรีบหาข้อมูลและศึกษาเกี่ยวกับการเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้นำในสถาบันศึกษาทั้ง 3ระดับค่ะ อยากได้ข้อมูลสร้างแบบสอบถามและแนวทางในการทำวิจัย ถ้ามีข้อมูลที่เมย์พอจะดูเป็นแนวทางได้ รบกวนส่งให้เมย์ที่เมลล์นี้หน่อยนะค่ะ เพราะเมย์มีเวลาแค่ 3เดือนค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท